การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17
การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่
ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยที่อาการแพ้ท้องต่าง ๆ ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์เริ่มหายไป
- รกในครรภ์จะหนาประมาณ 1 นิ้ว รกจะทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหาร ไปยังลูกน้อย และขจัดของเสีย
- ท้องคุณแม่เริ่มจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัดเนื่องจากขนาดมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มดลูกจะโตขึ้นมาอยู่กึ่งกลาง ระหว่างสะดือ และหัวหน่าวจะคลำยอดมดลูกได้เหนือหัวหน่าว มดลูกจะมีขนาดเท่าผลส้มโอขนาดเล็ก
- เต้านมก็เริ่มฝึกทำงาน โดยหลั่งหัวน้ำนม (Colostrum) จากหัวนมติดเสื้อให้เห็นบ้างแล้ว บริเวณรอบหัวนม หรือลานหัวนม (areola) จะขยายใหญ่ขึ้น มีสีเข้มขึ้น และมีตุ่มเล็กๆที่ลานหัวนม ซึ่งเป็นต่อมใต้ผิวหนังที่ขยายตัวใหญ่ขึ้นด้วย
- น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 กิโลกรัม
- กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ จะปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับต่อร่างกายที่ขยายใหญ่ขึ้นของคุณแม่
- คุณแม่อาจมีอาการปวดหลัง เป็นตะคริว หากยืนนานอาจจะมีอาการปวดเสียวลงเท้าเนื่องจากมดลูกกดเส้้นประสาท ขาและหัวเข่าบวม
- คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการคัดจมูกหรือมีตกขาว
- คุณแม่จะขี้ร้อนเนื่องจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น
- จะเห็นหลอดเลือดดำที่น่อง และเส้นเลือดขอด
- เล็บของคุณแม่บางท่านอาจจะเปราะหักง่าย
คุณแม่ที่รูปร่างบาง จะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกได้ชัดเจน และเร็วกว่าคุณแม่ที่อ้วน เวลาไปตรวจครรภ์ คุณหมอจะถามถึง เรื่องการดิ้นของลูกเสมอ คุณแม่จะต้องคอยสังเกตการดิ้นของลูก เอาไว้ให้ดีด้วย เพราะคุณหมอจะนำไปใช้เป็นเครื่องแสดงความแข็งแรง หรือปัญหาของลูกในท้อง
การพัฒนาของทารก
- ระยะนี้เด็กท่รกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 13 เซ็นติเมตร ตอนี้น้ำน้ำหนัก140 กรัม
- เริ่มมีผิวหนัง ผิวของทารกจะบางจนเห็นเส้นเลือด เริ่มมีการสร้างชั้นไขมันซึ่งจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของทารก
- แขนและขาสมบูรณ์มากขึ้น กล้ามเนื้อและกระดูกอ่อนๆ ของทารกกำลังแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ มีการเชื่อมต่อ ทารกสามารถขยับข้อต่อต่างๆ
- และต่อมเหงื่อก็เริ่มสร้างขึ้นแล้ว
- เริ่มมีขนคิ้ว ขนตาเริ่มขมวดคิ้วได้
- อ้าปากและหุบปากได้
- ตายังปิดแต่กรอกตาไปมาได้
- ไตทำงานได้ดีแล้ว ดังนั้น ลูกจึงปัสสาวะหลายครั้งในแต่ละวันโดยปัสสาวะของลูกจะถูกกรองกลับไปที่ตัวคุณผ่านรก และร่างกายของคุณจะจัดการกับของเสียนั้น นอกจากนี้
- การได้ยินของลูกก็ดีขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ลูกตอบสนองต่อเสียงที่ดังอย่างฉับพลันจากโลกภายนอกได้
- ปอดของลูกน้อยพร้อมที่จะสูดเอาออกซิเจนเข้าไปได้แล้ว
เคล็ดลับและสิ่งที่ต้องปฏิบัติในช่วง สัปดาห์ที่ 17
- แนะนำให้ เปลี่ยนจากส้นสูงมาใส่รองเท้าส้นเตี้ยๆรองเท้าที่ดียังช่วยรองรับน้ำหนักของเราได้ดี ทำให้ช่วยลดอาการปวดหลัง และปวดขาให้น้อยลง
- อย่ายืนนาน และเวลานอนให้ใช้หมอนหนุนต้นขา
- บรรเทาอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสที่ 2 ด้วยการออกกำลังกายในระดับปานกลางและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีแคลเซียม กรดโฟลิค ธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี และสังกะสี
- ฝึกการออกกำลังกายบริเวณเชิงกราน
- จะเปลี่ยนท่าจากนอนไปสู่ท่ายืน ให้เปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน หลังจากนั้นจึงจะเป็นท่ายืนเพื่อป้องกันหน้ามืดเป็นลม
- ในระยะนี้แพทย์อาจจะตรวจพิเศษเช่นการตรวจ ultrasound หรือการตรวจเพื่อคนหาเด็กว่ามีความพิการแต่กำเนิดหรือไม่ โดยจะค้นหาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดบุตรที่พิการแต่กำเนิด
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง
- เลือดออกช่องคลอด หากพบแสดงว่ามีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ หากมีอาการจะต้องพบแพทย์
- คันตามตัวร่วมกับตัวเหลืองซึ่งอาจจะเกิดโรคตับ