หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia หรือ Pneumocystis jiroveci pneumonia (PCP)
Pneumocystis เป็นเชื้อราและมีลักษณะเหมือนกับโปรโตซัวที่พบได้เสมอในสัตว์เชื้อที่เกิดโรคสัตว์เรียก Pneumocystis carinii แต่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคนเราเรียก Pneumocystis jiroveci เชื้อพวกนี้เป็นปรสิตที่อยู่ในเซลล์ ก่อนที่จะมีโรคเอดส์จะไม่ค่อยได้พบโรคนี้ แต่หลังจากการมีระบาดของโรคเอดส์ก็พบว่ามีอัตราการติดเชื้อ Pneumocystis 60-80%แต่หลังจากที่มีการให้ยาต้านไวรัสเอดส์และยาป้องกันการติดเชื้อ Pneumocystis ก็ทำให้การติดเชื้อลดลง
เชื่อว่ามีการเกิดโรคได้สองวิธีคือ
อาการสำคัญของผู้ป่วยจะมีเหนื่อยง่ายไข้ ไอแห้งๆไม่มีเสมหะ เหนื่อยง่ายหายใจลำบากเป็นอาการที่พบได้ร้อยละ 50ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อPneumocystis น้ำหนักลด เหงื่ออกกลางคืน อ่อนเพลีย หากเป็นไม่มากจะตรวจร่างกายไม่พบอะไร แต่ในรายที่เป็นมาก ผู้ป่วยจะมีอาการหอบอย่างมากและเขียว โดยที่จะมีไข้เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยมักจะถึงแก่กรรมแม้จะได้รับการรักษา เจาะเลือดพบว่าค่า serum LDH (a liver enzyme)สูงขึ้น(มากกว่า 460 U)
เนื่องจากประวัติ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางรัวสีไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้จึงจำเป็นต้องตรวจเสมหะหรือเนื้อเยื่ยเพื่อการวินิจฉัย
|
จะเห็น cyst ในเซลล์ |
* ต้องใช้วิธีพิเศษในการย้อม
ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อคือ
ระยะเวลารักษาประมาณ 21 วันการรักษาอาจจะส่งให้เกิดผลข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับยาต้านไวรัส จึงแนะนำว่าให้รักษา pcp เรียบร้อยจึงให้ยาต้านไวรัส แต่อาจจะเกิด immune recovery inflammatory syndrome
การเฝ้าติดตามการรักษาเพื่อดูว่าเชื้อมีการเกิดซ้ำหรือเปล่าและเฝ้าดูผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา
เมื่อการรักษาไม่ได้ผล
หลังจากได้รับยา TMP/SMX ไปแล้ว 4-8 วันโดยไม่มีอาการแสดงว่าดีขึ้นถือว่าการรักษาล้มเหลวซึ่งเกิดจากผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงของยาไม่ได้(1ใน3ของผู้ป่วย) ร้อยละ10เกิดจากโรคอาจจะรุนแรงมาก ควรจะรอ 3-5 วันจึงจะเปลี่ยนยา
การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia (PCP)
ต้องอย่าพักห้องเดียวกับผู้ที่ติดเชื้อนี้
การให้ยาป้องกันการติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia (PCP)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ HIV ทุกคนควรจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ Pneumocystis เมื่อ
ยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ Pneumocystis carinii Pneumonia (PCP)
การป้องกันทุติยภูมิ
การตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น | ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ใหม่ | การป้องการติดเชื้อ HIV | แนวทางการรักษา | การรักษา | การดูแลผู้ที่ติดเชื้อ HIV | การติดเชื้อฉวยโอกาส | การฉีดวัคซีน
ทบทวน 19 มค 2551
Treating Opportunistic Infections Among HIV-Infected Adults and Adolescents Recommendations from CDC, the National Institutes of Health, and the HIV Medicine Association/Infectious Diseases Society of America