ก๊าซในทางเดินอาหาร
ก๊าซในทางเดินอาหารเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงเนื่องจากอาการเป็นไม่มาก
หายเองได้ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็น
ปกติเราสามารถขับก๊าซส่วนเกินโดยการขับออกทางปากและขับทางก้น
หากก๊าซนั้นไม่ถูกขับออกจากร่างกาย
จะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร สำหรับบางคนที่ไวก็อาจจะเกิดอาการท้องอืดแม้ว่าจะมีก๊าซไม่มาก
สาเหตุของก๊าซในทางเดินอาหาร
ก๊ายในทางเดินอาหารหากมีมากจะถูกขับทางโดยการผายลม ก๊าซในระบบทางเดินอาหารเกิดจากการที่เรา
- ได้รับจากการกลืนเข้าไป
- ผู้ที่มีความเครียด
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- มีน้ำมูกไหล
- สูบบุหรี่
- การกลืนอาหารเร็วไปไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ฟันปลอมที่ไม่พอดี
- เครื่องดื่มที่มี carbonated จะทำให้เกิดก๊าซ
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้
อาหารที่ย่อยไม่หมดโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารจะไม่ถูกย่อย เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซ นอกจากนั้นน้ำตาลที่อยู่ในนมหากร่างกายไม่ย่อยก็ทำให้เกิดก๊าซมาก
- ได้แก่อาหารพวก กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่
หน่อไม้ฝรั่ง
ข้าวสาลี wheat, ข้าวโอ๊ต oats, มันฝรั่ง potatoes เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีใยอาหาร และแป้งมากมำให้ลำไส้เล็กดูดไม่หมด อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่เกิดการหมักทำให้เกิดก๊าซ
- อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่นเมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้
ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์จะปรับตัวได้
แต่บางคนอาการท้องอืดและมีก๊าซจะเป็นตลอด
- นม ลำไส้บางคนขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด
ลองงดนมอาการท้องอืดจะดีขึ้น
สาเหตุของการเรอบ่อย
การที่เราเรอส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่มีปริมาณก๊ายในกระเพาะมากทำให้กระเพาะขยายจึงเกิดอาการแน่นท้อง แต่บางท่าเรอจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าปริมาณก๊าซในกระเพาะจะไม่มาก สาเหตุที่พบได้บ่อยๆได้แก่
- มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร
ปกติเมื่อเรากลืนอาหารจะผ่านจากหลอดอาหารไปยังกระเพะอาหารซึ่งมีหูรูดกันไม่ให้กรด และอาหารไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร
เมื่อมีปัจจัยส่งเสริมทำให้หูรูดหย่อน
กรดและอาหารจะไหลย้อนไปยังหลอดอาหารทำให้เราต้องกลืนบ่อย ลมจึงเข้าไปมาก
- มีการอักเสบหรือแผลที่กระเพาะอาหาร
วันหนึ่งรางกายผลิตก๊าซเท่าใด
วันหนึ่งๆร่างกายเราจะผลิตก๊าซวันละ
ครึ่งแกลลอนซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Oxygen,
carbon dioxide, และ nitrogen เหมืออากาศ ไม่มีกลิ่น แต่ที่มีกลิ่นเนื่องจากหมักหมมของอาหารที่ลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดก๊าซ
hydrogen sulfide, indole, and skatole
อาการแน่นท้อง
อาการแน่นท้องเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์
อาการแน่นท้องไม่จำเป็นต้องเกิดจากก๊าซในทางเดินอาหารแต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่น
- อาหารมัน ซึ่งจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้า เกิดอาการแน่นท้อง การแก้ไขทำได้โดยลดอาหารมัน
- เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
- ผู้ป่วยบางคนมีก๊าซไม่มากแต่มีอาการปวดท้องเนื่องจากลำไส้ของผู้ป่วยไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดอาการเกร็งของลำไส้ spasm
- ผู้ป่วยบางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้กลืนลมเพิ่มขึ้น ทำให้แน่นท้องเพิ่มขึ้น
- ก๊าซที่สะสมในลำไส้ใหญ่ข้างซ้ายอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเหมือนกับโรคหัวใจ
หากเราเรอแล้วอาการแน่ท้องดีขึ้นก็แสดงว่าอาการแน่นท้องเกิดจากก๊าซ แต่หากอาการแน่นท้องไม่ดีขึ้นท่านต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการแน่นท้อง
อาการท้องอืดและท้องบวม
ท่านผู้อ่านคงจะเคยมีอาการรู้สึกแน่นท้อง บางคนจะรู้สึกตึงๆในท้อง บางคนจะรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนมีอาการเสียดท้อง หากเราทราบสาเหตุและได้รับการแก้ไขอาการจะดีขึ้น แต่อาการแน่นท้องก็อาจจะเป็นอาการของท้องบวมซึ่งอาจจะเป็น
- น้ำ
- ลม
- เนื้อเยื่อ เช่นเนื้องอก
ดังนั้นหากอาการแน่นท้องเป็นอาการเรื้อรัง และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นมากต้องให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของอาการท้องอืด
สาเหตุของอาการท้องอืด
สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบบ่อยๆได้แก่
- มีลมในทางเดินอาหารมากไป ซึ่งอาจจะเกิดจากร่างกายของคนนั้นมีเชื้อที่สร้างก๊าซมากกว่าคนอื่น หรือเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือเกิดจากร่างกายมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากไป
- ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถไปลำไส้ใหญ่ เช่น ไส้เลื่อนที่อุดตัน ผังผืดในท้องรัดลำไส้เป็นต้น ผู้ที่มีโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน
- ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปวน อาหารที่มัน หรือมีกากมาก
- ผู้่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้น แม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง
การตรวจวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย
เมื่อท่านไปพบแพทย์ท่านจะต้องเตรียมประวัติของการเจ็บป่วย
- อาการแน่นท้องเป็นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นๆหายๆ หากเป็นอย่างต่อเนื่องต้องตรวจหาสาเหตุ
- อาการแน่นท้องสัมพันธ์กับการผายลมหรือไม่ หากมีความสัมพันธ์แสดงว่าเรามีก๊าซในท้องมาก
- ประวัติการรับประทานอาหารที่สัมพันธ์กับอาการแน่นท้อง
การ X-ray
แพทย์อาจจะส่งตรวจX-ray ท้องหรืออาจจะนัดตรวจ ultrasound ซึ่งขึ้นกับอาการและการตรวจร่างกาย
การป้องกันก๊าซ
ข้อแนะนำสำหรับท่านที่ผายลมบ่อยหรือเรอบ่อย
- หลีกเลี่ยงน้ำดื่มที่มีฟองฟู่ เช่นโซดา เบียร์ carbonated beverages ให้ดื่มน้ำมากๆ
- หลีกเลี่ยงนม หากท่านขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี
หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้เช่น แอปเปิล แพร์
- ให้ออกกำลังกาย
- ลดการกลืนลมโดยวิธีการต่อไปนี้
- รับประทานให้ช้า และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและลูกอม
- หยุดสูบบุหรี่
- ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่
การใช้ยารักษา
ท่านอาจจะซื้อยาที่มีขายตามร้านขายาแต่อาจจะได้ผลไม่ดีได้แก่ Simethicone, ผงถ่าน, และยาช่วยย่อยอาหาร