หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ไส้เลื่อน


คำว่าไส้เลื่อนหมายถึงภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่นบริเวณขาหนีบ หรืออาจจะเลื่อนมาในตำแหน่งรอยผ่าตัด

ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุม โดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่ และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืด ไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบ ซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal  hernia และ direct inguinal  hernia

Indirect inguinal  hernia

ขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 ไส้เลื่อนสัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดิน และรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด

Direct inguinal  hernia

ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน

ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูงเช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน



อาการ

อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนทั้งสองชนิดได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ ก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรูก้อนจะหายไป


ไส้เลื่อน

เป็นในหญิง



ไส้เลื่อน

เป็นในชาย


โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่สำคัญได้แก่

สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยทำได้ง่ายโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย

การรักษา

การรักษาไส้เลื่อนทั้งสองชนิดทำได้โดยการผ่าตัด นำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องและเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา การผ่าตัดมักจะได้ผลดี