เชื้อราในบ้าน Mold
มารู้จักเชื้อรา | เชื้อราก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร | เราจะกำจัดเชื้อรานี้ได้อย่างไร | ใครจะเป็นกำจัดเชื้อรา | วิธีกำจัดเชื้อรา | การป้องกันตัวเองระหว่างทำกำจัดเชื้อรา | รู้ได้อย่างไรว่ากำจัดเชื้อราหมดไปแล้ว | การป้องกันความชื้น | การตรวจสอบเชื้อรา
เชื้อราเป็นเชื้อที่พบในธรรมชาติสามารถพบได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน หน้าที่สำคัญของเชื้อรานอกบ้านคือการสลายของเสีย เช่นใบไม้ ต้นไม่ หรือขยะ เชื้อราจะสร้าง spore สำหรับสืบพันธ์ เมื่อspore ลอยไปติดที่มีความชื้นเช้อราจะเจริญเติบโตและทำลายบริเวณนั้น ดังนั้นเราสามารถควบคุมเชื้อราโดยการกำจัดเชื้อราตั้งแต่แรกเริ่ม
การควบคุมเชื้อรา
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราได้แก่ความชื้น และอาหาร ดังนั้นการควบคุมความชื้นจะเป็นปัจจัยที่สำคัญของการควบคุมเชื้อรา เชื้อรามักจะเกิดบริเวณที่อับชื้น เช่น ผนังห้องน้ำ ฝ้า ขอบหน้าต่าง บริเวณรอยรั่วของหลังคา ท่อระบายน้ำ แอร์
เมื่อเชื่อราในบ้านมีปริมาณมากพอก็จะมีการสร้าง spore และทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดศีรษะ หายใจลำบาก คัดจมูก ผื่นคัน เชื้อราที่อยู่ในบ้านมักจะไม่อันตราย แต่สปอร์ Spore ของมันจะทำให้เกิดผลเสีต่อสุขภาพเช่น
- ปฏิกิริยาภูมิแพ้ Allergic Reactions เมื่อได้รับสปอร์ได้แก่อาการ ไข้ บางคนมีอาการจาม น้ำมูกไหล หากสัมผัสบ่อยๆก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หนักถึงกับเสียชีวิต
- โรคหอบหืด
- ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ Hypersensitivity Pneumonitis
- ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
- ก่อให้เกิดสารพิษ
สำหรับผู้ที่แพ้ราเมื่อได้สัมผัสเชื้อราทั้งทางสัมผัส การสูดดมอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่างๆ เช่น แพ้หญ้า Hay fever หอบหืด ผื่นแพ้ ตาอักเสบ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด การควบคุมเชื้อรา
เนื่องจากเชื้อราเราพบได้ตามธรรมชาติเราไม่สามารถกำจัดได้หมด แต่เราสามารถป้องกันมิให้เชื้อเจริญเติบโตโดยการควบคุมความชื้นในบ้าน เมื่อคุณพบเชื้อราในบ้าน คุณต้องรีบกำจัดและหาสาเหตุโดยเฉพาะความชื้น หากคุณไม่แก้ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นใหม่
เนื่องจากเชื้อราอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพดังได้กล่าวข้างต้น และการหาสาก็อาจจะมีความยุ่งยาก ดังนั้นหากพื้นที่ที่เป็นเชื้อราไม่มากก็อาจจะกำจัดเองได้ แต่หากเป็นพื้นที่กว้างก็อาจจะต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญในการกำจัด ข้อแนะนำเกี่ยวกับการกำจัดเชื้อรา
- หากบริเวณที่เป็นเชื้อราไม่มากขนาด 10 ตารางฟุตเราสามารถกำจัดเองได้
- หากมีเชื้อราเป็นบริเวณกว้างและอาคารนั้นเป็นที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ก็ควรจะใช้บริการของมืออาชีพ
- หากคุณใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ต้องให้แน่ใจว่ามีความรู้และทักษะเพียงพอ และสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้
- หากคุณพบว่ามีเชื้อราที่ระบบทำความเย็น ต้องหยุดใช้เครื่องปรับอากาศและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจจะต้องทำความสะอาดระบบท่อส่ง รวมทั้งหารอยรั่วที่ทำให้เกิดความชื้น
- หากคุณคิดว่าเชื้อราเกิดจากความชื้นที่เกิดจากรอยรั่ว ควรจะปรึกษาช่างเพื่อจัดการรอยรั่วนั้น
- หากคุณมีปัญหาสุขภาพ คุณควรจะอยู่ห่างๆในระหว่างที่มีการกำจัดเชื้อรา
วิธีที่นำเสนอนี้เป็นวิธีง่ายๆที่ทำได้ด้วยตัวเอง เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นกับอุปกรณ์นั้นอาจจะทำให้เกิดรอยด่างบนอุปกรณ์นั้น
- เมื่อเกิดรอยรั่วหรือชื้น รีบแก้ไขและรักษาอุกรณ์หรือบริเวณนั้นให้แห้งทันที
- สำหรับวัสดุผิวแข็งให้ล้างบริเวณที่เป็นเชื้อราด้วยน้ำสบู่ และทำให้แห้ง
- สำหรับพรม หรือฝ้า หรือวัสดุที่มีรู เมื่อเกิดเชื้อราให้โยนทิ้ง เพราะเราไม่สามารถทำความสะอาดเชื้อราที่อยู่ในรู
- เมื่อมีเชื้อราที่ฝ้าต้องรีบกำจัด และอย่าอยู่ใกล้หรือสัมผัส
- ไม่ควรทาสีบนอุปกรณ์ที่มีเชื้อรา เพราะไม่ใช่วิธีกำจัด ต้องทำความสะอาดเชื้อราก่อนและทำให้แห้ง แล้วจึงทาสีทับ
- หากอุปกรณืที่มีเชื้อรามีราคาแพง หรือมีคุณค่าและไม่อยากทิ้ง ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อซ่อมหรือกำจัดเชื้อราให้หมดไป
- สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เพื่อป้องกันการหายใจเอาเชื้อราเข้าไป หรืออาจจะใช้หน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่า
- ใสถุงมือยาวเป็ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อมาสัมผัส
- ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา
ปัจจัยที่สำคัญคือต้องกำจัดแหล่งที่จะทำให้เกิดความชื้นเสียก่อน หากยังมีความชื้นอยู่ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นใหม่
- ดูด้วยตาไม่พบเชื้อราในบริเวณดังกล่าว หรือไม่มีกลิ่น
- หลังจากจัดการเรียบร้อยแล้ว ให้หมั่นตรวจสอบว่ามีความชื้นหรือเชื้อราเกิดขึ้นหรือไม่
- คนสามารถทำงานหรืออยู่บริเวณนั้นโดยที่ไม่เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
เป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันเชื้อราในบ้าน หรือที่ทำงาน
- เมื่อเกิดความชื้นขึ้นในบ้านหรือที่ทำงานจะต้องแก้ไขรอยรั่วหรือซึมทันที และจะต้องจัดล้างหรือทำให้บริเวณที่เปียกชื้นให้แห้งโดยทันที หากปล่อยทิ้งเกิด 24 ชั่วโมงอาจจะทำให้เกิดเชื้อรา
- จะต้องดูแลรางน้ำบริเวณหลังคา มิให้มีสิ่งแปลอกปลอมที่จะขวางทางเดินของน้ำ
- ตรวจสอบสนามหญ้าในบ้านว่ามีความลาดเอียงถูกต้องหรือไม่ เพื่มมิให้เกิดน้ำขังบริเวณบ้าน
- ตรวจสอบเครื่องปรับอากาศว่าถาดรองน้ำมีสิ่งที่จะทำให้เกิดน้ำขังหรือไม่ และตรวจสอบสายระบายว่าอุดตันหรือไม่
- รักษาความชื้นภายในบ้านให้ต่ำกว่า 60% อาจจะซื้อเครื่องมือตรวจความชื้น
- หากคุณพบว่ามีคราบน้ำจับที่กระจก และรีบเช็ดให้แห้งพร้อมทั้งหาว่ามีน้ำรั่วที่ใดและให้รีบแก้ไข
วิธีการลดความชื้นภายในบ้าน
- อุกรณ์ที่จะทำให้เกิดความชื้นให้เอาออกนอกบ้าน เช่น อย่าตากผ้าไว้ในบ้าน เตาต้มน้ำ ทำกับข้าว
- ใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องลดความชื้น
- ใช้พัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ หรือในห้องครัวเพื่อลดความชื้น
การป้องกันน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ
- ลดความชื้นภายในบ้าน
- ให้อากาศภายในห้องถ่ายเทโดยการเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมดูดอากาศ
- เพิ่มอุณหภูมิห้อง
- ใช้ผ้าพันวัสดุที่มีผิวเย็นเช่นโลหะ
โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีการนำไปตรวจสอบเชื้อ เพราะเราเห็นด้วยตา และกรรมวิธีตรวจสอบก็มีขั้นตอนมากมาย
การค้นเชื้อราในที่ลับ
เชื้อราในท่อแอร์
เชื้อราที่wall paper
เชื้อราที่ผนัง
ห้องที่มีความชื้นแต่คุณไม่สามารถตรวจสอบว่ามีเชื้อรา ผู้ที่อยู่อาศัยมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิแพ้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบหาเชื้อราให้ถึงถึงเชื้อราในที่ลับในที่นี้หมายถึงบริเวณที่เรามิได้นึกถึงเช่น ใต้พรม ด้านบนของฝ้าเพดาน ใต้ wall paper ผนังด้านในของท่อแอร์ ฝาผนังเป็นต้น
เมื่อคุณสงสัยว่าจะมีเชื้อราซ่อนเร้นให้ปรึกษาผู้เชียวชาญเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
การน้ำยาฆ่าเชื้อรา
โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เพราะเราไม่สามารถห่าเชื้อได้หมด เราเพียงแต่แก้ไขเรื่องความชื้นเชื้อราก็ไม่สามารถเจริญเติบโต จะพิจารณาในกรณีที่ผู้อยู่อาศัยเป็นโรคที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี
การแก้ไขเมื่อมีการเปียกน้ำของวัสดุในบ้าน
วัสดุ |
การแก้ไข |
หนังสือและกระดาษ |
- หนังสือหรือกระดาษไม่มีค่าก็ให้ทิ้ง
- ทำสำเนาเก็บไว้ ส่วนที่เปียกทิ้งไป
- แช่แข็ง
|
พรม |
- ให้เอาน้ำออกโดยใช้เครื่องดูดน้ำจากพรม
- ลดความชื้นของห้อง
- ใช้พัดลมช่วย
|
ฝ้า |
|
ฉนวนหุ้มท่อแอร์ |
|
คอนกรีต ถ่าน |
- ให้เอาน้ำออกโดยใช้เครื่องดูดน้ำ
- ใช้พัดลมหรือเครื่องทำความร้อนช่วย
|
ปลอกไฟเบอร์ |
|
เสื่อน้ำมัน กระเบื้อง กระเบื้องยาง |
- ใช้เครื่องดูดน้ำ หรือเช็ดให้แห้ง
- ให้ตรวจใต้เสื่อว่าเปียกหรือไม่
|
ผนังยิบซัม |
- ถ้าไม่บวมก็ไม่ต้องเปลี่ยน
- ใช้พัดล่มช่วย
|
ผ้าม่าน |
|
การแก้ไขความชื้นในบ้าน