jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

คุณภาพของอากาศต้องวัดอะไรบ้าง

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)

เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6ชนิด ได้แก่

Air Quality Index

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐาน และคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

คุณภาพของอากาศในบ้านไม่ต่างจากนอกบ้าน หากคุณภาพอากาศนอกบ้านมีฝุ่นมากควรจะติดเครื่องฟอกอากาศในบ้านและไม่เพิ่มปริมาณฝุ่น เช่นการจุดธูป เทียน ยากันยุง การใช้เตาถ่าน การบอกคุณภาพอากาศจะแจ้งออกมาเป็นสีพร้อมคำแนะนำ

AQI คุณภาพอากาศ คำแนะนำ
0 - 25 คุณภาพอากาศดีมาก คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
26 - 50 คุณภาพอากาศดี คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
51 - 100 ปานกลาง ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
201 ขึ้นไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

คุณภาพอากาศกับความเข้มข้นของสารมลพิษในอากาศเหมือนกันหรือไม่

ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นการวัดคุณภาพของอากาศ ซึ่งนอกจากฝุ่น PM ยังครอบคลุมถึงก๊าซต่างๆเช่น O3 CO NO2 SO2

AQI PM2.5
(มคก./ลบ.ม.)
PM10
(มคก./ลบ.ม.)
O3
(ppb)
CO
(ppm)
NO2
(ppb)
SO2
(ppb)
เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
0 - 25 0 - 25 0 - 50 0 - 35 0 - 4.4 0 - 60 0 - 100
26 - 50 26 - 37 51 - 80 36 - 50 4.5 - 6.4 61 - 106 101 - 200
51 - 100 38 - 50 81 - 120 51 - 70 6.5 - 9.0 107 - 170 201 - 300
101 - 200 51 - 90 121 - 180 71 - 120 9.1 - 30.0 171 - 340 301 - 400
มากกว่า 200 91 ขึ้นไป 181 ขึ้นไป 121 ขึ้นไป 30.1 ขึ้นไป 341 ขึ้นไป 401 ขึ้นไป

 

การดำเนินการที่แนะนำและคำแนะนำด้านสุขภาพ

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไปในการปฏิบัติตัว

AQI AQI PM2.5 คำแนะนำการปฏิบัติตัว
คุณภาพอากาศดีมาก 0 - 25 0 - 25 คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
คุณภาพอากาศด 26 - 50 26 - 37 คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
ปานกลาง 51 - 100 38 - 50 สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 101 - 200 51 - 90 ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
มีผลกระทบต่อสุขภาพ >200 >91 ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ เมื่อต้องทำงานรือออกกำลังกลางแจ้งให้มีการพักเป็นระยะๆ
คุณภาพอากาศแย่มาก 201-300 150-250 ลดระยะเวลาและความรุนแรงในกิจกรรมกลางแจ้ง

คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับกลุ่มเสี่ยง

AQI AQI PM2.5 คำแนะนำการปฏิบัติตัว
คุณภาพอากาศดีมาก 0 - 25 0 - 25 คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
คุณภาพอากาศด 26 - 50 26 - 37 คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
ปานกลาง 51 - 100 38 - 50 ลดระยะเวลากิจกรรมกลางแจ้ง และลดความหนักของกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 101 - 200 51 - 90 ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
มีผลกระทบต่อสุขภาพ >200 >91

ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ เมื่อต้องทำงานรือออกกำลังกลางแจ้งให้มีการพักเป็นระยะๆ

กลุ่มเสี่ยงต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด และวางแผนกิจกรรมเมื่อคุณภาพอากาศเหมาะสม

คุณภาพอากาศแย่มาก 201-300 150-250 หยุดกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด

 

 

แหล่งอ้างอิง

http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info

ทบทวนวันที่ 9/3/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน