การรักษาผู้ที่มีอาการแน่นท้องที่ยังไม่ได้หาสาเหตุ

แนวทางที่จะจัดการกับผู้ป่วยที่มีอาการแน่ท้องที่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยมีดังนี้

  1. ให้การรักษาด้วยยาลดกรดแล้วจึงตรวจหาสาเหตุเมื่อการรักษาไม่ได้ผลEmpiric antisecretory therapy แล้วจึงทำ investigation เมื่อไม่ได้ผลจากการรักษา
  2. การส่องกล้องตรวจ Early endoscopy
  3. Test and Investigate” คือ ตรวจหา H. pylori ด้วยวิธี non-invasive เช่น urea breath test (UBT) หรือ serology แล้วจึงทำการส่องกล้องในรายที่ได้ผลการทดสอบเป็นบวก
  4. Test and treat” คือ ตรวจหา H. pylori ด้วยวิธี non-invasive ก่อนแล้วให้การกำตัดเชื้อในรายที่ผลเป็นบวก

ให้การรักษาด้วยยาลดกรดแล้วจึงตรวจหาสาเหตุเมื่อการรักษาไม่ได้ผล Empiric antisecretory therapy

จากการศึกษาพบว่าการให้ยาลดกรด(omprazole 10 mg ต่อวัน )จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นร้อยละ 41 และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นร้อยละ 15 การให้ยาแบบครอบคลุม(Empyrical treatment)จะให้ใน

  • ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า55ปี
  • ไม่มีสัญญาณอันตราย
  • อาการไม่ได้เกิดจากยาใดๆ
  • และอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับคำแนะนำเรื่องอาหารและการปฏิบัติตัว

อาจพิจารณาให้ยาแบบครอบคลุม ได้แก่

  • ยาที่ออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด โดยเลือกใช้หากอาการปวดท้อง (Epigastric pain) หรือแสบท้อง (Epigastric burning) เป็นอาการเด่น
  • ยากลุ่ม prokinetic ได้แก่ยา Metoclopamide และยาcissaprideเลือกใช้หากอาการแน่นหลังกินอาหาร (Post-prandial fullness) หรืออาการอิ่มเร็ว(Early satiation)เป็นอาการเด่น

หากไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มแรกหลังได้ยาเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ พิจารณาเปลี่ยนเป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งได้  กรณีที่ผู้ป่วยมีทั้งอาการปวดหรือแสบและแน่นท้องรุนแรงใกล้เคียงกัน อาจพิจารณาให้ยาทั้งสองกลุ่มร่วมกันได้

การส่องกล้อง Early endoscopy

การส่องกล้องจะทำให้ทราบสาเหตุของอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย และสามารถแยกโรคร้ายแรงเช่นมะเร็งทางเดินอาหาร แต่เนื่องจากแพทย์ที่สามารถส่องกล้องได้มีจำนวนจำกัด ดังนั้นการคัดเลือกผู้ป่วยที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีภาวะที่อาจจะเป็นโรคร้ายดพื่อส่องกล้องน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม แต่หากทำได้ก็น่าจะส่องกล้องก่อนการรักษา

Test and treat strategy

การทดสอบหาเชื้อ H. pylori ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการหายใจ การตรวจอุจาระ หรือการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิต่อเชื้อหากพบเชื้อก็ให้การรักษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งดีขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยร้อยละ50จะมีเชื้อนี้อยู่

สรุปแนวทางการรักษาอาการ Dyspsia

  • หากท่านอายุไม่มาก และไม่มีอาการบ่งบอกว่าจะเป็นมะเร็ง ท่านอาจจะซื้อยาลดก๊าซรับประทาน เช่น ผงถ่าน Air-X
  • ยาเพื่อลดกรด เช่น cimetidine,ranitidine,famotidine
  • ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump inhibitor เช่น omeprazole
  • ยาที่เพิ่มแรงบีบของหูดรูดของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น metoclopamide,Domperidone
  • ยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ H.polori

คำแนะนำการปฏิบัติตัว

  1. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น อาหารเผ็ด รสจัด ของหมักดอง น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  2. งดหรือลดการสูบบุหรี่
  3. ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  4. หลีกเลี่ยงการใส่กางเกง กระโปรงหรือคาดเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป
  5. ไม่ควรเข้านอนทันทีหลังกินอาหารอิ่มใหม่ๆ ควรรออย่างน้อย2-3ชั่วโมง
  6. ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ 20-40นาทีต่อครั้ง3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ควรออกกำลังกายทันทีหลังกินอาหาร
  7. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  8. ไม่ควรเร่งรีบรับประทานอาหาร
  9. จัดการเรื่องความเครียด
การตรวจพิเศษ อาหารไม่ย่อย