การดูแลมลพิษในอาคาร

สถานที่เราพัก หรือทำงานเป็นประจำ หากอากาศที่เราหายใจเข้าไปมลพิษก็จะมีปัญหาต่อสุขภาพโดยเฉพาะ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ

มลพิษในอากาศมาจากแหล่งต่างๆกัน ชนิดของมลพิษก็มีต่างๆกันเช่น ก๊าซ สารเคมี สิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สัตว์ ขึ้นกับแหล่งของการเกิดมลภาวะ

มลพิษบางชนิดอาจจะก่อให้เกิดอาการเล็กน้อย เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองในคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แต่มลพิษบางชนิดจะทำให้โรคกำเริบ เช่นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคหัวใจ มะเร็ง และอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิต

สารที่เป็นมลพิษ

การเรียนรู้ถึงสารที่เป็นมลพิษ ก็จะทำให้เราสามารถหาทางป้องกัน และแก้ไข

Radon

เป็นก๊าซที่มีกัมมันตรังสีเกิดในดิน ก๊าซนี้จะเข้าสู่ตัวอาคาร โดยผ่านทางรอยแยก หรือรอยแตกของพื้น หรือผนังที่สัมผัสกับพื้นดิน ก๊าซนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปอดสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

บุหรี่มือสอง

หมายถึงควันบุหรี่ ของผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปอด และกระตุ้นให้โรคปอดเช่นโรคหอบหืดกำเริบ สำหรับทารกเชื่อว่าควันบุหรี่จะเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้

มลพิษชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ เช่น เตาถ่าน เตาแก๊ศ เครื่องทำน้ำร้อน มลพิษจะมากหรือน้อยขึ้นกับการระบายอากาศ และปริมาณการเผาไหม้ มลพิษที่พบบ่อยได้แก่

  • ก๊าซ Carbon monoxide (CO)  ซึ่งเป็นก๊าซไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ก๊าซนี้จะรบกวนการแลกเปลี่ยนของออกซเจนกับเม็ดเลือด ก๊าซนี้ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หากได้รับเข้าไปมากจะทำให้เสียชีวิต
  • ก๊าซ Nitrogen dioxide (NO2)  เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ก๊าซนี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อ ตา จมูก และคอ หายใจเหนื่อย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ก๊าซจากสารเคมี

ก๊าซจากสารเคมี Volatile organic compounds (VOCs) เกิดจาก สี แลคเคอร์ น้ำยาทำความสะอาด แวกซ์ ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์ก่อสร้างตกแต่ง กาว ลูกเหม็น ก๊าซพวกนี้จะระคายเคือง ตา จมูก คอ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน มีอันตรายต่อตับ ไต และสมอง สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)

สารที่กระตุ้มให้โรคหอบหืดกำเริบ

มลพิษที่กระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบมักจะพบในบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน มลพิษดังกล่าวได้แก่ เชื้อรา ไรฝุ่น ควันบุหรี่ รังแคสัตว์เลี้ยงเมื่อผู้ป่วยโรคหอบหืดได้รับมลพิษจะเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจเสียงดังหวีด หายใจลำบาก

เชื้อรา

เชื้อราที่อยู่ตามผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์ หรือหน้ากากเครื่องปรับอากาศจะสร้าง spore เมื่อคนหายใจเอา spore เข้าไปจะทำให้เกิดอาการ น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง มีผื่น และกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบ

การปรับปรุงอากาศภายใน

การแก้ไขมลพิษในอาการประกอบไปด้วยหลักใหญ่ได้แก่

  1. การกำจัดแหล่งผลิตสารมลพิษเป็นวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดที่จะปรับปรุงคุณภาพอากาศ
  2. การไหลเวียนของอากาศจะช่วยลดความเข้มข้นของมลพิษในอากาศ เมื่อสภาพอากาศเหมาะสมให้เปิดหน้าต่าง ประตู เครื่องดูดอากาศในห้องน้ำ ห้องครัว เพื่อที่อากาศจากภายนอกจะเข้ามาแทนอากาศที่มีมลพิษ
  3. หากท่านใช้เครื่องกรองอากาศ หรือเครื่องปรับอากาศให้ท่านล้างหรือเปลี่ยนตัวกรองตามระยะเวลาที่กำหนด หากอุปกรณ์ของท่านใช้งานหนักก็อาจจะต้องล้างหรือเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ
  4. ปรับความชื้นของห้องโดยทั่วไปจะปรับความชื้นประมาณร้อยละ30-50

การปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคาร

  • ให้ตรวจสอบ randon และแก้ไข
  • ลดมลพิษที่กระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบ
  • ห้ามสูบบุหรี่ในอาคาร
  • รักษาสภาพภายในบ้านให้แห้งและสะอาด หมั่นตรวจสอบพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา
  • ให้ระบายอากาศภายในบ้านเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดมลพิษ เตา เครื่องทำความร้อน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้

การจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับโรคหอบหืด

  • งดบุหรี่ทั้งภายในอาคารและในรถ
  • ทำความสะอาดบ้านให้ปราศจากฝุ่น
  • รักษาบ้านให้แห้งอยู่เสมอ และจัดการซ่อมบริเวณที่มีความอับชื้น
  • ต้มผ้าปูที่นอน และปลอกหมอนทุกสัปดาห์
  • ใช้ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนที่กันไรฝุ่น
  • ไม่เลี้ยงสัตว์ในห้องนอน

การจัดการเกี่ยวกับ Radon

ก๊ายกัมมันตภาพรังสี Radon เข้าสู่อาคารทางรอยแยก หรือรอยแตกของพื้น หรือผนังที่ติดกับพื้นดิน

  • ทดสอบว่าบ้านของท่านมีก๊าซ Radon หรือไม่ หากพบต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไข
  • การสร้างบ้านจะต้องสร้างบ้านที่ป้องกันก๊าซ Radon

การจัดการกับเชื้อราในบ้าน

เชื้อราสามารถขึ้นได้ทุกที่ที่มีความชื้น ดังนั้นวิธีป้องกันเชื้อราคือป้องกันและแก้ไขความชื้นนั่นเอง

  • รักษาบ้านให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
  • เมื่อมีการรั่วของประปาจะต้องแก้ไขภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อป้องกันมิให้ราเจริญเติบโต

การจัดการก๊าซหรือกลิ่นจากสารเคมี

สี เบ็นซิน แลคเกอร์ สารเคมี กาว น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาดับกลิ่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ใช้ในการตกแต่งบ้านจะมีการระหยสู่อากาศในขณะที่ใช้งาน ดังนั้นจึงจะต้องลดความเข้มข้นของสารเคมีดังกล่าวลงโดย

  • ให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด
  • เมื่อใช้สารเคมี หรือสีที่มีกลิ่นจะต้องเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ โดยการใช้พัดลมช่วยเพิ่มการไหลเวียน
  • ไม่ควรนำสารเคมีมาผสมกันเอง
  • เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นตามคำแนะนำ และให้พ้นมือเด็ก

ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้

เช่นก๊าซ Carbon monoxide ,Nitrogen dioxide แหล่งของก๊าซเหล่านี้ได้แก่ เตาทั้งก๊าซ หรือเตาไม้ เตาผิง การลดมลพิษทำได้โดย

  • เมื่อใช้อุปกรณ์ดังกล่าวให้เพิ่มการระบายของอากาศ
  • อาจจะต้องใช้พัดลมช่วยระบายอากาศ
  • อุปกรณ์ที่ใช้ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

 

Google
 

เพิ่มเพื่อน