อัณฑะอักเสบ ท่อนำเชื้ออักเสบ Epididymitis
หรือจะเรียกว่าอัณฑะอักเสบก็ได้
สาเหตุสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์คือเชื้อ C. trachomatis หรือ N. gonorrhoeae
แต่อาจจะเกิดจากเชื้ออื่นก็ได้ในกรณีที่ร่วมเพศทางทวารหนัก ทั้งหมดเกิดการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
และอาจจะมีท่อปัสสาวะอักเสบซึ่งอาการน้อยจนไม่ทันสังเกต นอกจากนั้นอัณฑะอักเสบอาจจะเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
หรือการสวนท่อปัสสาวะ
อาการของอัณฑะอักเสบเฉียบพลัน
- อาการปวดอัณฑะแบบค่อยๆปวด และมีอาการบวมอัณฑะก่อนมาโรงพยาบาลหลายวัน
- อัณฑะมักจะบวมข้างหนึ่ง คลิกดูรูปภาพ
- มีอาการปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย
- ไข้หนาวสั่นมักจะพบในเด็ก ส่วนผู้ใหญ่พบได้ประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วย
- ไม่ค่อยมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
- อาจจะมีอาการของท่อปัสสาวะอักเสบก่อนการปวดอัณฑะ
สำหรับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้อาจจะเป็นโรคอัณฑะอักเสบเรื้อรัง
- มีอาการเป็นๆหายๆมากกว่า 6 สัปดาห์
- อัณฑะอาจจะบวมไม่มากจะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง
อาการอัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม
- ไข้ ปวดตามตัว
- มักจะมีต่อมน้ำลายหรือคางทูมนำมาก่อน
การตรวจร่างกาย
- เริ่มต้นจะกดเจ็บบริเวณท่อน้ำเชื้อ ต่อมาจะลามทั่วอัณฑะ
- อัณฑะจะยกสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง
- ผิวอัณฑะจะอักเสบ และแดง
การวินิจฉัย
- เนื่องมีอาการปวดมากต้องแยกภาวะที่ต้องผ่าตัด
เช่น Testicular torsion
- นำหนองหรือน้ำจากท่อปัสสาวะไปย้อม
หากพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 5 เซลล์แสดงว่าเป็นท่อปัสสาวะอักเสบ
- การเพาะเชื้อซึ่งต้องใช้เวลานาน
- การตรวจปัสสาวะครั้งแรกหลังตื่นนอนจะพบเม็ดเลือดขาว
การรักษาอัณฑะอักเสบ
- ยาที่แนะนำคือ Ceftriaxone
250 mg ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียวร่วมกับ Doxycycline 100 mg รับประทานวันละ
2 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
- หรืออาจจะใช้ยา Ofloxacin 300 mg รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วันหรือ Levofloxacin 500
mgรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 10 วัน
- หาก 3 วันหลังรักษาแล้วยังไม่ดีต้องมาประเมินใหม่
- สำหรับคู่ขาต้องไปตรวจว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่
การรักษาอื่นๆ
- ช่วงที่มีการอักเสบให้งดการออกกำลังกาย
- การใส่ support
- ประคบเย็น
- ยาลดการอักเสบ ยาแก้ปวด
- ละเว้นการใส่สายสวน