จะทำอย่างไรเมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนก

องค์การอนามัยโลกได้แบ่งการระบาดของไข้หวัดนกออกเป็น 6 ระดับได้แก่

  1. การระบาดระดับ1 หมายถึงเกิดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในสัตว์ ซึ่งมีโอกาสที่จะติดคน
  2. การระบาดระดับ2 หมายถึงเกิดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในสัตว์ แต่มีโอกาศที่จะติดคนสูง
  3. การระบาดระดับ3 หมายถึงคนสามารถติดเชื้อนั้น แต่ยังไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน
  4. การระบาดระดับ4 หมายถึงเชื้อเริ่มติดต่อจากคนสู่คน แต่เป็นพื้นที่เล็ก เชื้อยังพัฒนาไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ติดต่อสู่คนได้ง่าย
  5. การระบาดระดับ 5 หมายถึงการระบาดในระดับชุมชนที่ใหญ่ขึ้น แต่ยังไม่กระจายทั่วไป เชื้อเริ่มติดต่อจากคนสู่คนง่ายขึ้น
  6. การติดต่อระดับ 6 หมายถึงเชื้อพัฒนาติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย เป็นการระบาดเต็มรูปแบบ

องค์การอนามัยโลกได้จัดการระบาดของไข้หวัดนกอยู่ในระดับที่3 หากมีการระบาดของไข้หวัดนกจะก่อให้เกิดปัญหา มีผู้คนเสียชีวิต ขาดยาต้านไวรัส ขาดวัคซีนดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องควบคุมการระบาดโโยไม่ต้องใช้ยาหรือวัคซีนในช่วงต้นของการระบาด

มาตราการของการรับมือการระบาดระดับ 3

องค์การอนามัยโลกได้ประเมินสถานการการระบาดอยู่ในระดับ3(19 พย 2548) หมายถึงมีการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน แต่ยังขาดหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน แม้ว่าจะมีผู้ป่วยไข้หวัดนก 130 คนแต่การระบาดในไก่ได้กระจายไปทั่วโลกการเตรียมการในช่วงนี้คือ

  • ให้ค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค
  • สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดต้องป้องกันมิให้เกิดการระบาดของไข้หวัดนกในไก่
  • ยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจร่างกายก่อนเข้าประเทศ หรือปิดประเทศ

มาตราการของการรับมือการระบาดระดับ 4-5

ระยะนี้ของการระบาดจะมีการติดเชื้อเป็นกลุ่มๆในพื้นที่ ระยะเวลาการติดเชื้อหรือสถานที่ใกล้เคียงกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ดำเนินมาตราการดังนี้

  • ต้องวินิจฉัยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกให้เร็ว และแยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่น
  • ต้องแยกผู้ที่สัมผัสโรคกับผู้ป่วยช่วง 2 สัปดาห์ของการป่วย และให้เฝ้าดูอาการอีก 1 สัปดาห์ โดยให้ผู้ที่สัมผัสแยกตัวเอง
  • ให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่สัมผัสโรค โดยองค์การอนามัยโลกจะมียาสำรองสำหรับกรณีนี้

    หน้ากากN95

    หน้ากากsurgical mask

  • จำกัดการเข้าออกของคนที่จะเข้าออกบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • ต้องตรวจร่างกายคนที่มาจากแหล่งระบาด

มาตราการของการรับมือการระบาดระดับ 6

เป็นการระบาดทั่วไป อาจจะระบาดยังไม่ครบทุกประเทศในโลก องค์การอนามัยโลกได้แนะนำมาตราการดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องทำงานด่านหน้า ต้องสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 และต้องทดสอบว่าพอดีกับหน้า
  • หากไม่มีหน้ากากชนิด N95ก็ใช้หน้ากากกระดาษสำหรับห้องผ่าตัดก็ได้ แต่ต้องทดสอบความฟิตก่อนเสมอ
  • ผู้ป่วยและคนที่มาอยู่รวมกันต้องสวมหน้ากากทุกคน
  • ผู้ที่มีไข้และมีอาการทางเดินหายใจ รวมทั้งผู้ที่สัมผัสต้องจำกัดตัวเองให้อยู่ในบ้าน
  • ประชาชนไม่ควรไปยังบริเวณที่มีการระบาด
  • ประเทศที่มีการระบาดต้องใบคำแนะนำถึงอาการ การปฏิบัติตัวและสถานที่ติดต่อหากมีอาการ
  • ต้องตรวจร่างกายสำหรับผู้ที่จะเดินทางออกจากประเทศที่มีการระบาด แต่อาจจะได้ผลไม่ดีเนื่องจากคนที่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ และต้องใช้เงินปริมาณมาก
  • สำหรับคนที่สัมผัสคนป่วยไม่ว่าจะบนรถ เรือ เครื่องบินจะต้องวัดไข้วันละ 2 ครั้งและรับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันโรค

มาตราการของการรับมือการระบาดระดับ 6 เมื่อมีการระบาดไปทั่วโลก

เชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่ายโดยผ่านทางไอ จาม และระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกแนะนำมาตราการดังนี้

  • การแยกผู้ป่วย และกักตัวผู้สัมผัสโรคจะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และด่านหน้าต้องสวมหน้ากาก N95 ผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกคน
  • เนื่องจากมีผู้ป่วยมากมาย การจัดเตียงผู้ป่วยต้องป้องกันมิให้เชื้อแพร่กระจายได้ง่าย ต้องแยกเตียงให้ห่างกัน
  • ปิดโรงเรียน ปิดการจัดเลี้ยง การประชุม งานมโหรสพ
  • เน้นให้ประชาชนล้างมือบ่อยๆ
  • สอนประชาชนให้ปิดปากเวลาจามหรือไอ
  • การสวมหน้ากากสำหรับคนปกติจะไม่มีผลต่อการระบาด แต่ประชาชนจะสวมเอง

ขอให้ทุกท่านโชคดี

คลิกที่นี่ดูภาพการระบาดของไข้หวัดนกปี1918