โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง Anaphylaxis

Anaphylaxis

เป็นการแพ้ชนิดที่รุนแรงที่สุด หากรักษาไม่ทันก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต สาเหตุที่สำคัญได้แก่อาหาร เช่น ถั่วต่างๆ อาหารทะเล ปลา กุ้ง ไข่ รวมทั้งเหล็กในจากผึ้ง และต่อ มดแดง

กลไกการเกิด เมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ครั้งแรกร่างกายก็จะสร้างภูมิต่อสารนั้นโดยมากเป็นชนิด IgE เมื่อร่างการได้รับสารก่อภูมิแพ้อีกครั้งก็จะเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น

อาการของโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

อาการของแพ้ชนิดนี้จะเกิดอาการทุกระบบโดยเฉพาะผิวหนัง ทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนและหลอดเลือด  ตา คุณควรจะสงสัยหากอาการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นในเวลาเป็นนาที หลังจากที่คุณได้รับสารก่อภูมิแพ้

  •  อาการเริ่มต้นจะมีบวมและคันบริเวณที่ได้รับสารภูมิแพ้ เช่น หากได้รับอาหารที่แพ้ จะมีอาการ บวม คันปากและคอมีอากาปวดท้องและถ่ายเหลว
  • แพ้รุนแรง

  • ถ้าเกิดจากแมลงกัดต่อยก็จะมีอาการบวมและคันบริเวณที่ถูกกัด
  • มีผื่นลมพิษลามทั่วตัวโดยอาจจะเริ่มที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ศีรษะ ผื่นจะลามทั้งตัวและคัน หนังตา รอบปากจะบวม ผิวหนังจะแดง บางคนอาจจะมีหนังตาบวม ปากบวม
  • รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ เสียงแหบเนื่องจากกล่องเสียงและสายเสียงบวม laryngeal edema
  • หลอดลมตีบทำให้หายใจลำบาก ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย
  • ความดันโลหิตต่ำ หน้ามือเป็นลม และในที่สุดผู้ป่วยจะหมดสติภายในไม่กี่นาที
  • อ่อนเพลีย ชีพขจรเร็ว

 

อาการอื่นๆที่อาจจะพบในผู้ป่วยที่แพ้

ลมพิษ

  • อาการทางระบบหัวใจได้แก่ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • อาการระบบทางอาหาร แน่ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • อาการระบบทางเดินหายใจ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หายใจเสียงดังพูดลำบาก กลืนลำบาก
  • อาการทางปอด ไอ แน่หน้าอก หายใจมีเสียงหวีด
  • อาการทางผิวหนัง ลมพิษ หนังตา ปากจะบวม

ถ้าหากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ชนิดรุนแรง คุณจะต้องเตรียมพร้อมยาที่จำเป็นและวิธีป้องกัน

สารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

สารที่สามารถทำให้เกิดแพ้ชนิดนี้ได้แก่

  1. ยาได้แก่ยา penicillin sulfonamide ยาสลบ insulin
  2. วัคซีนโดยเฉพาะผู้ที่แพ้ไข่ขาว หรืออาจจะแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
  3. ยาง
  4. เลือดและส่วนประกอบของเลือด
  5. แมลงกัดต่อย เช่นผึ้ง ต่อ มดแดง
  6. สารจากอาหารก่อให้เกิดภูมิชนิดนี้บ่อยที่สุด ได้แก่ นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ปลา
  7. สารถนอมอาหาร เช่น sulfite ที่มีในอาหารมักดอง สุรา มันฝรั่ง
  8. การออกกำลังกาย

ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับสารภูมิแพ้จนกระทั่งเกิดอาการกินเวลาไม่กี่นาที แต่บางคนอาจจะเกิดอาการหลังได้สารนั้น 2-3 ชั่วโมง

การตรวจร่างกายโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

ทำได้ไม่ยากเพราะจะตรวจพบลักษณะดังต่อไปนี้

  • ผื่นแดงทั่วตัว
  • มีลมพิษ
  • ริมฝีปาก ลิ้น หนังตาบวม
  • หายใจมีเสียง wheeze
  • ริมฝีปากและลิ้นจะเขียว
  • ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง 

ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาที่เร็วมิเช่นนั้นอาจจะช็อกหมดสติและเสียชีวิต การรักษาเบื้องต้นจะให้ยาชื่อ adrenaline ซึ่งจะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนั้นก็ต้องนอนโรงพยาบาลสักระยะหนึ่งเพื่อสังเกตอาการและได้รับชนิดอื่น เช่นยาแก้แพ้ ถ้าหากท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ขนิดนี้ลองปรึกษาแพทย์ว่าจะเตรียมยาฉีดไว้ที่บ้าน>

การดูแลเบื้องต้น

  • ถ้าหายใจลำบากและรู้ตัวดีก็ให้นั่ง แต่ถ้าความดันต่ำก็ให้นอนราบยกเท้าสูง
  • ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวต้องระวังเรื่องทางเดินหายใจอย่าให้มีเศษอาหารหรือเสมหะอุด ต้องนอนตะแคงหันหน้าไปด้านข้าง
  • ห้ามให้น้ำหรืออาหารแก่ผู้ป่วย
  • ถ้ารู้ว่าผู้ป่วยได้รับสารที่แพ้แน่นอน และหากมียา adrenaline ที่บ้านก็ช่วยผู้ป่วยฉีดยาเข้าที่กล้าม
  • เรียกรถพยาบาลฉุกเฉินหรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

การรักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

  • ต้องหยุดสารที่สงสัยทันที
  • ให้นอนยกเท้าสูง
  • วัดสัญญาณชีพบ่อยๆ
  • ให้ adrenalin ผู้ใหญ่ให้ 0.3-0.5 ซซ 1:1000 เข้ากล้าม ให้ซ้ำได้ทุก 10-15 นาที หากถูกแมลงต่อยหรือจากการฉีดยา ให้ฉีดยาปริมาณครึ่งหนึ่งรอบรอยฉีดยาหรือบริเวณที่ถูกกัด อีกครึ่งให้ฉีดเข้ากล้าม
  • ตรวจทางเดินหายใจให้โล่ง นำฟันปลอมออก
  • ให้ออกซิเจน 8-10 ลิตร
  • ให้ยาแก้แพ้คือ diphenhydramine 25-50 มก.
  • หากความดันต่ำก็ให้น้ำเกลือ
  • หากมีอาการเกร็งของหลอดลมก็ให้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น

สิ่งที่ผู้ป่วยควรรู้

  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการแพ้ชนิดนี้รวมทั้งครอบครัวจะต้องมีแผนการรักษาเบื้องต้นไว้ และหากมีการฝึกซ้อมจะทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย(เมืองนอกจะมียา adrenalin เป็นชุดสำหรับผู้ที่แพ้ง่าย)
  • ผู้ป่วยและญาติจะต้องรู้ถึงอากาเบื้องต้นของโรค
  • ผู้ป่วยและญาติต้องรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งการฉีดยา adrenalin
  • ผู้ป่วยและญาติต้องรู้ว่าหากแพ้ยาชนิดหนึ่ง ไม่ควรรับยาชนิดอื่นที่อาจจะแพ้ได้ เช่นหากแพ้ penicillin ก็ไม่ควรจะรับประทาน cloxacillin amoxillin เป็นต้น

การป้องกัน

Tip

  • ถ้าท่านแพ้อาหารหรือสารใดท่านจะแพ้ตลอดชีวิต
  • อย่าได้ทดลองอาหารที่แพ้ เพราะไม่ได้รับมานาน เพราะอาจจะทำให้ท่านเสียชีวิต
  • ให้ตรวจส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูปทุกครั้ง เพราะอาจจะมีส่วนประกอบอาหารที่ท่านแพ้
  • ระวังชื่ออาหารอาจจะมีชื่อเรียกได้หลายชื่อ
  • ถ้าหากแพ้บ่อย และรุนแรงต้องมียา adrenalin เตรียมไว้
  • หลีกเลี่ยงการฉีดยา ให้ใช้รับประทานจะดีกว่า
  • หลังการฉีดยา ต้องอยู่ดูอาการสัก 20-30 นาที
  • พกยาไว้กับตัวตลอดเวลา
  • ต้องบอกให้เพื่อที่ทำงาน เพื่อนบ้าน ทราบว่าท่านแพ้อะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร
  • ยาที่เก็บไว้สามารถใช้ได้ง่าย และตรวจวันหมดอายุ
  • ควรจะติดคำแนะนำวิธีช่วยเหลือไว้กับสร้อยคอ
  • ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
  • หากท่านแพ้ยาต้องแจ้งแก่แพทย์ทุกครั้ง หรือทำป้ายติดไว้กับสร้อยคอ
  • หากท่านแพ้แมลงกัดต่อย ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ให้ใส่เสื้อแขนยาว

อาการเบื้องต้นของการเกิด anaphylaxis

  • อ่อนเพลีย
  • ตัวอุ่น
  • คันตามตัว
  • ผิวมีสีแดง
  • เกิดลมพิษ
  • หายใจเสียงหวีด

หากไม่รีบให้การรักษาโรคอาจจะมีอาการรุนแรงขึ้น

  • หนังตาริมฝีปากจะบวม
  • มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • กล่องเสียงบวมทำให้พูดไม่มีเสียงและหายใจลำบาก
  • ความดันโลหิตต่ำ

ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดอาการขณะออกกำลังกาย

  • การรับประทานอาหาร พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดอาการหลังรับประทานอาหารแล้วไปออกกำลังกาย แนะนำให้รับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงแล้วจึงไปออกกำลังกาย
  • มักจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว

คำแนะนำ

  • ให้หยุดออกกำลังทันทีที่เริ่มเกิดอาการ
  • พกยา adrenalin ไปด้วยทุกครั้ง
  • ไม่ควรออกกำลังกายคนเดียว
  • ควรจะมีป้ายแขวนติดคอว่าเป็นโรคอะไร และปฏิบัติอย่างไร