เมื่อไรจึงจะเรียกท้องร่วง
หมายถึงการที่ถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา ถ้าเป็นนานกว่านั้นต้องมีปัญหาอื่น ท้องร่วงทำให้เกิดผลเสียคือร่างกายขาดน้ำ
ซึ่งถ้าเป็นมากอาจจะอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้
ประวัติที่ต้องเตรียมก่อนพบแพทย์
- อยู่ในแหล่งที่มีน้ำท่วมหรือไม่
- อยู่ในแหล่งที่มีการระบาดหรือไม่
- การเดินทาง
- ประวัติการรับประทานอาหาร
- ยาที่รับประทานอยู่โดยเฉพาะยาปฎิชีวนะ
- โรคประจำตัว
สาเหตุ
สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella,ไข้ไทฟอยด์ Salmonella,เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus
- การติดเชื้อพยาธิ์ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica
- จากแพ้อาหาร และนม
- จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย
- โรคลำไส้มีการอักเสบ
อาการของโรคท้องร่วง
ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย โรคท้องร่วงถ้าเป็นนานกว่า 3 สัปดาห์เรียกเรื้อรัง ถ้าหายภายใน 3 สัปดาห์เรียกท้องร่วงเฉียบพลันโดยมากเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส อาการทีีท่านจะต้องสังเกตและแจ้งแก่แพทย์
- ระยะเวลาที่เจ็บป่วย
- อาการค่อยเป็นหรือเป็นมากทันที
- จำนวนครั้งที่ถ่าย ลักษณะอุจาระ
- อาการปวดท้อง อาเจียน
- ไข้
โรคท้องร่วงในเด็ก
สาเหตุของโรคท้องร่วงในเด็กที่พบบ่อยได้แก่การติดเชื้อไวรัส
Rotavirus ซึ่งใช้เวลา 5-8 วันจึงหาย
นอกจากนั้นยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
,จากยา เป็นต้น
การให้ยาจะให้เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้
เด็กที่ถ่ายเหลว 1
วันก็ทำให้เกิดการขาดน้ำได้
ควรพาเด็กพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- อุจาระมีหนอง หรือเลือด
- ไข้มากกว่า 38ํ
- อาการไม่ดีขึ้นใน 24
ชั่วโมง
- มีอาการของขาดน้ำ
อาการขาดน้ำมีอะไรบ้าง
- หิวน้ำบ่อย
- ปัสสาวะลดลง
- ผิวหนังแห้ง
- อ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ
- เวลาเปลี่ยนจากท่านอนเป็นยืนจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม
ในเด็กอาจจะสังเกตอาการขาดน้ำได้จาก
- ปากและลิ้นแห้ง
- ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้
- ไม่มีปัสสาวะมากกว่า 3
ชั่วโมง
- แก้มตอบ ท้องแฟบ ตากลวง
- ไข้สูง
- ร้องกวน
- ผิวแห้ง
ถ้าหากมีอาการของการขาดน้ำควรพบแพทย์ทันที
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
- เมื่อมีอาการท้องร่วงนานเกิน
3 วัน
- มีอาการปวดท้องอย่างมาก
- มีไข้มากกว่า 38.5ํ
- มีเลือดในอุจาระ
หรืออุจาระดำ
- มีอาการขาดน้ำ
แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
- ตรวจอุจาระ และเพาะเชื้อจากอุจาระ
- ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ
- ให้งดอาหารที่สงสัยว่าจะแพ้
เช่น นม ขนมปัง
- ส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่เพื่อหาสาเหตุ
[sigmoidoscopy,colonoscopy]
การรักษา
หลักการรักษาคือป้องกันการขาดน้ำโดยการได้รับ
ORS วิธีการเตรียม
- เตรียมน้ำต้มสุก เ ขวด
- เทน้ำต้มสุกลงในแก้ว 1 แก้ว
- เติมผงเกลือแร่ ORS ลงในแก้ว
คนจนละลาย
- เทน้ำที่ละลายเกลือแร่ลงในขวด
- ดื่มตามฉลากข้างซองกำหนด
หรืออาจจะเตรียมน้ำเกลือแร่เองได้โดย
- ผสมเกลือ 3.5 กรัม ผงฟู 2.5 กรัม เกลือ potassium chloride 1.5 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตร
ยาที่ทำให้หยุดถ่ายไม่แนะนำเนื่องจากทำให้หายช้า