น้ำมันปลา ข้อดีและต้องระวังอะไรบ้าง
น้ำมันปลามีโอเมก้าเป็นจำนวนมากมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือดลดการอักเสบ และลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจระหว่างการใช้ยาต้องติดตามการทำงานของตับและต้องระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด
น้ำมันนำมารักษาโรค
น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากปลา โดยเฉพาะ ปลาที่อาศัยในแถบทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลม่อน ปลาแมคเคอเรล ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแอนโชวี่ น้ำมันปลาประกอบด้วยสารสำคัญ คือ เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน หรือหลายตำแหน่ง(Polyunsaturated Fatty Acid ย่อว่า PUFA) ในกลุ่มของโอเมก้า -3 (Omega -3) ซึ่งได้แก่
- กรดไขมัน Eicosapentaenoic acid ย่อว่า EPA (ไอโคซาเพนตะอีโนอิก แอซิด หรือย่อว่า อีพีเอ) และ
- กรดไขมัน Docosahexaenoic acid ย่อว่า DHA (โดโคซาเฮกซะอีโนอิก แอซิด หรือย่อว่า ดีเอชเอ)
ข้อบ่งชี้ของการใช้น้ำมันปลา
- ใช้ควบคุมระดับไขมันในเลือด ในภาวะที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (Hypertriglyceridemia) (TG ≥500 mg/dL)โดยต้องรับประทานวันละ 2–4 กรัม
- ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน แนะนำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ รับประทานน้ำมันปลาวันละ 1 กรัม และแนะนำให้บุคคลทั่วไป รับประทานปลาเป็นอาหารอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์
- บรรเทาอาการปวด และอาการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้อห้ามในการใช้
แพ้น้ำมันปลา
เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น
ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเมื่อใช้กับยาดังต่อไปนี้
- alteplase
- anagrelide
- antithrombin alfa
- antithrombin iii
- argatroban
- aspirin
- aspirin/citric acid/sodium bicarbonate
- bivalirudin
- cilostazol
- clopidogrel
- dabigatran
- dalteparin
- desirudin
- dipyridamole
- enoxaparin
- fondaparinux
- heparin
- lepirudin
- prasugrel
- reteplase
- tenecteplase
- ticlopidine
- tinzaparin
- vorapaxar
- vortioxetine
- warfarin
ผลข้างเคียงของน้ำมันปลา
- ท้องร่วง (7-15%)
- คลื่นไส้อาเจียน (4-6%)
- ปวดท้อง (3-5%)
- โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ที่อาจพบได้ เช่น การเกิดเลือดออกง่าย เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจ้ำเลือด ตามผิวหนังทั่วตัว
ข้อควรระวัง
ปัจจุบันประชาชนรับประทาน Omega-6 fatty acids เป็นจำนวนมาก และรับประทาน Omega-3 ในปริมาณที่น้อย Omega-6 fatty acids เป็นกรดไขมันที่ทำให้เกิดการอักเสบซึ่งถ้าการอักเสบมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้อ ดรคสมองเสื่อม ส่วน Omega-3 เป็นกรดไขมันที่ลดการอักเสบ ปัจจุบันคนรับประทาน Omega-6 fatty acids :Omega-3 มากกว่า 4:1 ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสมควรจะ1:1
แนวทางแก้ไข
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมัน Omega-6 fatty acids สูงได้แก่น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน
- รับประทานอาหารที่มี Omega-3 สูงได้แก่ อาหารทะเล flaxseed
- รับประทานน้ำมันปลาเสริม
เรียบเรียงวันที่ 25/12/2565
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว