การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงของมารดา
ระยะนี้คุณแม่จะอ้วนขึ้น คนทั่วไปจะสังเกตว่าคุณตั้งครรภ์ อาจจะมีเท้าบวม หน้ามันและมีฝ้าขึ้นบนใบหน้า ระยะนี้คุณแม่อาจจะมีอาการปวดเท้าเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักของคุณแม่ และปริมาณเลือดของคุณแม่จะเพิ่มอย่างมากมาย ปริมาณเลือดที่เพิ่มจะเป็นพลาสม่าซึ่งจะไปเจือจางเลือดซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ดังนั้นคุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
- ความดันโลหิต ของคุณแม่จะต่ำกว่าปกติเล็กน้อย อย่างไรก็ตามความดันจะกลับมาเป็นปกติภายในสัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์
- หากคุณแม่ยังได้รับธาตุเหล็กพอเพียง ร่างกายก็จะยังคงผลิตเลือด รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่เกิดภาวะโลหิตจาง
- เต้านมของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อเตรียมที่จะผลิตน้ำนมสำหรับทารก
- คุณแม่อาจสังเกตเห็นของเหลวสีเหลือง ๆ ซึมออกมาทางหัวนม เรามักเรียกน้ำนมที่ออกมาในตอนนี้ว่าเป็น น้ำนมแรก (colostrums)
- หากท่านไม่มีน้ำนมซึมออกมาในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติและจะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นม ทารกหลังการคลอด
- คุณแม่อาจจะยังมีอาการแพ้ท้อง
- ยังคงมีอาการปวดหลังและการมีตกขาว
การเปลี่ยนแปลงตัวทารก
ขณะนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 26 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 312 กรัม
- ทารกในระยะนี้สามารถได้ยินเสียงพูดและเสียงเพลงที่คุณแม่ร้อง ดังนั้น ควรพูดคุยหรือร้องเพลงให้ทารกฟัง
- ไตของทารกเริ่มทำงานแล้ว ร่างกายของลูกน้อยจึงเริ่มมีกระบวนการขับถ่ายของเสียด้วยตัวเอง
- การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ จะประสานงานกันได้อย่าง สมบูรณ์ยิ่งขึ้นช่วงนี้ลูกจะเคลื่อนไหวมากขึ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ว่าทารกเตะหน้าท้องเบาๆ บ่อยครั้ง
- ลิ้นเริ่มมีประสาทรับรู้รสชาติของน้ำคร่ำว่าหวานหรือขมได้
- สมองของลูกน้อยมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน และต้องการกรดไขมันโอเมก้าในปริมาณมากเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งสะสมของกรดไขมันโอเมก้าเหล่านี้จะมาจากอาหารจำพวกปลาที่อุดมไปด้วยไขมันรวมอยู่ด้วย เพราะปลาที่อุดมด้วยไขมันเหล่านี้เป็นแหล่งรวมของโอเมก้า 3
- ในร่างกายของทารกจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก และเริ่มผลิตเม็ดเลือดขาว
- ระบบย่อยอาหารพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปได้ และขับของเสียออกมาในลำไส้ใหญ่
- ผิวหนังของลูกบริเวณลำตัวมีสีแดง และย่น
- ต่อมไขมันของลูกเริ่มมีการสร้างไขสีขาวๆ เพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเปื่อยเมื่อต้องแช่อยู่ในน้ำคร่ำ และก็เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย โดยตามลำตัวของลูกมีการสร้างขนอ่อนๆ เพื่อช่วยในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ และให้เป็นที่ยึดเกาะของไขสีขาว
- ไขกระดูกของลูกน้อย ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด แทน การผลิตจากตับและม้าม
การดูแลตัวเอง
- คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บที่บริเวณเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น มดลูกที่มีขนาดโตขึ้นกดเส้นเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอดโดยเฉพาะที่ขา แต่อาจจะพบได้ที่ช่องคลอดและทวารหนัก เส้นเลือดขอดจะหายไปหลังคลอด แต่บางท่านเส้นเลือดขอดอาจจะไม่หาย ดูแลโดย
- พักเท้าทั้งสองข้างเมื่อมีโอกาส
- หมุนข้อเท้าเป็นวงกลมเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้อย่างทั่วถึง
- สุขภาพเหงือกและฟัน ระยะนี้จะมีโรคเหงือกและฟันผุได้สูงดังนั้นคุณแม่ต้องดูแลสุขภาพในช่องปากให้ดี
- เปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันที่มีหน้าแปรงอ่อนนุ่ม
- ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ
- แต่ควรแจ้งแก่แพทย์ ด้วยว่ากำลังตั้งครรภ์
- ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่มีโอกาสที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบสูงกว่าปกติ ฉะนั้นควรใช้ไหมขัดฟันให้บ่อยขึ้น
- เลือกใช้ยาสีฟันชนิดที่มีส่วนผสมฟลูออไรด์
- ไม่ควรรับขนมหวานในมื้ออาหารที่ไม่สามารถแปรงฟันหลังอาหารได้
- ควรจะเข้าคอร์สเตรียมคลอด เป็นหนึ่งในวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดที่ดีที่สุด มักเริ่มเข้าอบรมคอร์สการเตรียมความพร้อมในช่วงเดือนที่ 6 และ 7 ของการตั้งครรภ์
- อย่าลืมธาตุเหล็ก เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ต้องผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรให้ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างน้อย วันละ 30 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
- ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากขนาดมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกดกระเพาะปัสสาวะซึ่งป้องกันโดย
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- หลังจากปัสสาวะให้ใช้กระดาษซับจากหน้าไปทางด้านหลัง
- ให้ปัสสาวะหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงกางเกงที่คับ
- เฝ้าระวังอาการโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์