ยารักษาต่อมไทรอยด์

 

ยาที่ใช้รักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษในประเทศไทยมีด้วยกัน 2 ตัวคือPTU[propylthiouracil] MMI [methimazole ] ยากลุ่มนี้มีประโยชน์ในการรักษาต่อไทรอยด์เป็นพิษ การเลือกใช้ยาขึ้นกับแพทย์แต่ละท่าน MMI มีข้อดีกว่า PTU หลายประการดังนี้

  • สะดวกเพราะสามารถให้ยาวันละครั้ง
  • สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นไวกว่า
  • ใช้ยาจำนวนเม็ดน้อยกว่า
  • มีความปลอดภัยมากกว่า

แต่ในบางภาวะจะต้องใช้ PTU ซึ่งให้ผลดีกว่าเช่น การให้ยาในขณะท้อง การให้ยาขณะให้นมบุตร การให้ยาขณะเกิด thyroid strom

ขนาดยาที่ใช้รักษา

ผู้ป่วยคนไทยใช้ PTU 150 มก/วัน MMI 15 มก/วัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เริ่มเป็นหรือไม่รุนแรง หลังจากหยุดยาจะมีเพียงร้อยละ 50 ที่ไม่กลับเป็นซ้ำ

ผลข้างเคียงของยา

ยาในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น ไข้ ผื่นคัน ปวดข้อ โดยพบช่วงแรกของการรักษาและพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่รับยาขนาดสูง ผลข้างเคียงที่สำคัญแต่พบน้อยคือ Agranulocytosis คือภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 250 ตัว/มม  aplastic anemia คือภาวะที่ไขกระดูกฝ่อไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดผู้ป่วยจะมีโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำ  hepatitis polyarthritis

การติดตามการรักษา

หลังจากได้รับยาควรไปพบแพทย์ตามนัดโดยทั่วไปแพทย์จะนัดอีก 4-6 สัปดาห์เมื่อคุมภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้แล้วจึงลดขนาดยาลง โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา1-2 ปีจึงจะหยุดยาได้ หลังหยุดยาจะมีผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำของภาวะไทรอยด์เป็นพิษซึ่งมักจะเกิดใน 3-6 เดือนแรกหลังหยุดยา แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหยุดยาได้ 5 ปีโดยที่ไม่เกิดอาการ อ่านเรื่อง PTU

การใช้น้ำแร่

ยากลุ่มปิดกั้นเบต้า Beta blocker

กลับหน้าแรก