jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS Irritable Bowel Syndrome

ภาวะลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่่มากไปทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายบ่อย โดยผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดท้องร่วมกับมีการขับถ่ายที่ผิดปกติไป โดยอาจจะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสียก็ได้ ซึ่งอาการปวดท้องมักจะปวดบีบเกร็งบริเวณท้องน้อยด้านล่าง โดยเฉพาะด้านซ้ายและอาการมักจะดีขึ้นหลังจากถ่ายอุจจาระ ร่วมกับอาจมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ เช่น ถ่ายเป็นน้ำหรืออุจจาระเป็นก้อนแข็ง ถ่ายมีมูก โดยไม่ควรมีสัญญาณอันตราย ได้แก่ น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด  มีไข้ หรือคลำได้ก้อน  ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง มีแก็ส หรือถ่ายไม่สุดได้ด้วย มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ ยา อาหาร อารมณ์เครียด ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ภาวะนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็งลำไส้ หรือลำไส้อักเสบโรคลำไส้แปรปรวน หรือ  Irritable Bowel Syndrome (IBS) พบได้ประมาณร้อยละ 15

สาเหตลำไส้แปรปรวนุ 

แม้จะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่ปัจจุบันก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน ซึ่งเชื่อว่าเกิดสาเหตุน่าจะมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่




อาการของภาวะลำไส้แปรปรวน

อาการสำคัญของลำไส้แปรปรวนคือ อาการปวดท้องหรืออาการแน่นท้อง ร่วมการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย อาการปวดท้องมักจะ

อาการท้องร่วง

อาการท้องผูก


การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน

 อาศัยอาการเป็นหลักซึ่งอาการที่สำคัญได้แก่ อาการปวดท้องหรืออึดอัดท้อง (abdominal pain or discomfort) ซึ่งดีขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของการถ่ายอุจจาระซึ่งเป็นได้ทั้งท้องผูก ท้องเสียหรือท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด มีลมในท้องมาก ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติร่วมด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นนอกระบบทางเดินอาหาร เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกเหนือจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยที่จะวินิจฉัยภาวะนี้จะต้องไม่มีอาการเตือนที่บ่งว่ามีโรคอื่นที่เกิดจากพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร (organic disease) และจากการตรวจร่างกายต้องไม่พบโรคอื่นที่ก่อให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้ แต่แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมในราย

โดยแพทย์อาจจะทำการตรวจ

การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก

เนื่องจากการวินิจฉัยอาศัยอาการเป็นหลักและไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น เพื่อการศึกษาวิจัยที่ไปในทิศทางเดียวกันจึงมีการตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยขึ้น ล่าสุดได้แก่ Rome II criteria โดยพบว่ามีความแม่นยำสูง หากใช้ criteria นี้ร่วมกับการพิจารณาอาการเตือนดังกล่าวจะมี positive predictive value 98-100% สำหรับการตรวจเพิ่มเติมนั้น จะทำต่อเมื่อให้การรักษาไป 3-6 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้นโดยเลือกวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเป็นหลัก จาก Pathophysiology และอาการที่หลากหลายนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ๆทั้งในระบบทางเดินอาหาร และนอกระบบทางเดินอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การรักษาลำไส้แปรปรวนยา

กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome  หรือ IBS) เป็นปัญหาทางเดินระบบอาหารที่พบได้บ่อย ในประเทศไทยจากการสำรวจประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจันทบุรีพบได้ประมาณ5% โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีการดำเนินโรคเป็น ๆ หาย ๆ โดยที่ไม่มีผลกระทบด้านร่างกายมากนักและไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต เนื่องจากอาการที่เรื้อรังจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย และก่อให้เกิดความกังวลเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นโรคมะเร็ง

เมื่อให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยโรคนี้ ควรประเมินว่าปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่มาพบแพทย์คืออะไร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน แต่มาพบแพทย์เพื่อต้องการทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไรหรือมีความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง การให้คำแนะนำ หรือการส่งตรวจเพื่อยืนยันให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็อาจเพียงพอสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมากและรบกวนชีวิตประจำวันอาจต้องการการรักษาด้วยยาร่วมด้วยเพื่อการบรรเทาอาการ


การรักษาทั่วไป

เป็นการแนะนำโรคให้กับผู้ป่วย และสร้างความมั่นใจว่าโรคนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย ใฟ้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ อาหาร และความเครียด การปรับเปลี่ยนอาหาร

การรักษาทั่วไป


การรักษาโดยการใช้ยา (Pharmacologic therapies)

เนื่องจากโรคนี้มีอาการที่หลากหลาย การเลือกยาจึงพิจารณาจากอาการที่เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยเช่น อาการท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง หรือท้องอืดที่เป็นอาการเด่น เป็นต้น รายละเอียดของยาแต่ละชนิดมีดังนี้


ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก

ภาวะนี้จะมีอาการท้องผูกมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องผูกเด่นจะใช้ยาเพื่อเพิ่มกากอุจาระ ยาหล่อลื่น ยาที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้

ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก


ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย

ภาวะนี้จะมีอาการท้องเสียมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียได้แก่ยา opiate และ opioid analogues เช่น loperamide, diphenoxylate atropine

ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย


ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง

ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการปวดท้องจะใช้ย่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ และยาต้านความเศร้า

ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง