การป้องกันโควิด19 แบบครอบจักรวาล universal prevention
ส่วนของผู้เขียนแบ่งการป้องกันโควิดแบบครอบจักรวาลออกเป็น
- การป้องกันมาตราฐาน
- การป้องกันส่วนบุคคล
- การป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว
- การป้องกันการติดเชื้อในที่ทำงาน
การป้องกันติดเชื้อมาตรฐาน Standard Prevention เป็นการป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ได้แก่
การล้างมือเป็นมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรคระบาดแต่คนละเลยไม่ค่อยได้ปฏิบัติ การทำความสะอาดมืออาจจะใช้สบู่กับน้ำ หรือใช้แอลกอฮอลล์ล้าง
การล้างมือด้วยน้ำและสบู่จะมี 7 ขั้นตอน
ส่วนการใช้แอลกอฮอล์ก็จะมีรายละเอียดการล้างดังนี้
- หากพบสกปรกที่มือชัดเจนให้ใช้สบู่และน้ำล้าง
- หากไม่พบสิ่งสกปรกชัดเจนให้ใช้แอลกอฮอลล์หรือสบู่และน้ำ
จะล้างมือเมื่อไร
- ให้ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย
- ล้างมือทันทีหลังจากถอดถุงมือ
- ล้างมือเมื่อสัมผัสจุดเสี่ยง
อ่านเรื่องการล้างมือ
การเลือดอุปกรณืป้องกันตนเองต้องพิจารณาจากความเสี่ยงในการติดเชื้อ
หน้ากากอนามัย
โรคโควิด19 แพร่เชื้อจากคนสู่คนทางละอองฝอยของสารคัดหลั่งจากทางเดิน หายใจและการสัมผัสเชื้อไวรัสการสวมหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
ขั้นตอนการใส่หน้ากากอนามัย
- ให้ล้างมือก่อนและหลังใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสหน้ากากอนามัย
- ให้แน่ใจว่าหน้ากากอนามัยคลุมทั้ง จมูก ปาก และคาง
- เมื่อใช้หน้ากากอนามัยเสร็จให้เก็บไว้ในกล่อง หรือทำความสะอาด
- ไม่ใช่หน้ากากที่มีวาวล์
เมื่อไรจึงจะใส่หน้ากากอนามัย
เราควรสวมหน้ากากในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือใกล้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ควรจะสวมหน้ากากอนามัยในที่ที่แออัด มีคนมากและการถ่ายเทอากาศไม่ดี เช่น ตลาด รถโดยสาร ในห้องประชุม
- ในอาคารซึ่งไม่ทราบว่าใครติดเชื้อบ้าง
การเลือกชนิดหน้ากากอนามัย
การเลือกหน้าชนิดกากอนามัยขึ้นกับพฤติกรรมความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ความใกล้ชิดกับคน โดยปกติใช้เพียงหน้ากากชนิด surgical mask หรือหน้ากากผ้าอ่านเรื่องหน้ากากอนามัยหน้ากากทางการแพทย์ surgical mask
ผู้ที่จะสวมหน้ากากทางการแพทย์ควรจะเป็นคนที่อยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล
- ผู้ที่ติดเชื้อโควิด
- ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด
- กลุ่มเสี่ยงที่ต่อการเสียชีวิตเมื่อติดเชื้อโควิด ได้แก่ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ในสถานที่แออัดซึ่งไม่สามารถเว้นระยะห่าง 1 เมตร
หน้ากากผ้า
- ผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ไม่มีอาการ และอยู่ในพื้นที่แออัดไม่สามารถเว้นระยะห่างหนึ่งเมตร เช่นสถานที่ทำงาน
- คนที่ต้องทำงานใกล้ชิดผู้อื่น เช่น พนักงานเก็บเงิน ประชาสัมพันธ์ พนักงานเสริฟ
- ผู้ที่อยู่ในรถสาธารณ สถานที่สาธารณ
ถุงมือ
โดยปกติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่หากเรามีกิจกรรมที่มีโอกาศมือจะปนเปื้อน เช่นการดุแลผู้ป่วย หรือการไปตลาดต้องจับวัตถุมากมายทำให้มีโอกาศสัมผัสเชื้อ ก็ควารใส่ถุงมือ เมื่อเสร็จภาระกิจให้ถอดถุงมือ หลังจากนั้นก็ต้องล้างมือทุกครั้ง
หน้ากากกันเสมหะ หรือแว่นตา face shield or goggles
จะใส่ในกรณีที่ต้องมีการสัมผัสเสมหะ สารคัดหลั่ง หรือเลือด โดยทั่วไปหากเราเว้นระยะห่าง2เมตรก็ไม่จำเป็นต้องใส่ แต่หากต้องไปดูแลผู้ป่วยที่มีการไอ หรือการไปดูดเสมหะคนไข้ก็จำเป็นต้องใส่ ข้อสำคัญต้องใส่หน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
เสื้อคลุมกันติดเชื้อ
เสื้อคลุมจะใช้ในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยที่ต้องมีการดูดเสมหะ หรือผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ สำหรับประชาชนมีความจำเป็นในการใช้เสื้อคลุมไม่มาก สำหรับคนที่เข้าในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สถานที่แออัด เมื่อกลับถึงบ้านให้ถอดชุดที่ใส่และอาบน้ำชำระร่างกายด้วยสบู่และน้ำก็เพียงพอ
เชื้อโควิด19ติดต่อผ่านเสมหะขนาดใหญ่ซึ่งเมื่อไอเสมหะจะออกมาพร้อมเชื้อ เสมหะขนาดใหญ่จะปลิวไปได้ไกลประมาณ1.5เมตร ดังนั้นการป้องกันการระบาดผู้ที่ไอควรจะใส่หน้ากากอนามัย หากไม่มีหน้ากาก็ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือทิสชู่ปิดปากปิดจมูก หรือใช้แขนเสื้อปิด ไม่ควรใช้มือเปล่าปิด เมื่อไอเสร็จให้รีบล้างมือ
จะทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคดี
เชื้อไวรัสที่มากับเสมหะขนาดใหญ่จะอยู่ในอากาสได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นเชื้อจะอยู่บนพื้นผิวสัมผัสเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้นผิวจะได้ได้นานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวันขึ้นกับลักษณะของพื้นผิว อุณหภูมิและความชื้น การทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่จะช่วยลดปริมาณเชื้อลงได้ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อก็จะลดจำนวนเชื้องโรคได้ ข้อแนะนำในการทำความสะอาด
- พื้นที่ผิวที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้สบู่หรือผงซักฟอกทำความสะอาดก็เพียงพอ
- การทำความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อไม่ควรทำให้เกิดละออง โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาเช็ดแทนการใช้สเปย์
- ก่อนทำการฆ่าเชื้อต้องทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
- การผสมน้ำยาต้องทำตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
- ในพื้นที่มีกำลังมีการระบาด และพื้นผิวนั้นมีการสัมผัสบ่อยก็อาจจะต้องทำความสะอาด และมีการฆ่าทำลายเชื้อด้วย
- สารที่นำมาฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันได้แก่
Sodium hypochlorite และ alcohol
- เมื่อทำความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยง เมื่อจะมาทำให้พื้นที่ไม่เสี่ยงให้เปลี่ยนน้ำยาและผ้าสำหรับทำความสะอาด
- หลังจากทำความสะอาด ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์และตากให้แห้ง
- ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่น หากจำเป็นต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นจะต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรอง HEPA
การเว้นระยะห่างทางกายภาพสามารถทำได้หลายวิธี
- การเว้นระยะหางทางกายภาพ
- การเว้นระยะห่างด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน
อ่านการเว้นระยะห่างทางสังคมที่นี่
การระบาดของโรคโควิดมักจะเกิดในที่คนอยู่รวมกันเกิดความแออัด มีการพูดหรือตะโกนเสียงดัง หายใจแรง ที่สำคัญการระบายอากาศไม่ดี การแก้ไข
- หลีกเลี่ยง 3Cs คือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท close มีคนอยู่แออัด crowded และอยู่กันใกล้ชิด close contact
- ควรพบปะผู้คนในสถานที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
- หากต้องอยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ให้เปิดประตูและหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
- สวมหน้ากากอนามัย
- สำหรับบ้านหรือสำนักงานที่ติดเครื่องปรับอากาศก็แกไขโดยการเปิดประตูหรือหน้าต่าง หรือติดพัดลมระบายอากาศเพื่อให้มีอากาศจากภายนอกเข้ามายังห้อง
- สำหรับห้องที่อากาศถ่ายเทไม่ดีไม่ควรจะใช้พัดลมเพราะจะทำให้เชื้อมีการกระจาย
- การตรวจสอบการถ่ายเทอากาศโดยการวัดคาร์บอนไดออกไซด์
พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อโควิด19ได้ง่าย
- การใช้มือจับใบหน้า หรือใช้นิ้วขยีตา แคะจมูก
- การสวมหน้ากากไม่ถูกต้อง เช่นเอาไว้ใต้คาง หรือไม่คลุมจมูก หรือการใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ
- การดื่มน้ำ สุรา หรือสูบบุหรี่ร่วมกัน
- การรวมกลุ่มรับประทานอาหารพร้อมกัน
- การจับมือหรือการกอกกัน
- การใช้ของส่วนตัว หรืออุปกรณ์ เช่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ร่วมกันโดยไม่ล้างมือ
- ไม่พกหน้ากากอนามัย หรือแอลกอฮอลล์เมื่อออกนอกบ้าน
- การไม่ทำความสะอาดมือเมื่อจับพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยนอกบ้าน
- พฤติกรรมชอบสังสรร เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มเล่นการพนัน
- หยิบจับสารพัดโดยไม่ล้างมือ
- ดื่มหรือรับประทานอาหารในที่ประชุมซึ่งมีคนอยู่กันมาก
- ไม่เว้นระยะห่างโดยเฉพาะกับคนป่วย
- ไม่สวมหน้ากากเมื่อคุยกับคนแปลกหน้า