6ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยหัวใจวายที่บ้าน
การบันทึกประจำวัน | จะต้องรู้ว่าเมื่อไรจึงต้องปรึกษาหรือไปพบแพทย์ | ต้องจดเบอร์เจ้าหน้าที่ | เตรียมข้อมูลที่สำคัญ | ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก | ผู้ป่วยที่หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะรู้ตัวเอง และไม่ยอมไปโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค ดังนั้นครอบครัวจะต้องช่วยกันดูแลตั้งแต่ การเฝ้าระวังการกำเริบของโรค การป้องกันโรคแทรกซ้อน การดูแลขั้นต่ำสำหรับผู้ป่วยมีดังนี้
ต้องมีการบันทึกน้ำหนัก และมีแผนสำหรับการดูแลเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น
- การเตรียมยาสำหรับรับประทานเป็นประจำ และยาสำหรับรักษาอาการเจ็บหน้าอก อาการหอบเหนื่อย และน้ำหนักเกิน
- แผนการดูแลยามฉุกเฉิน เช่นการไปห้องฉุกเฉิน การอนุญาตให้แพทย์ทำการกู้ชีวิตหรือไม่

สำหรับขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยมีดังนี้
-
การบันทึกประจำวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการรักษาของแพทย์ ข้อมูลที่ควรจะบันทึกได้แก่
- น้ำหนักประจำวัน
- การหายใจ มีอาการหอบเหนื่อยหรือไม่ หายใจลำบาก ไอโดยเฉพาะเวลานอน แน่หน้าอกเวลานอนราบจนต้องตื่นตอนกลางคืน ต้องบอกรายละเอียดถึงวันที่เกิดอาการและความรุนแรง
- ยาที่รับประทาน ต้องรู้ชื่อยา ขนาด ความถี่ของการรับประทาน และผลข้างเคียงของยา
- อาหาร และกิจวัตรประจำวันที่ทำได้และทำไม่ได้
- อาการอื่นๆ เช่นบวม
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กก./ใน3วัน
- มีอาการบวมที่หลังเท้า ข้อเท้า มือ
- มีอาการหายใจลำบาก หรือไอเวลานอน
- ปัสสาวะลดลง
- สับสน มึนงง หรือเป็นลมหมดสติ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการอ่อนเพลีย
- เป็นตะคริวหรืออ่อนแรง
- มีอาการไม่สบายตัว
นอกจากจะเรียนรู้อาการต่างๆเหล่านี้ ยังต้องเตรียมยาหรือแผนการรักษาเบื้องต้น ก่อนการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับแพทย์
-
ต้องจดเบอร์ของแพทย์หรือโรงพยาบาลที่รักษาท่านอยู่ และสมาชิกในครอบครัวทราบว่าสมุดจดวางไว้ที่ไหน
- ชื่อแพทย์
- เบอร์โทรของแพทย์
- เบอร์โทรของโรงพยาบาล
- ชื่อแพทย์สำรอง
- เบอร์โทรแพทย์สำรอง
- เบอร์โทรโรงพยาบาล
![]() |
อาการแน่นหน้าอก |
เวลาที่เริ่มเจ็บ |
|
ระยะเวลาที่เจ็บ |
|
ลักษณะที่เจ็บ(เจ็บแปลบๆ เจ็บหนักๆ หายใจแล้วเจ็บมากขึ้นหรือเท่าเดิม |
|
ตำแหน่งที่เจ็บ |
|
เจ็บเท่ากันหรือเป็นๆหายๆ | |
![]() |
น้ำหนักเกิน |
น้ำหนักปกติเป็นเท่าใด |
|
น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาเท่าใด |
|
ใช้เวลากี่วัน |
|
![]() |
อาการบวม |
บวมที่ไหนเป็นแห่งแรก |
|
บวมบริเวณอื่นอีกหรือไม่(มือ ท้อง) |
|
บวมนานแค่ไหน |
|
![]() |
อาการหายใจลำบากหรือไอกลางคืนหรือหอบเหนื่อย |
เริ่มหายใจลำบากเมื่อใด |
|
ปัจจัยที่ทำให้หายใจลำบากเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ทำให้หายใจดีขึ้น |
|
เริ่มไอกลางคืนตั้งแต่เมื่อใด |
|
![]() |
อาการเป็นลมหรือเวียนศีรษะ |
เวลาที่เริ่มเกิดอาการ |
|
![]() |
มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยหรือไม่ |
เป็นมานานแค่ไหน |
|
![]() |
อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง |
ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย |
|
![]() |
ตะคริวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง |
กล้ามเนื้อส่วนไหนที่เป็นตะคริว |
|
ระยะเวลาที่มีอาการนี้ | |
![]() |
อาการอื่นๆที่จะปรึกษาแพทย์ |
เมื่อท่านได้ประวัติครบถ้วนแล้วให้ท่านประเมินอาการของท่านว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
ความรุนแรงจากน้อยไปหามาก | ||||
---|---|---|---|---|
อาการเหนื่อย | ออกกำลังแล้วเหนื่อย | เดินเร็วเหนื่อ | กิจวัตร์ประจำวันเช่น อาบน้ำ กินข้าวจะเหนื่อย |
นั่งเฉยๆก็เหนื่อย |
อาการหายใจลำบาก | นอนตั้งนานจึงแน่นหน้าอก | นอนไม่ถึงสองชั่วโมง ต้องลุกนั่ง | นอนหัวสูงตลอดเวลา | |
บวม | บวมตอนสายๆ เช้าไม่บวม | บวมตอนเช้าแต่ไม่มาก | บวมมากทั้งเช้าและเย็น บวมทั้งตัว |
หากอาการท่านบ่งไปทางหนักท่านควรจะปรึกษาแพทย์
แผนการสำหรับภาวะฉุกเฉินต่างๆ
หากเกิดอาการฉุกเฉินต่างๆดังกล่าวอย่าตกใจจนขาดสติ ให้รวบรวมสมาธิแล้ววางแผนว่าจะทำอะไรก่อนอะไรหลัง ก่อนอื่นคงจะต้องให้การดูแลเบื้องต้นก่อน
- ให้นอนยกหัวสูง หรือนั่ง
- หากมีออกซิเจนที่บ้านก็เปิด4-6ลิตรให้ผู้ป่วย
- หากเจ็บหน้าอกก็สามารถให้ยาอมใต้ลิ้นแก่ผู้ป่วย
- ให้ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
- ให้จับนอนหงาย หันหน้าออกไปทางด้านข้าง
- หรือให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
- อย่าป้อนยาหอมหรืออาหารเพราะอาจจะสำลักอาหาร
- ให้ออกซิเจน
โทรปรึกษาแพทย์หรือโรงพยาบาล
โปรดอย่าลืมสมุดจดข้อมูลที่จะใช้ปรึกษาหรือรายงานอาการให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ
ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
นำสมุดจดไว้ข้างโทรศัพท์ จดคำแนะนำและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือวางแผนไปโรงพยาบาล
อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | การออกกำลังกายสำหรับโรคหัวใจวาย |
สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย