a
1 | 2 | 3 | 4 | 5
เข็มขัดนิรภัย
เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต
ร่างกาย
อันตรายที่เกิดกับคนมีตั้งแต่ไม่มากเช่นแผลถลอกจนกระทั้งอวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บ
อาจจะพิการ
การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ
แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
การใช้เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- แรงกระแทกที่เกิดจากรถที่วิ่งเร็ว
60
กิโลเมตรจะเท่ากับรถที่ตกที่สูง
14 เมตรหรือความสูงประมาณตึก
5 ชั้น ตัวรถจะยุบหรือบิดงอ
- คนที่อยู่ในรถถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับรถเมื่อชนและหยุด
ศีรษะ หน้า
ลำตัวของคนในรถจะถูกเหวี่ยงไปกระแทกกับพวงมาลัย
และกระจกหน้ารถอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิต
- อวัยวะในร่างกาย เช่นตับ ไต
ลำไส้
สมองหรือไขสันหลังซึ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในจะเคลื่อนไหวเท่ากับความเร็วของรถ
เมื่อคนในรถหยุด
อวัยวะภายในจะกระแทกกันเอง
ทำให้ตับ ไต
ลำไส้หรือสมองฉีกขาดได้
ใครบ้างที่ควรคาดเข็มขัดนิรภัย
- คนที่ขับรถทุกคน
- ผู้โดยสารทุกคนไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือหลัง
- ผู้โดยสารรถขนาดใหญ่ที่มีเข็มขัดนิรภัยควรต้องคาดเช่นกัน
ประเภทของเข็มขัดนิรภัย
- เข็มขัดนิรภัยที่รัดตรงบริเวณโคนขา
รอบสะโพก (lap belt หรือแบบสองจุด)
พบได้ในเครื่องบิน
สำหรับรถยนต์จะใช้กับที่นั่งตอนหลัง
เข็มขัดชนิดนี้ใช้คาดบริเวณต้นขา
รอบสะโพก
ไม่ควรรัดบริเวณหน้าท้อง
- เข็มขัดที่คาดผ่านบริเวณสะโพกและไหล่
( lap shoulder belt หรือแบบ 3 จุด)คาดบริเวณสะโพก
บริเวณต้นขา
และผ่านเฉียงทางหน้าอกและกระดูกไหปลาร้า
การคาดเข็มขัดนิรภัย