การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
การตรวจพิเศษเพื่อการป้องกันหรือการวินิจฉัยโรคหัวใจแพทย์จะทำการสั่งหลังจากซักประวัติทั้งประวัติครอบครัว ประวัติโรคประจำตัว ประวัติพฤติกรรมของคนต้องการตรวจสุขภาพ เมื่อประเมินปัจจัยต่างๆแพทย์จะส่งตรวจตามดุลพินิจของแพทย์ การตรวจจะประกอบไปด้วย
การตรวจทั่วๆไป
การตรวจเลือด
- การตรวจความสมบูรณ์ของเลือดหรือที่เรียกว่า CBC การตรวจนี้ก็พอจะช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่นพบภาวะโลหิตจางก็อาจจะทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือเป็นสาเหตุของหัวใจวาย หากเม็ดเลือดขาวสูงก็อาจจะมีการติดเชื้อซึ่งทำให้การทำงานของหัวใจแย่ลง
- การตรวจไขมันในเลือด ไขมันสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกตโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลว่าเป็นเบาหวานหรือไม่
- การตรวจ ESR ซึ่งเป็นการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาว่าร่างกายมีการอักเสบหรือไม่ ค่าที่สูงหมายถึงมีการอักเสบ
- การตรวจ hsCRP CRP เป็นการตรวจหาการอักเสบ ผู้ที่มีค่า hsCRP สูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- การตรวจการทำงานของไต ผู้ที่มีโรคไตจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ แพทย์จะสั่งตรวจในรายที่หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจ PT,INR เป็นการตรวจว่าเลือดแข็งตัวง่ายหรือยาก โดยมากจะตรวจในผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- การตรวจเลือดหา brain natriuretic peptide (BNP) ค่านี้จะสูงมนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- การตรวจปัสสาวะจุดประสงค์คือการตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ การพบโปรตีนในปัสสาวะอาจจะเป็นปัจจัยเสี่งสำหรับโรคหัวใจ
- การตรวจเกลือแร่ก็อาจจะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางประเภทที่รับประทานยาบางชนิด
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาว่ากล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือดหรืออักเสบ จะทำในรายที่มีอาการบ่งชี้เท่านั้น
- การตรวจทางรังสี แพทย์จะสามารถบอกว่าหัวใจโตหรือไม่ มีหัวใจวายหรือไม่
การตรวจทางหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซึ่งจะบอกการเต้นของหัวใจ ขนาดของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตาย
- การตรวจหาแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือด Coronary Artery Calcium Score
โดยการใช้เครื่อง CT Computer ผู้ที่มีแคลเซี่ยมสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- การตรวจคลื่นความถี่สูงที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ Carotid ultrasound การตรวจนี้เพื่อตรวจว่ามีหลอดเลือดแข็งหรือไม่
- การตรวจ Computer scan และการฉีดสีเพื่อประเมินหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะวิ่งหรือที่เรียกว่า Exercise test เป็นการตรวจเพื่อว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
- การตรวจความดันตลอด24ชั่วโมงเพื่อประเมินความดันของผู้ป่วยบางราย
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อติดตามการเต้นของหัวใจในรายที่มีอาการ แต่ขณะตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติ
- การฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เรียกว่า Electrophysiological Studies
เป็นการตรวจหาสาเหตุของการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
โรคหัวใจ อาการโรคหัวใจ การตรวจโรคหัวใจ การป้องกันโรคหัวใจ