ยารักษาคอพอกเป็นพิษ Methimazole
สำหรับผู้ที่ใช้ยาชนิดนี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
- มีไข้ หนาวสั่น ปวดตามตัว มีอาการเป็นหวัด
- มีจ้ำเลือด เลือดออก
- ปัสสาวะ อุจาระมีเลือดปน
- มีผื่นตามผิวหนัง หรือตุ่มน้ำตามผิวหนัง
- คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษาคอพอกเป็นพิษ Methimazole
- ใช้รักษาภาวะคอกพอกเป็นพิษ
ขนาดและวิธีการให้ยารักษาคอพอกเป็นพิษ Methimazole
- ผู้ป่วยที่อาการไม่มากให้ยา Methimazole 15 มกต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
- ผู้ที่มีอาการปานกลางให้ยา Methimazole 30-40 มกต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
- ผู้ที่มีอาการรุนแรงให้ยา Methimazole 60 มกต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
- ขนาดยาที่ใช้ควบคุมอาการ Maintainance 5-15 มก ต่อวัน
ผลข้างเคียงของยารักษาคอพอกเป็นพิษ Methimazole
- ผลต่อระบบโลหิตได้แก่ เม็ดเลือดขาวต่ำ(ทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ง่าย เช่นไข้ เจ็บคอ)โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และได้ยามากกว่า 40 มก ต่อวัน เกล็ดเลือดต่ำ ซีด
- แพ้ยามีผื่นขึ้น และมีไข้
- ตับอักเสบ
- ลมพิษ
- ปวดข้อ ผมร่วง
ปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ยา Methimazole จะเพิ่มยา warfarin ในเลือดดังนั้นจะต้องติดตามการแข็งตัวของเลือด
- ยา Methimazole จะเพิ่มการขับถ่ายของยา betablocker ดังนั้นเมื่อคุมภาวะคอกพอกเป็นพิษได้ ควรจะลดขนาดยา betablocker
- ยา Methimazole จะเพิ่มระดับยา digoxin ดังนั้นเมื่อคุมภาวะคอกพอกเป็นพิษได้ ควรจะลดขนาดยา
- ยา Methimazole จะเพิ่มระดับยา Theophylline ดังนั้นเมื่อคุมภาวะคอกพอกเป็นพิษได้ ควรจะลดขนาดยา
ความปลอดภัยในคนตั้งครรภ์
ยานี้จัดอยู่ในกลุ่ม D ควรจะหลีกเลี่ยงในคนท้อง และผู้ที่ให้นมบุตร
ข้อห้ามในการใช้ยารักษาคอพอกเป็นพิษ Methimazole