การวินิจฉัยโรคฉี่หนู
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคฉี่หนูได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาชีพหรือประวัติสัมผัสหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อเลปโตสไปร่า ร่วมกับอาการไข้เฉียบพลันและอาการอื่น ๆ ที่พบบ่อยในโรคเลปโตสไปโรซีส ได้แก่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดง เป็นต้น โดยไม่มีอาการซึ่งบ่งชี้สาเหตุของโรคติดเชื้ออื่น ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือปอดอักเสบ หรือการติดเชื้อในระบบอื่น ๆ เนื่องจากอาการทางคลินิคของโรคเลปโตสไปโรซีส เกิดจากภาวะที่มีเชื้อเลปโตสไปร่าในกระแสโลหิต (leptospiremia) ส่วนหนึ่งร่วมกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งเกิดได้ทั่วร่างกาย ทำให้พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีอาการทางคลินิคเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลัน ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดง ฯลฯ โดยไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรืออาการซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคนี้
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลันร่วมกับอาการตัวเหลืองตาเหลือง (acute acalculous cholecystitis) อาจพบว่ามีตับโต กดเจ็บร่วมด้วย โดยไม่พบความผิดปกติของการทำงานของไต
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลันร่วมกับความผิดปกติของการทำงานของไต เช่น การตรวจปัสสาวะพบความผิดปกติ หรือพบการเพิ่มขึ้นของ BUN หรือ creatinine โดยไม่พบอาการตัวเหลืองตาเหลือง
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลันร่วมกับอาการตัวเหลืองตาเหลือง และความผิดปกติของการทำงานของไตร่วมด้วย (Weil's syndrome)
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลันร่วมกับความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ความรู้สึกตัวผิดปกติ (encephalopathy) หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (aseptic meningitis) เป็นต้น
- กลุ่มอาการไข้เฉียบพลันร่วมกับอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย การหายใจล้มเหลว เป็นต้น
จากประวัติการสัมผัสโรค
และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ
- CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม
บางรายเกล็ดเลือดต่ำ
- ESR เพิ่ม
- ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดีbilirubin ในปัสสาวะ
- ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่าSGOT,SGPT สูงขึ้น
- ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่าCreatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น
- การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค โดยการเพาะเชื้อเลปโตสไปร่าซึ่งจะมีโอกาสพบเชื้อได้จากเลือดและน้ำไขสันหลังได้ภายใน 10 วันแรกนับจากวันที่เริ่มมีอาการทางคลินิค หลังจากนั้นควรเพาะเชื้อจากปัสสาวะซึ่งอาจพบเชื้อได้นานถึง 30 วันหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ
- การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์
- การวินิจฉัยโรคที่แน่นอนทำได้โดยการตรวจพบเชื้อเลปโตสไปร่าจากสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ด้วยกล้อง darkfield หรือตรวจหา leptospira DNA โดยวิธี polymerase chain reaction (PCR)
การวินิจฉัยโรค
- ประวัติ อาชีพ สัมผัสสัตว์หรือปัสสาวะของสัตว์ หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อเลปโตสไปร่า
- การวินิจฉัยทางคลีนิค แบ่งเป็น
- ผู้ป่วยที่สงสัยทางคลีนิค (possible case or suspected case)
- ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันการเป็นโรค (confirmed case
โรคฉี่หนู | อาการโรคฉี่หนู | การวินิจฉัยโรคฉี่หนู | การรักษาโรคฉี่หนู