ยาปฏิชีวนะ Ampicillin

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์

  • มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ผื่น ผิวหนังลอก
  • ท้องร่วงโดยเฉพาะมีเลือดปน
  • ไข้หนาวสั่น ปวดตามตัว เหมือนไข้หวัดใหญ่
  • เลือดออกง่าย และมีจ้ำเลือด
  • ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Ampicillin

ยานี้เป็นยาปฏิชีวนะคล้ายเพนิซิลลิน ใช้ขจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อ

  • รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบน ทางเดินหายใจส่วนล่าง
  • รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ
  • รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณช่องท้อง กระดูกเชิงกราน ผิวหนัง เป็นต้น
  • อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่นๆได้ ดังนั้นหากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีการใช้และขนาดยาที่ใช้ Ampicillin

  • โดยทั่วไปผู้ใหญ่รัยประทานครั้งละ 500 มก. เด็กรับประทานครั้งละ 125-250 มก. ขึ้นกับน้ำหนักและอายุ วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารหนึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
  • ยานี้มีขายในรูปแคปซูลขนาด 250 และ 500 มก.
  • ยาผงแห้งเติมน้ำความแรง 125 มก./5 มล. และ 250 มก./5 มล. วิธีเติมน้ำในยาผงแห้ง ให้ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำสะอาด ก่อนเติมน้ำควรเคาะขวดให้ผงยากระจายก่อน เติมน้ำจนเกือบถึงขีดที่กำหนดบนขวด เขย่ายาให้เข้ากัน แล้วจึงเติมน้ำให้ถึงขีดพอดี เขย่าขวดก่อนรับประทานทุกครั้ง
  • ให้รับประทานยาติดต่อกันทุกวันจนหมด ถึงแม้อาการจะหายแล้วก็ตาม หากรีบหยุดยา อาจเกิดการติดเชื้อขึ้นอีก

ก่อนใช้ยาจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

  • การแพ้ยาโดยเฉพาะการแพ้ยา penicillin และ cephalosporin เพราะอาจจะมีการแพ้ยา
  • โรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ Infectious mononucleosis
  • เป็นโรคตับหรือโรคไต

ผลข้างเคียงของยา Ampicillin

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและแจ้งแพทย์

  •  ผื่นแดง คัน ผื่นลมพิษ บวมบริเวณหน้า ริมผีปาก ลิ้น หายใจลำบาก ไข้ หนาวสั่น ผิวหนัง กระพุ้งแก้ม แดงหรือซีด เหนื่อยง่าย ปัสสาวะลำบาก ชัก เจ็บหน้าอก มีเลือดออก จ้ำเลือด

เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้รับประทานยาพร้อมอาหาร หากเกิดอาการท้องเสีย มีผื่นรุนแรง หรือมีอาการนานเกิน 2 วัน ให้พบแพทย์

ข้อควรระวังAmpicillin

  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีแพ้ยา penicillin
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Infectious mononucleosis
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ ไต และ โรคเกี่ยวกับเลือด ควรที่จะมีการตรวจเป็นระยะๆ ถ้ามีการใช้ยานี้เป็นระยะเวลานาน
  • สามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้ถ้ามีความต้องการจะใช้ยานี้จริงๆ เพราะยังไม่มีรายงานผลถึงความปลอดภัยที่แน่นอน

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน