เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจะป้องกันตัวเองอย่างไร
จากข้อมูลพบว่าการระบาดของไข้หวัดมรณะ ในช่วงแรกจะระบาดในกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากท่านเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เช่นแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล คนงา เป็นต้นจะต้องป้องตนเองดังนี้
-
การล้างมือ
- ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย
- ล้างมือเมื่อสัมผัสสารคัดหลั่งเช่น น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยทันที แม้ว่าจะสวมถุงมือ โดยถอดถุงมือแล้วล้างมือทันที
- การล้างมืออาจจะล้างก่อนสัมผัสอวัยวะอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อสู่อวัยวะอื่น
- การล้างมือให้ใช้สบู่ธรรมดา
- จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น
-
การใส่ถุงมือ
- ให้สวมถุงมือก่อนที่จะสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำลาย เสมหะ
- ใส่ถุงมือเมื่อต้องสัมผัสเยื่อเมือก[mucosa] และผิวหนังที่มีแผลหรืออักเสบ
- เปลี่ยนถุงมือเมื่อต้องสัมผัสส่วนอื่นของร่างกาย
- เปลี่ยนถุงมือเมื่อตรวจผู้ป่วยคนใหม่
- ให้ล้างมือทันทีหลังถอดถุงมือ
-
ให้สวมหน้ากาก เครื่องป้องกันตา และหน้า ( Mask, Eye Protection, Face Shield)
เมื่อต้องเข้าไปดูแลผู้ที่เป็นโรคติดต่อต้องสวมอุปกรณ์ดังกล่าว
-
การใส่เสื้อคลุม Gown
สวมเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่เข้าดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพื่อป้องกัน น้ำลาย เสมหะที่จะมาติดเสื้อผ้า หลังออกจากห้องให้ถอดเสื้อ ถุงมือทันทีและให้ล้างมือหรืออาบน้ำและสระผม
-
เครื่องใช้ผู้ป่วย Patient-Care Equipment
ควรจะใช้อุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย และต้องตรวจสอบว่าได้มีการทำลายอุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม หากอุปกรณ์นั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่จะต้องทำความสะอาดก่อน
-
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental Control
โรงพยาบาลต้องมีระบบทำความสะอาดพื้น ผ้า
รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆเพื่อให้ปราศจากเชื้อโรค
-
ระบบทำความสะอาดผ้า Linen
จะต้องมีระบบการทำความสะอาด การนำสงผ้าที่ปนเปื้อน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- การป้องกันของมีคมบาดมือ
- ป้องกันการได้รับอุบัติเหตุขณะใช้เครื่องมือ ของมีคมขณะใช้งาน ทำความสะอาด หรือการทำลาย
- มีอุปกรณ์สำหรับช่วยชีวิต
- สถานที่ให้ผู้ป่วยนอน Patient Placement ถ้าหากไม่เป็นโรคติดต่อก็ไม่ต้องนอนห้องแยก
สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยวาจะมีการแพร่เชื้อทางอากาศ Airborne Precautions
ขนาดเล็กกว่า 5ไมครอนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นแล้วยังต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
- สถานที่ให้ผู้ป่วยนอน Patient Placement
- ผู้ป่วยต้องนอนห้องแยกจากผู้อื่น
- ห้องนั้นจะต้องมีความดันในห้องต่ำกว่าภายนอน ลมจากภายนอกจะผ่านเข้าห้องผู้ป่วย
- ต้องมีระบบระบายอากาศที่ดี หรือมีเครื่องกรองก่อนที่อากาศจะออกสู่ภายนอก
- ประตูห้องต้องปิดอยู่เสมอ
- ต้องสวมหน้ากากชนิด N95 เป็นอย่างน้อยเมื่อเวลาเข้าห้องผู้ป่วย
- การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากไม่จำเป็นไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากต้องเคลื่อนย้ายให้ใส่หน้ากากให้กับผู้ป่วย
หากกระติดเชื้อผ่านทางเสมหะ Droplet Precautions เช่นการจามหรือไอ
เชื้อจะไปกับเสมหะที่มีขนาดมากกว่า 5 ไมครอน
- ให้นอนห้องแยก หากไม่มีห้องแยกให้นอนเตียงแยกจากผู้อื่น 3 ฟุตคนเยี่ยมก็ให้ห่าง 3 ฟุตไม่ควรเข้าใกล้กว่านั้น
- ให้สวมหน้ากากเมื่อต้องเข้าใกล้กว่า 3 ฟุต
- การให้ออกซิเจน ยาพ่นขยายหลอดลม การไอเพื่อตรวจเสมหะ การดูดเสมหะ เหล่าจะทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค ดังนั้นจะต้องให้แน่ใจว่าไม่ใช่ไข้หวัดมรณะจึงจะให้ยาขยายหลอดลม
การเฝ้าระวังการติดเชื้อ
เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อมักจะเกิดจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปสู่บุคคลอื่น การเฝ้าระวังเจ้าหน้าที่จึงมีส่วนสำคัญในการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ต้องมีสมุดบันทึกชื่อบุคคลากรทั้งหมดที่ดูแลผู้ป่วย
- ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ หากสัมผัสผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองต้องแจ้งหน่วยงาน หรือหน่วยควบคุมโรคติดต่อ หรือหากมีอาการไข้ต้องรีบแจ้งหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อทันที
- เฝ้าติดตามการเกิดโรคของเจ้าหน้าที่
การดูแลเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วยโรค Sars แต่ยังไม่มีอาการ
- จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่พบว่าคนที่ไม่มีอาการจะไม่แพร่เชื้อแต่สำหรับคนที่เริ่มมีอาการ หรืออาการไม่มากสามารถแพร่เชื้อสู่เพื่อนร่วมงานได้ เพื่อเป็นการป้องกันแพร่เชื้อจึงมีคำแนะนำว่า ผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยโรค SARSและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้หยุดงานเป็นเวลา 10 วันและให้อยู่แต่ในบ้าน การสัมผัสดังกล่าวได้แก่ การอยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยโดยที่ไม่มีการป้องกันและได้มีการกระทำสิ่งต่อไปนี้ การพ่นยาขยายหลอดลม การใช้เครื่องช่วยหายใจ การส่องกล้องหลอดลม การไอเพื่อเก็บเสมหะ การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ การไอหรือจามใส่กัน
- สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้ป้องกัน และไม่ได้อยู่ในสภาวะดังกล่าวก็ไม่ต้องหยุดงานแต่ให้วัดไข้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วันหลังจากสัมผัสครั้งสุดท้า
การดูแลเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วยและมีอาการไข้
- ผู้ที่ดูและผู้ป่วยและเกิดไข้ภายใน 10 วันต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมการติดเชื้อทันที และไม่ต้องทำงาน หากเกิดในที่ทำงานต้องรีบสวมหน้ากากอนามัยและไปห้องแยกติดเชื้อทันที่ และต้องสอบสวนว่าได้ไปสัมผัสใครบ้างเพื่อจะได้ควบคุมโรคมิให้แพร่กระจาย
- หากไข้ลงใน 3 วันก็กลับเข้าทำงานได้ตามปกติ
- หากผู้ป่วยมีไข้และไอ เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าอาจจะเป็นโรค SARS ต้องหยุดงานต่ออีก 10 วันหลังจากไข้ลดแม้ว่าอาการไอจะไม่มีแล้วก็ตาม
- หากไข้ไม่ลงและยังไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นSARS ให้เฝ้าระวังเรื่องโรคSARSเพิ่มอีก 3 วันหากอาการเข้าได้กับSARS ก็ให้การดูแลแบบโรค SARS หากยังไม้เข้าเกณฑ์ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอีกครั้ง
- ผู้ที่มีอาการเข้าได้กับ SARS หรือผู้ที่มีไข้เกิน 10 วันและอาการไอยังไม่หายต้องได้รับการตรวจเลือดหาภูมิต่อโรค SARS