อาหารทะเลดีต่อสุขภาพของท่าน
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีรายงานถึงผลดีของไขมัน omega3 ต่อสุขภาพของคนจึงทำให้หลายประเทศได้แนะนำ ให้ประชาชนหันมาบริโภคเนื้อปลาให้มากขึ้น เพื่อปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทั้งนี้เนื่องจากอาหารทะเลจะมีปริมาณแคลอรี่ต่ำ [calory] ไขมันอิ่มตัวต่ำ (saturated fat ไขมันอิ่มตัวจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง และเกิดโรคหัวใจ) และมีไขมัน omega 3 สูง
อาหารทะเลและโรคหัวใจ
ชาวEskimos และชาวญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดโรคหัวใจ และอัตราการตายจากโรคหัวใจต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก
จากการวิจัยพบว่าผู้ที่รับประทานปลา 2 มื้อต่อสัปดาห์ จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานปลา 42%
นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษาผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และให้รับประทานปลาที่มีไขมันสูง เช่นปลา mackerel, salmon, sardines, และปลา trout โดยให้รับประทาน 2 มื้อต่อสัปดาห์พบว่าจะสามารถลดอัตราการตายลงได้ร้อยละ 37การศึกษานี้ศึกษาในคนอายุมากกว่า 50 ปี แสดงว่าการเริ่มรับประทานอาหารทะเล จะให้ประโยชน์แม้ว่าจะเริ่มขณะอายุมากหรือมีโรคแล้วก็ตาม
หอยแมงภู่ หอยกาบ หรือหอยนางรมเมื่อรับประทานสดหรือไม่สุขจะเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ คนที่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือเด็กไม่ควรรับประทานอาหารทะเลสดๆหรือไม่สุก
การเลือกซื้อและการถนอมอาหารทะเล
- เลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงดี
- ให้เลือกซื้อจากร้านที่อาหารแช่ในตู้เย็นหรือใส่น้ำแข็งแช่เย็น
- หลังจากซื้อแล้วรีบเก็บในตู้เย็นในที่เก็บเนื้อสัตว์
- เพื่อความสดของอาหารให้ใช้ให้หมดใน 3 วัน
- หากซื้ออาหารสดมีชีวิตให้ทิ้งกุ้ง ปูหรือหอยต่างๆเช่นหอยกาบ หอยแมลงภู่ที่ตาย อย่าเก็บในถุงเพราะสัตว์จะหายใจไม่ออก ให้เก็บสัตว์ไว้โดยคลุมด้วยผ้าเปียก เมื่อจะนำมาปรุงตัวที่ตายให้ทิ้ง
- เมื่อจะนำอาหารมาปรุงให้ละลายน้ำแข็งในตู้เย็นหรือให้น้ำเย็นไหลผ่าน ไม่ควรตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง
- การหมักอาหารทะเลให้หมักในตู้เย็น และน้ำหมักให้เททิ้ง
- อย่าให้อาหารทะเลที่ปรุงแล้วมาปนเปื้อนกับอาหารที่ยังไม่ได้ปรุง
- ผู้ที่ไม่แน่ใจสภาพภูมิคุ้มกันของตัวเองหรือมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเช่นโรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น
- อาหารสลัดควรเก็บในตู้เย็นก่อนที่เสริพให้รับประทาน
การปรุงอาหารทะเล
การปรุงเนื้อปลาจะใช้หลักปรุง 10 นาทีไม่ว่าจะเป็นการทอด ย่าง นึ่ง อบ โดยใช้เนื้อปลาหนาหนึ่งนิ้ว เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาทีให้พลิกปลา หากเป็นปลาที่เอาออกจากช่องแช่แข็งให้ใช้เวลา 20 นาที
- ล้างมือก่อนหรือหลังปรุงอาหารทะเล
- อย่างให้น้ำหรือของเหลวจากอาหารทะเลไปปนเปลื้อนอาหารที่ปรุงแล้ว
- แยกจานระหว่าอาหารสด และที่ปรุงเสร็จแล้ว
รับประทานปลาดิบหรือกุ้งดิบเป็นอันตรายหรือไม่
หลายคนที่นิยมรับประทานอาหารดิบเช่น หอยนางรม ปลาดิบ sushi, sashimi หากมีการเก็บรักษาหรือปรุงอย่างถูกหลักก็ไม่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงหรือโรคติดต่อ แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอไม่ควรรับประทานอาหารดิบๆกลุ่มคนเหล่านี้ได้แก่
- โรคตับ เช่นตับแข็งจากสุรา ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง
- โรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นโรคเอดส์
- ผู้ที่ใช้ยา steroid เป็นเวลานาน
แนะนำให้รับประทานเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 มื้อเป็นอย่างน้อย
อาหารเพื่อสุขภาพ | น้ำมันปลา |