ยารักษาโรคกระเพาะ Ranitidine

เป็นผลสีเหลืองมีชื่อว่า Ranidine hydrochloride น้ำหนัก 168 มิลิกรัมจะเท่ากับ Ranidine 150 มิลิกรัม ยาตัวนี้ออกฤทธิ์โดยการกั้นที่ Histamune 2 receptor {H2-antagonist}มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาดังนี้

  1. ใช้ในการรักษาแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น doudenum โดยใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ อาจจะให้ร่วมกับยากระเพาะชนิดอื่นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  2. ใช้รักษาต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของแผลในกระเพาะอาหาร gastric ulcer แผลลำไส้เล็กส่วนต้น duodenum ulcer
  3. ใช้ในภาวะที่มีการหลั่งของกรดมากเช่น Zollinger=Ellison syndrome

ขนาดยาและวิธีการใช้ยา

ยานี้มักจะให้รับประทานวันละครั้ง หรือวันละ 2-4 ครั้งตามดุลพินิจแพทย์ ยานี้จะรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ หากใช้ป้องกันอาการแน่นท้องที่เกิดจากกรดไหลย้อนก็ให้รับประทานยา 30 ถึง 60 นาทีก่อนที่จะดื่มหรือรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง

อาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทอาจจะทำให้อาการมากขึ้นซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ peppermint, มะเขือเทศ โชคโคแลต chocolate อาหารเผ็ด ของร้อน กาแฟ สุรา

ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดธรรมดาและยาเม็ดฟองฟู่ขนาด 150 และ 300 มก. ยาน้ำเชื่อมความแรง 150 มก./10 มล. และยาฉีดความแรง 50 มก./2 มล หากท่านซื้อยารับประทานเองก็ไม่ควรรับประทานยาเกิน 2 สัปดาห์ หากไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์

  • แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ขนาดใช้ยาปกติคือ 150 มก. วันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้าและเย็น หรือให้ 300 มก.ก่อนนอน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ แล้วลดขนาดยาเหลือเป็น 150 มก. วันละครั้งก่อนนอน 2-4 สัปดาห์
  • ภาวะอาหารไม่ย่อยซึ่งมีสาเหตุมาจากกรดเกิน ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 150 มก. นานไม่เกิน 4 สัปดาห์
  • แผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นจะใช้ขนาด 150 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งหรืออาจจะได้รับ 100 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้งก็ได้ผล ผู้ป่วยร้อยละ 37 แผลจะหายหลังการใช้ยา 2 สัปดาห์ หากไม่ได้ส่องกล้องเพื่อตรวจว่าแผลหายหรือไม่แนะนำให้รับประทานยา 4 สัปดาห์ บางรายอาจจะต้องให้ต่อเนื่อง 8 สัปดาห์
  • ในผู้ป่วยที่มีการหลั่งกรดมากต้องให้ยาขนาดมากกว่าปกติคืออาจจะให้ 150 มิลิกรัม วันละ 3 ครั้งบางคนอาจจะต้องให้ถึงวันละ 600-900มิลิกรัม
  • ผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคไตต้องลดขนาดของยาลง เพื่อป้องกันการสะสมของยา
  • สำหรับผู้ที่ได้รับยาลดกรดชนิดน้ำต้องรับประทานห่างกัน 1 ชั่วโมงคือให้รับประทานยา ranidine ทันทีหลังอาหาร อีกหนึ่งชั่วโมงจึงจะรับประทานยาลดกรดชนิดน้ำ เพราะยาลดกรดชนิดน้ำจะลดการดูดซึมของ ranidine

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

จะต้องแจ้งแพทย์เรื่องอะไรบ้างก่อนจะรับประทานยานี้

  • การแพ้ยาโดยเฉพาะยา ranitidine
  • ยาที่ท่านรับประทานทั้งซื้อเอง วิตามิน สมุนไพร และยาที่แพทย์สั่งโดยเฉพาะ warfarin (Coumadin) และ triazolam (Halcion)
  • แจ้งแพทย์หากท่านมีโรคตับ โรคไต porphyria, phenylketonuria
  • แจ้งแพทย์หากท่าวางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังเลี้ยงลูกด้วยนม

ผลข้างเคียงของยา ranitidine

  • ปวดศีรษะ
  • ท้องผูก
  • ท้องร่วง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดจุกแน่ลิ่มปี่

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

ข้อควรระวังหรือข้อห้ามใช้

  • ต้องตรวจให้แนะใจว่าไม่ใช่มะเร็งกระเพาะก่อนจะให้ยา เนื่องจากอาจจะทำให้การรักษาช้า
  • ต้องระวังในหญิงมีครรภ์หรือขณะให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยโรคไตหรือสูงอายุต้องลดขนาดยาลง

ปฏิกิริยาของยาต่อยาชนิดอื่น

  • ยานี้จะยับยั้งการทำลายของยา warfarin theophyllin ethanol ดังนั้นต้องระวังหากจะใช้ร่วมกัน
  • ยานี้จะลดกรดทำให้กระเพาะเป็นรดน้อย อาจจะทำให้การดูดซึมของยาบางชนิดลดลง
  • ยานี้ขับออกทางไต อาจจะทำให้การขับยาบางอย่างลดลง
  • การสูบบุหรี่จะทำให้แผลหายน้อยลง

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ยานี้

  • ควรจะรับประทานยาสม่ำเสมอจนครบ หากลืมให้รับประทานทันที่ที่นึกขึ้นได้
  • ถ้าจะรับประทานยาลดกรดชนิดน้ำให้รับประทานห่างกันหนึ่งชั่วโมง
  • ควรจะรับประทานต่อแม้ว่าจะเริ่มรู้สึกว่าดีขึ้น
  • หากมีไข้เจ็บคอหรือมีผื่นขึ้นต้องแจ้งแพทย์
  • หากมีท้องผูกคลื่นไส้ก็ไม่ต้องหยุดยาเพราะอาการดังกล่าวหายได้เอง

ยาน้ำแก้โรคกระเพาะ | ยาระบาย | ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน | ยา cisapride | ยา hyocyamine | ยาแก้กระเพาะกลุ่ม PPI | ยาขับลม | sucralfate | ranitidine | nizatidine | cimetidine | famotidine | ยาแก้ท้องเสีย | Esomeprazole | lansoprazole | Omeprazole | Misoprostol