การวินิจฉัยไข้หวัดมรณะ SARS
เท่าที่มีหลักฐานในขณะนี้แพทย์เชื่อว่าโรคไข้หวัดมรณะจะเกิดจากเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า SARS-associated
coronavirus (SARS-CoV). เมื่อแพทย์ได้รับตัวผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดมรณะ [Suspected case] แพทย์ก็จะทำการตรวจวินิจฉัยให้เร็วเพื่อการรักษาและการป้องกันการติดต่อสู่ผู้อื่น
ในการส่งเลือดหรือสารคัดหลั่งจะต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
และจะต้องติดป้ายให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ป่วยที่สงสัยจะเป็นไข้หวัดมรณะ
- Antibody testsการตรวจทางภูมิคุ้มกัน โดยใช้วิธี enzyme
immunoassay (EIA) และ indirect fluorescent-antibody (IFA) หากให้ผลบวกแสดงว่าเคยติดเชื้อมาก่อน
แต่บางคนจะให้ผลบวกเมื่อติดเชื้อและเกิดอาการไปแล้ว 20 วัน หากเจาะเลือดเมื่อเกิน
21 วันหลังเกิดอาการและให้ผลลบ แสดงว่าผู้นั้นมิได้เป็นโรค SARS การตรวจ Immunoflorescence Assays (detecting
Immunoglobulin M) จะตรวจพบภูมิหลังจากเกิดอาการแล้ว 10 วัน
- การตรวจ Reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR) เป็นการตรวจหา RNA ในเสมะ อุจาระ และน้ำอสุจิ
- นำเสมหะหรือสารคัดหลั่งไปเพาะเชื้อCell culture
และย้อมสี
- ตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่องกล้องตรวจ
- การตรวจทางกล้อง electron microscope
- การตรวจทาง DNA
- การเพาะเชื้อไวรัส
- X-ray ปอด
- วัดความเข้มข้นของOxygen [pulse oximetry]
- เจาะเลือดเพาะนำเลือดไปเพาะหาเชื้อโรค[Blood culture]
- ตรวจหาสาเหตุอื่นเช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
แพทย์ บุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดจะต้องป้องกันการติดเชื้อโดยปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ผู้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นโรคSARS แต่การตรวจเลือดให้ผลลบเนื่องจาก
- ผู้ป่วยอาจจะไม่โรค SARS แต่อาจจะเกิดจากเชื้อไวรัวตัวอื่น
- การตรวจเลือดอาจจะยังไวไม่พอ
- การเก็บเลือดหรือสิ่งที่จะส่งตรวจยังเก็บไม่ถูกเวลา ไม่ถูกวิธี
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคSARS
เกณฑ์ทางคลินิก Clinical criterior
- ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย Asymptomatic or mild respiratory illness
- มีอาการทางเดินหายใจปานกลาง Moderate respiratory illness
- ไข้มากกว่า 3องศา
- มีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ขาดออกซิเจน (One or more clinical findings of respiratory illness (e.g., cough, shortness
of breath, difficulty breathing, or hypoxia)
- มีอาการทางเดินหายใจมาก
- ไข้มากกว่า 38 องศา
- มีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ขาดออกซิเจน
- X-RAY พบว่ามีปอดบวม
- เกิดอาการหายใจไม่ออกเนื่องจากน้ำท่วมปอด respiratory distress syndrome
- ผ่าศพพิสูจณ์แล้วไม่พบสาเหตุของเชื้อปอดบวม
เกณฑ์ทางระบาดวิทยา
- เคยไปประเทศที่มีการระบาดก่อนเกิดอาการ 10 วัน
- สัมผัสใกล้ชิดกับคนที่สงสัยว่าว่าจะเป็นโรค SARS
เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการณ์
- ให้ผลบวก
- พบภูมิคุ้มกันของเชื้อในขณะเจ็บป่วยหรือหลังจากมีอาการแล้ว 20 วัน
- การตรวจ RT-PCR ให้ผลบวก
- การเพาะเชื้อให้ผลบวกต่อ SARS-CoV
- ให้ผลลบ
- ตรวจไม่พบภูมิหลังจากเกิดอาการไปแล้ว 21 วัน
- ไม่ยืนยัน
- ไม่ได้ส่งตรวจ หรือส่งตรวจแต่ไม่ครบถ้วน
การวินิจฉัย
Propable
case ผู้ป่วยจะมีเกณฑ์ทางคลินิกตั้งอาการเป็นมากโดยที่ตรวจไม่พบเชื้อหรือสาเหตุ
และได้มีประวัติสัมผัสกับโรคโดยที่เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการณ์ให้ผลบวก หรือให้ผลลบ
หรือไม่ยืนยัน
Suspectedcase ผู้ป่วยมีเกณฑ์ทางคลินิกมีอาการทางเดินหายใจปานกลาง
ได้มีประวัติสัมผัสโรค ผลทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวก ลบ หรือไม่ยืนยัน