การดูแลรักษาโรคลมพิษ

Management

เมื่อเกิดลมพิษจะต้องประเมินว่าเป็นลมพิษธรรมดาหรือลมพิษที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น angioedema หรือเป็นลมพิษแบบรุนแรง ผู้ที่เป็นลมพิษแบบธรรมดาอาจจะมีการดำเนินของโรคเร็วจนเกิดเป็นลมพิษชนิดรุนแรงได้ สำหรับท่านที่มีอาการแพ้ชนิดรุนแรงท่านอาจจะเตรียมยาฉีดพร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการฉีดยา เพราะอาการแพ้ชนิดรุนแรงหากเกิดแล้วการดำเนินของโรคเร็วมากท่านอาจจะไปโรงพยาบาลไม่ทันการ

การรักษา,มพิษที่มีอาการรุนแรง

  • หากเกิดลมพิษชนิดรุนแรงจะต้องให้ยา epinephrine ฉีดเข้ากล้ามขนาด 0.3-0.5 mg
  • หากมี angioedema หนังตาบวม ริมฝีปากบวมและหายใจเสียงดังจะต้องให้ยาพ่นขยายหลอดลม

ยาฉีดรักษาลมพิษชนิดรุนแรง

การรักษาอื่นๆ

การรักษา

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้หรือสงสัยว่าจะแพ้
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่นภาวะเครียด การดื่มสุรา
  • ผู้ที่เป็นลมพิษเรื้อรังให้หลีกเลี่ยงการรับประทานยา aspirin ยาลดความดันกลุ่ม ACEi

การรักษาลมพิษเฉียบพลันด้วยยา

การรักษาโรคลมพิษจะเน้นที่รักษาอาการ ยาที่ใช้รักษาได้แก่ ยาแก้แพ้ Antihistamines

  • จะให้ยา H1-antihistamines โดยเฉพาะยาที่ทำให้ง่วงซึมน้อยได้แก่ยา ได้แก่ยา fexofenadine, loratadine, desloratadine, cetirizine, levocetirizine หากยังมีอาการก็สามารถเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า โดยที่ไม่เกิดผลข้างเคียงของยา หากยังไม่สามารคุมอาการได้อาจจะเพิ่มยาแก้แพ้อีกกลุ่มเช่น chlorpheniramine 4 mg วันละ 4 ครั้ง, diphenhydramine 50 mgวันละ 4 ครั้ง hydroxyzine 25 mgวันละ 2 ครั้ง
  • หากให้ยาในกลุ่มแรกไม่ได้ผล ให้ยากลุ่ม H2-antihistamine ได้แก่ยา cimetidine, famotidine, ranitidine ซึ่งอาจจะได้ผลในบางราย การใช้ยา H1-antihistamine และ H2 antihistamines จะเสริมฤทธิ์ทำให้ผื่นหายเร็วขึ้น เชื่อว่ายา Cimetidine จะเพิ่มปริมาณยา H1-antihistamine ในเลือด
  • ยากลุ่มต่อไปคือTricyclic antidepressant เช่น Doxepin ซึ่งจะ blocks ทั้ง H1 และ H2 receptors ซึ่งอาจจะได้ผลกับผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา ขนาดยาที่ให้ 25-50 mgก่อนนอนหรือ 10-25 mg วันละ3-4 ครั้ง
  • หากไม่ได้ผลก็ให้ยา steroid Glucocorticoids ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นลมพิษเฉียบพลันโดยให้ขนาดวันละ 40-60 มิลิกรัมต่อวันเป็นเวลาห้าวัน ยานี้ไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นลมพิษเรื้อรัง
  • ยา Omalizumab (Xolair) ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาโรคลมพิษเรื้อรังตั้งแต่ปี 2014 สำหรับใช้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 12 ปีที่ยังมีอาการหลังจากใช้ยาแก้แพ้ ยานี้ฉีดเดือนละครั้ง

การรักษาลมพิษเรื้อรัง

การรักษาโรคลมพิษเรื้อรังจะเน้นการควบคุมอาการมิให้กำเริบ แบะการหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้โรคลมพิษกำเริบ แต่หากมีอาการบวมริมฝีปาก หรือหายใจเสียงดังจะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษา ยาที่ใช้รักษาได้แก่

  • ยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamines
  • Menthol cream จะช่วยลดอาการคัน
  • ยา Steroid ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้รักษาโรคลมพิษเรื้อรังเนื่องจากการใช้เป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียง ควรจะใช้ระยะสั้นเมื่อโรคกำเริบและมีอาการรุนแรงหรือใช้ยาอื่นไม่ได้ผล การใช้ยาขนาดสูงเป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงเช่น ความดันโลหิตสูง ต้อหิน ต้อกระจก เบาหวาน
  • ยากลุ่ม H2 antihistamines ยานี้อาจจะได้ผลกับผู้ป่วยบางาย
  • ยากลุ่ม Leukotriene receptor antagonists จะลดอาการบวมคันได้ สามารถใช้รักษาระยะยาวได้เนื่องจากผลข้างเคียงของยาไม่มาก
  • Ciclosporin ยานี้จะกดภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีผลข้างเคียงของยามาก การใช้ยา Ciclosporin ระยะยาวต้องปรึกษาแพทย์ถุงความจำเป็น ผลดี ผลเสีย ความคุ้มค่า ผลข้างเคียงของยาได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคไต ปวดศีรษะ มือสั่น ติดเชื้อได้ง่าย
  • Omaluzimab เป็นยาฉีดเพื่อลดภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดลมพิษ

 

ยารักษาโรคลมพิษ

ยาแก้แพ้กลุ่ม H1-receptor antagonist antihistamines

ยากลุ่มนี้จะกลั้นฮีสตามินที่ปลายประสาทโดยป้องกันฮีสตามินจับกับ receptor ซึ่งจะป้องกันลมพิษ ยากลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือขับขี่รถยนต์ เรือ เครื่องบิน และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยากดประสาทชนิดอื่นๆเช่น ยานอนหลับ, ยาคลายเครียด, ยากล่อมประสาท, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) นอกจากนั้นยาชนิดนี้จะมีฤทธิ์ต้านระบบประสาทชนิดโคลเนอร์จิก (anticholinergic) ด้วย ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง เสมหะและน้ำมูกเหนียวข้น ท้องผูก ปัสสาวะขัดในผู้ชาย ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคหืด โดยเฉพาะขณะหอบ, โรคต้อหิน และโรคต่อมลูกหมากโตแบ่งออกเป็นสามรุ่น

1.1) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่หนึ่ง ( First generation antihistamine)

  • Hydroxyzine hydrochloride เป็นยาแก้แพ้อากาศ รักษาลมพิษโดยการจับกับตัวรับฮีสตามิน ใช้รักษาโรคภูมิแพ้และลมพิษ ขนาดยาที่ใช้ 25 mg วันละ 3-4 ครั้ง
  • Diphenhydramine ยาแก้แพ้ Diphenhydramine เป็นยาต้ามฮิสตามิน antihistamin ใช้ในการรักษาอาการจาม น้ำมูกไหล คัน น้ำตาไหลผื่นลมพิษ และอาการอื่นที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ หรือไข้หวัด นอกจากนั้นยังใช้รักษาอาการไอ เมารถ ใช้เป็นยานอนหลับ ยานี้มีขายในรูปแคปซูลขนาด 25 มก. โดยปกติรับประทานครั้งละหนึ่ง – สองเม็ด วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน หรือทุก 6 ชั่วโมง
  • Cyproheptadine เป็นยาแก้แพ้ลดอาการคันจากภูมิแพ้ขนาดยาที่ใช้รักษา ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 4 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ขนาดยาในระยะรักษา 4-20 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถให้ยาได้ถึง 32 มิลลิกรัมต่อวัน

1.2) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง (second generation antihistamine)

เป็นการพัฒนายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก เช่น loratadine พัฒนามาจาก cyproheptadine cetirizine พัฒนามาจาก hydroxyzine

ยากลุ่มนี้มีข้อดีกว่า ยาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ และออกฤทธิ์ได้นาน เพราะจับกับตัวรับฮิสทามีนได้แน่นและนานขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงเหมือน

  • Cetirizine (Zyrtec) เป็นยาแก้แพ้ที่ออกฤทธิ์ที่ H1-Receptor ยานี้เป็นยาต้านฮิสตามีนใช้รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล เยื่อบุตาอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ อาการคันและลมพิษ ผู้ใหญ่และเด็กมากว่า 12 ปีให้ขนาด 5-10 มิลิกรัม วันละครั้ง
  • Loratadine (Claritin, Alavert) เป็นยาแก้แพ้ที่ออกฤทธิ์เป็นเวลานาน มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ออกฤทธิ์โดยการจับกับ H1-receptor ยานี้รับประทานเพียงวันละครั้ง โดยรับประทานขณะท้องว่างคือก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ขนาดใช้ยาสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด( 10 มิลิกรัม) หรือ 2 ช้อนชา วันละครั้ง

1.3) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สาม (third generation antihistamine) เป็นยาต้านฮิสทามีนรุ่นใหม่ซึ่งพัฒนามาจากยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สองเช่น

  • Levocetirizine (Xyzal) พัฒนามาจาก cetirizine ยานี้เป็นยาต้านฮิสตามินใช้รักษาโรคโรคเยื่อจมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ อาการคัน และอาการลมพิษ ขนาดยาที่ใช้รักษา สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 12 ปี ให้ขนาด 5 มก(1 เม็ด)หรือ 2 ช้อนชา วันละครั้งตอนเย็น
  • Fexofenadine (Allegra) พัฒนามาจาก terfenadine ออกฤทธิ์โดยการจับที่ H1-receptor ข้อบ่งชี้ในการใช้ บรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ Seasonal allergic rhinitis เช่นคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา บรรเทาอาการลมพิษ urticaria ขนาดวิธีใช้ ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีให้ขนาด 60 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง
  • Desloratadine (Clarinex) พัฒนามาจาก loratadine ยานี้ออกฤทธิ์นาน ยากลุ่มนี้มีข้อดีกว่า ยาต้านฮิสทามีนกลุ่มอื่นๆคือ
    - มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี
    - ตัวยาเป็นตัวที่สามารถออกฤทธิ์ (active metabolite) ได้เลย ดังนั้นจึงไม่รบกวนการทำงานของตับ
    - ยาออกฤทธิ์ได้นาน เพราะจับกับตัวรับฮิสทามีนได้แน่น และนานขึ้น จึงใช้เพียงวันละครั้ง
    - เจาะจงเฉพาะกับตัวรับฮิสทามีน ชนิด H 1 (histamine H1 receptor) เท่านั้น จึงใช้ปริมาณยาน้อยลง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง หรือสาม มากกว่ายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก สำหรับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ยาต้านฮิสทามีน ได้ผลดีในการบรรเทาอาการที่เกิดจากฮิสทามีนเช่น คัน, จาม, น้ำมูกไหล,คัน เคืองตา แต่ได้ผลน้อยกับอาการคัดจมูก นอกจากนั้น ยาต้านฮิสทามีนยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูก อักเสบภูมิแพ้ดีขึ้นด้วย การใช้ยาต้านฮิสทามีนในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กนั้นได้ผลดีและปลอดภัย

H2-receptor antagonists

ยานี้จะจับกับ H2 receptors โดยเฉพาะที่กระเพาะอาหาร ยานี้จะลดอาการบวมจากลมพิษ การให้ยาที่ปิดกั้นทั้ง H1 และ H2 จะได้ผลกับลมพิษที่เกิดเฉียบพลันและลมพิษที่ดื้อต่อยา

ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs)

ยานี้เป็นยารักาาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ทั้งระบบประสาทส่วนกลางและออกฤทธิ์ต่อ H1 และ H2 receptors น้ำมาใช้รักษาโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะโรคลมพิษ

  • Doxepin (Sinequan, Adapin, Zonalon)

ยากลุ่ม Steroid

ยานี้จะลดการอักเสบที่เกิดจากลมพิษมักจะใช้รักษาโรคลมพิษเฉียบพลันที่รุนแรงหรือดื้อต่อยาแก้แพ้ ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องเพราะอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยา

  • Prednisone

ยากลุ่ม Monoclonal Antibody

ยา Monoclonal antibodies จะจับกัฐภูมิ IgE โดยตรงทำให้ไม่เกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ ยานี้จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแก้แพ้แล้วไม่ได้ผล

  • Omalizumab (Xolair)

เพิ่มเพื่อน