ยารักษาเชื้อรา
ยารักษาเชื้อราชนิดทาTopical antifungal agents แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามสูตรโครงสร้างดังนี้
- Polyenes เช่น nystatin , natamycin
- Azolesเช่น econazole, ketoconazole, miconazole, clotrimazole, butoconazole, croconazole, fenticonazole เป็นต้น
- Allylamines ftifine และ terbinafine
- Thiocarbamates เช่น tolnaftate
- Morpholine เช่น amorolfine
- Hydroxypyridenesเช่นciclopirox, clamine
ยาที่ใช้ทารักษาเชื้อราที่ผิวหนัง
ยารักษาเชื้อรากลุ่ม Azole
ยาในกลุ่มนี้ใช้รักษาการติดเชื้อราโดยเฉพาะติดเชื้อรุนแรง หรืออาจจะมีข้อบ่งชี้ตามความเห็นของแพทย์ ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย
ข้อที่ควรจะคำนึงก่อนการใช้ยา
ก่อนการตัดสินใจใช้ยาทุกครั้งควรจะถามแพทย์ถึงผลดีผลเสียของการใช้ยา เพื่อชั่งน้ำหนักว่าควรจะใช้ยาหรือไม่ การใช้ยาควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
- ต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร เคยแพ้ยาในกลุ่มไหนบ้าง และควรจะจดชื่อยาที่แพ้ไว้ทุกครั้ง
- การตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากว่าสงสัยหรือตั้งครรภ์ จากการทดลองในสัตว์พบว่าการให้ยาเชื้อราในกลุ่ม
azole ขนาดสูงจะทำให้เกิดความพิการ จากการใช้ itraconazoleในคนท้อง อาจจะทำให้เกิดความพิการในทารก ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ และควรจะใช้ยาคุมกำเนิดระหว่างรักษาเชื้อราด้วยยานี้ และให้คุมกำเนิดต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังจากหยุดยารักษาเชื้อรา
- การให้นม เนื่องจากยานี้จะผ่านไปทางน้ำนม ดังนั้นต้องปรึกาาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้ระหว่างการให้นม
- เด็กสามารถใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้
- คนชรา เนื่องจากยังไม่ได้มีการศึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ ดังนั้นการใช้ยานี้ควรจะระมัดระวัง
การใช้ยานี้อย่างถูกต้อง
- ยาเม็ด Ketoconazole และ itraconazole ควรรับประทานหลังอาหารทันที
- ยาน้ำ itraconazole ควรจะรับประทานตอนท้องว่าง
- สำหรับคนที่มีกรดในกระเพาะอาหารน้อย ควรจะละลายยาในสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพือ่ให้การดูดซึมยาดีขึ้น
ยาชนิดรับประทาน
การใช้ยาทา
การติดเชื้อรา เชื้อราที่หนังศีรษะ เชื้อราตามลำตัว สังคัง เชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่หน้า เชื้อราในปาก ฮ่องกงฟุต เกลื้อน การรักษาเชื้อรา