สาเหตุของหัวใจวาย
หัวใจวายเกิดจากการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น และหัวใจไม่สามารถทำงานก็จะเกิดหัวใจวาย หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
- หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
- ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
- โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน
ความดันโลหิตสูง
และไขมันในเลือดสูง
- หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอ
- สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย
- ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
- หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
- กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น
สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว