หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ร่างกายของคนเรามีแคลเซี่ยมร้อยละ 90 อยู่ในกระดูก แคลเซี่ยมที่เหลือประมาณร้อยละ 10 จะอยู่ในเซลล์และเลือด
ร่างกายจะมีการควบคุมแคลเซี่ยมในเลือด หากแคลเซี่ยมในเลือดต่ำร่างกายจะละลายแคลเซี่ยมจากกระดูกออกมา หากแคลเซี่ยมในเลือดสูงร่างกายก็จะขับแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะ วันหนึ่งๆร่างกายต้องการแคลเซี่ยมประมาณ 1000-1500 มิลิกรัม กลไกที่ควบคุมแคลเซี่ยม และฟอสฟอร์รัสในเลือดได้แก่ Parathyroid hormone,calcitonin
Parathyroid hormone
ฮอร์โมนนี้จะสร้างในต่อม Parathyroid ที่อยู่ตรงคอ เมื่อแคลเซี่ยมในเลือดต่ำร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เมื่อแคลเซี่ยมในเลือดสูงร่างการจะผลิตฮอร์โมนนี้น้อยลง การทำงานของฮอร์โมนนี้ผ่านทาง
Calcitriol
เป็นวิตามินที่สร้างจากไต มีบทบาทที่สำคัญคือเร่งการดูดซึมแคลเซี่ยม และฟอสฟอร์รัสที่ลำไส้
ผู้ใหญ่ 9-10.5mg%
เด็ก 7.6-10.8 mg%
Ionized calcium 4.65–5.28 mg/dL
แคลเซี่ยม
ร่างกายจะสร้างแคลเซี่ยมตั้งแต่เด็กจะถึงช่วงอายุประมาณ 30 ปี ช่วงระยะนี้แคลเซี่ยมจะถูกนำไปสร้างกระดูกเป็นจำนวนมาก หลังจากอายุ 30 ปีจะเริ่มมีการละลายแคลเซี่ยมจากกระดูก ช่วงนี้การดูดซึมแคลเซี่ยมก็จะลดลง จึงมีการแนะนำให้รับประทานแคลเซี่ยมเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น
นอกจากจะรับอาหารที่มีแคลเซี่ยมท่านต้องรับวิตามิน ดีให้มากพอเนื่องจากวิตามิน ดี จะเพิ่มการดุดซึมแคลเซี่ยม
โรคของแคลเซี่ยม
เป็นภาวะที่แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ซึ่งเกิดจากปัญหาของต่อมพาราไทรอยด์ หรือจากอาหาร จากไต หรือจากยา เมื่อแคลเซี่ยมในเลือดต่ำจะทำให้ผู้ป่วยสับสัน ซึมเศร้า ขี้ลืม ชาปลายนิ้ว และกล้ามเนื้อกระตุกอ่านที่นี่
ผู้ที่มีแคลเซี่ยมสูงจะมีอาการที่พบได้บ่อยได้แก่ ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อยทำให้หิวน้ำอ่านที่นี่
วิตามินดี จะช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซี่ยม ในทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น ลดการขับแคลเซี่ยมในทางเดินปัสสาวะ และมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น วิตามินดีเราได้จากอาหาร และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง วิตามินดี