การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่16

การพัฒนาของทารก

ทารกจะหนักประมาณ 110 กรัมยาว 12 ซม ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กจะสามารถยกคอขึ้นได้ และ ระบบขับถ่าย และระบบไหลเวียนเริ่มจะทำงาน

  • อวัยวะต่างๆบนใบหน้าที่มีการพัฒนาไปจนเกือบสมบูรณ์  ใบหน้าของทารกเริ่มมีคิ้วและขนตาบางๆขึ้น มีขนขึ้นตามใบหน้าตามตัว กระดูกของใบหน้าเริ่มมีโครงสร้างที่สมบูรณ์และได้สัดส่วนมากขึ้น หู และตาจะอยู่ในตำแหน่งเหมือนตอนคลอด ทารกจะสามารถแสดงสีหน้าได้ ยิ้มได้ ขยับอวัยวะต่างๆบนใบหน้าได้ แต่ยังไม่สามารถควบคุมการแสดงสีหน้าได้ เปลือกตาจะยังคงปิดสนิทอยู่เช่นเดิม แต่ดวงตาของทารกจะเริ่มมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างได้แล้ว
  • หูทั้งสองข้างจะเคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและภายในสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์นี้ กระดูกชิ้นเล็กๆที่อยู่ภายในหูของทารกที่แข็งตัวขึ้นจะทำให้ทารกสามารถได้ยินเสียงเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดของคุณแม่เอง เสียงหัวใจแม่เต้น หรือเสียงของระบบทางเดินอาหารของแม
  •  ทารกจะกลืนน้ำคร่ำเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
  • ลิ้นของทารกก็เริ่มมีการสร้างปุ่มรับรสขึ้นมาอีกด้วย
  • ไตของทารกเริ่มทำงานเริ่มมีการกรองที่ไตเป็นครั้งแรก ปัสสาวะของทารกออกมาหมุนเวียนเป็นน้ำคร่ำ
  • หัวใจของทารกมีการสูบฉีดเลือดอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น และเสียงดังพอที่คุณจะสามารถได้ยินเสียงของการเต้นของหัวใจทารก ได้จากการใช้หูฟังของแพทย์แนบกับหน้าท้อง  เลือดของทารกมีการสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเล็กๆ
  • มีแขนขานิ้วมือนิ้วเท้าที่ชัดเจน และมีรูปร่างที่ได้สัดส่วนมากขึ้น แขนขาและนิ้วมือนิ้วเท้านั้นมีการพัฒนารูปร่างไปมาก และได้สัดส่วนเกือบสมบูรณ์ ตอนนี้ขาเริ่มยาวมากกว่าแขน และมีเล็บขึ้นมาแล้ว เริ่มมีลายนิ้วมือแล้วด้วย แต่เล็บที่นิ้วเท้าจะงอกตามมาทีหลัง
  • ตอนนี้ทารกจะเป็นเพศใดก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นจากการตรวจอัลตร้าซาวด์  อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้มีการพัฒนารูปร่างอย่างชัดเจน สำหรับทารกเพศหญิงนั้นจะมีการสร้างรังไข่ขึ้นมา ซึ่งเมื่อเริ่มแรกภายในรังไข่จะมีการสร้างเซลล์ไข่ขึ้นมาจำนวนมาก ในระยะ 16 สัปดาห์นี้ภายในรังไข่จะมีเซลล์ไข่บรรจุอยู่ประมาณ 2 ล้านฟอง แต่จะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนเมื่อคลอดทารกจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 1 ล้านฟอง และเมื่อเติบโตขึ้นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะมีจำนวนเซลล์ไข่ลดลงไปอีก เมื่ออายุ 17 ปีเด็กผู้หญิงจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 2 แสนฟองเท่านั้น
  • เนื่องจากในตอนนี้ทารกยังไม่มีเนื้อเยื่อชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ดังนั้น จะดูค่อนข้างผอม และผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกายอยู่นั้นก็บางมากเสียจนมองทะลุเข้าไปเห็นเส้นเลือดที่วิ่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

16สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงตัวแม่

การเปลี่ยนแปลงตัวแม่ ะคุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2.45 – 4.5 kg ขนาดของหน้าท้องจะโตขึ้นจนเห็นได้ชัด มดลูกมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นเป็น 5 เท่า มดลูกและรกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำก็จะมีมากขึ้น ภายในถุงน้ำคร่ำ ทารกจะถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยให้ทารกลอยไปมาเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างเต็มที่ ในเดือนนี้จะเริ่มมีการเลี่ยนแปลงของสีผิวบริเวณหน้าท้อง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้นที่มีสีเข้มกว่าสีผิวจริงของคุณแม่ตรงกึ่งกลางของหน้าท้อง บริเวณหัวนมมีสีเข้มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น

 รกเปรียบเสมือนอวัยวะที่ทำหน้าที่หลายๆอย่าง เช่น ทำหน้าที่เป็นปอด ไต ลำไส้ ตับ และผลิตฮอร์โมน รกมีสองด้าน คือ ด้านแม่และด้านลูก รกทำหน้าที่ให้สารอาหารและออกซิเจนผ่านจากแม่ไปสู่ทารก และรับของเสียต่างๆจากทารกเช่นปัสสาวะของทารกและคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ร่างกายแม่ แล้วตับและไตของแม่ก็จะทำหน้าที่กำจัดของเสียเหล่านั้น

สายสะดือของทารกยาวพอๆกับทารกและโตขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกับทารก โดยเฉลี่ยความยาวของสายสะดือของทารกเมื่อคลอดจะมีขนาดยาวประมาณ 24 นิ้ว แต่อาจจะสั้นกว่านี้ได้ประมาณ 5 นิ้วและสามารถยาวได้ถึง 48 นิ้วเลยทีเดียว ซึ่งแรงดันของเลือดจะช่วยให้สายสะดือคงรูปเป็นเส้นตรงป้องกันการเกิดเป็นปมสายสะดือจะเป็นท่อออกซิเจนและลำเลียงอาหารสำหรับทารก บางครั้งทารกอาจหมุนศีรษะลง จะพบว่าเต้านมมีขนาดโตขึ้น และคัดเต้านม จะมีอาการท้องผูก มีเมือกออกทางช่องคลอดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดที่เท้าจะโป่งออก ร่างกายคุณแม่จะสร้างเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ทำให้หน้าตาดูสดใส ผิวหน้าจะมันขึ้นเนื่องจากต่อมไขมันมีการสร้างไขมันเพิ่มขึ้น บางท่านอาจจะมีอาการคัดจมูก ปวดหลัง เลือดออกตามไรฟัน

ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้น และควรจะเริ่มนอนตะแคง

ช่วงสัปดาห์นี้จะต้องตรวจอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 16-18 สัปดาห์แพทย์จะแนะนำการตรวจ tripple screen เป็นการตรวจเลือดแม่เพื่อหาค่า alfa-fetoprotein (AFP), hCG และ estriol การตรวจนี้เพื่อบอกว่าลูกคุณแม่เสี่ยงต่อโรค ความพิการทางสมอง และโรค DOWN 'syndrome พบว่าทุกหนึ่งพันคนจะพบว่ามีประมาณ 50 คนที่มีผลเลือดผิดปกติ แต่พบว่าจะมี1-2คนที่เด็กผิดปกติ

หลังจากฝากครรภ์ครั้งนี้แพทย์จะนัดหมายอีกครั้งอีกหลายสัปดาห์ ในระหว่างนี้แพทย์จะนัดตรวจพิเศษเพิ่มเติมได้แก่

  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ultrasound
  • การตรวจเลือดหา alfa-Feta Protein (AFP)
  • การตรวจ triple test  ดังนั้นปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองที่จัดว่าเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยสูง และมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ทุกราย คือ การตรวจเลือดแม่ โดยการตรวจทางชีวเคมี ได้แก่ การตรวจ MSAFP, beta hCG และ UE3 ซึ่งจะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถูกต้องถึง 70% (Detection rate) วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ที่สำคัญที่สุด คือ มีความปลอดภัยสะดวกรวดเร็ว
  • การเจาะน้ำคร่ำเพื่อส่งตรวจ amniocentesis

โรค Down syndrome เป็นความผิดปกติของทารกแรกคลอดซึ่งมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ข้าง พบได้ประมาณร้อยละ 0.75 ของทารกแรกคลอดมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะมีอัตราเสี่ยงมากว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยดังนี้

ช่วงอายุ (ปี)

พบอัตราเสี่ยง

18-34

0.5%

35-39

1.0%

40-44

1.5%

> 45

4-6%

ตารางที่ 4.1 แสดงความสัมพันธ์ของอายุมารดาที่เพิ่มขึ้นต่ออัตราเสี่ยงที่พบทารกมีความผิดปกติ

คำแนะนำในการตรวจคัดกรอง

       สตรีมีครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรได้รับการตรวจ Triple Screening เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 15-18 สัปดาห์ สำหรับสตรีที่มีอายุครรภ์ >35 ปี ควรใช้วิธีตรวจยืนยันโดยใช้วิธีตรวจน้ำคร่ำ

ระยะนี้ยังเป็นระยะที่จะต้องเรียนรู้เรื่องต่างๆต่อไปนี้

  • preterm labor
  • การเลือกกุมารแพทย์
  • การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์
  • การดูแลทารก

โรคแทรกซ้อน

มีตกขาวเหนียวข้น

หากคุณแม่มีตกขาวที่เหนียวข้นมากขึ้นเหมือนในช่วงก่อนจะมีรอบเดือนไม่ต้องกังวล เป็นเรื่องปกติ หากมีสีผิดปกติหรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ อาจจะมีการติดเชื้อให้ปรึกษาแพทย์

การติดเชื้อของช่องคลอด

จะมีอาการตกขาว มีกลิ่นหรือสีเปลี่ยนมีการอักเสบ บวมแดง หรือคันบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะรักษาให้หายก่อนคลอด เนื่องจากการติดเชื้อที่ช่องคลอดนี้ไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่อาจทำให้ทารกติดเชื้อได้ในระหว่างการคลอดทางช่องคลอด

คุณแม่จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกายมากขึ้น ใช้ผ้านุ่มหรือกระดาษทิชชูนุ่มๆซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้แห้งสนิท อย่าใช้แป้งโรยบริเวณนั้น และรักษาความสะอาดของชุดชั้นใน ต้องตากแดดให้แห้งสนิทก่อนใส่

แสบลิ้นปี่ (Heartburn)

เป็นอาการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร เนื่องมาจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดันกระเพาะอาหารขึ้นไป และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อของหลอดอาหารขยายตัว จึงมีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ และบริเวณทรวงอก

วิธีการที่จะช่วยให้อาการเหล่านี้ทุเลาทำได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง ดื่มน้ำมากๆจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และอย่ารับประทานอาหารเมื่อคุณแม่กำลังจะเข้านอน หรือกำลังจะนอนพักตอนกลางวัน การนอนในท่าที่ศีรษะสูงอาจช่วยลดอาการลงได้ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดตามที่แพทย์สั่ง

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

  • รับประทาน อาหารว่างจำพวกผลไม้ หรือที่ทำจากธัญพืชต่างๆ จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เนื่องจากตอนนี้คุณแม่อาจเริ่มมีปัญหาเรื่องท้องผูก ผลไม้แห้งให้ทั้งน้ำตาล ใยอาหาร และธาตุเหล็ก (แต่ระวังพวกของหมักดองซึ่งควรละเว้น) อาหารเหล่านี้ยังให้คุณค่าสารอาหารมากกว่าอาหารว่างพวกขนมขบเคี้ยว หรือลูกกวาด
  • ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
  • อาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายเนื่องจากความต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์
  • เลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม หากมีเลือดออกตามไรฟันต้องปรึกษาทันตแพทย์
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่15 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่17

 

เพิ่มเพื่อน