ยาลดกรด omeprazole
ชื่อสามัญ Omeprazole ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร Omeprazole เป็นยาในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPI) ซึ่งจะลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรค แผลในกระเพาะอาหาร แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น กรดไหลย้อน ภาวะที่มีกรดมากเช่น Zollinger-Ellison syndrome,
ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา Omeprazole
ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง
หากเกิดอาการต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
- มึนงง สับสน
- หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ
- กล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นตะคริว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไอหรือสำลัก
- ชัก
ยานี้ใช้สำหรับ
- ใช้รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ หรือหลอดอาหารและคอหอยอักเสบ จากการที่กรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารบวม ฉีกขาด และมีอาการแสบในอก ใช้เวลารักษา 4-8สัปดาห์
- ใช้รักษาโรคที่เกิดจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือเรียกย่อว่า GERD ซึ่งทำให้มีอาการแสบในอกและหลอดอาหารเป็นแผล
- ใช้รักษาอาการปวดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
- ใช้รักษาแผลในกระเพาะ โดยรักษานาน 4-8 สัปดาห์
- ใช้รักษาแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น Duodenal ulcer ลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้เวลารักษา 4 สัปดาห์
- ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็ก ในผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
- ใช้รักษาแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็ก ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเทอร์ พัยโรไล โดยใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย คือ clarithromycin and amoxicillin
- ใช้ป้องกันการสำลักกรดเข้าไปในปอด เช่น ใช้ก่อนการผ่าตัด
- ใช้รักษาการมีกรดในกระเพาะมากเกินไป จากการเจริญที่ผิดปกติของตับอ่อน หรือกลุ่มอาการโซลลิงเกอร์-เอลลิสัน
ขนาดและวิธีใช้ยาโอเมพราโซล
ขนาดการใช้ยานี้อาจมีความแตกต่างกัน ตามความรุนแรงและการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย
- รักษาอาการปวดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
ให้รับประทานวันละ Omeprazole 20 มก วันละครั้งก่อนนอน
- แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
ให้รับประทานวันละ Omeprazole 20 มก วันละครั้งก่อนนอน แผลส่วนใหญ่จะหายใน 4 สัปดาห์ บางท่านอาจจะต้องให้ต่ออีก 4 สัปดาห์
- รักษาแผลในกระเพาะ
ให้รับประทานวันละ Omeprazole 40 mg วันละครั้งก่อนนอนเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์
- รักษาภาวะกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนที่ไม่มีหลอดอาหารอักเสบให้รับประทานวันละ Omeprazole วันละ 20 mg วันละครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หากมีหลอดอาหารอักเสบจะให้ต่ออีก 4 สัปดาห์
- รักษาและป้องกันแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นในผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
- รักษาแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเทอร์ พัยโรไล
ให้รับประทานยาสามชนิดได้แก่ Omeprazole วันละ 20 มิลิกรัม ร่วมกับ clarithromycin 500 มิลิกรัม และ amoxicillin 1000 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน
หรืออาจจะรับประทาน Omeprazole วันละ 40 มิลิกรัมวันละครั้ง ร่วมกับ clarithromycin 500 มิลิกรัม วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
- รักษาการมีกรดในกระเพาะมากเกินไปจากการเจริญที่ผิดปกติของตับอ่อน หรือกลุ่มอาการโซลลิงเกอร์-เอลลิสัน
เริ่มต้นให้ 60 mg ต่อวันและปรับยาจนถึง 120 มิลิกรัมวันละ 3 ครั้ง
วิธีใช้ยา
- ยานี้อยู่ในรูปแบบแคปซูล ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง ก่อนอาหาร ประมาณ 30-60 นาที และดื่มน้ำประมาณ ½ - 1 แก้ว ทุกครั้งหลังกินยา อย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือตามแพทย์สั่ง
- ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยา ไม่ควรใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
- ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยามากกว่า 2 สัปดาห์หรือเป็นเดือน ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา แม้ว่าอาการของโรคจะหายไป
- ไม่ควรแบ่ง หรือเคี้ยวเม็ดแคปซูลเพื่อรับประทาน แต่ถ้าไม่สามารถกลืนเม็ดแคปซูลให้แกะเม็ดแคปซูลแล้วผสมผงยาทั้งหมดลงในในน้ำธรรมดาประมาณ 2 ช้อนชา หรือใส่น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำสัปปะรด หรือโยเกิรต์ ต้องคนให้ยากระจายตัวก่อนกินและใช้น้ำล้างยาที่ติดในภาชนะที่ผสมยาให้หมด แล้วดื่มน้ำตามอีกอย่างน้อย 1 แก้ว ต้องใช้ยาที่ผสมแล้วทันที อย่าทิ้งไว้เกิน 30 นาทีหลังจากผสมยา
- รับประทานยาพร้อมน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) เท่านั้น ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับน้ำชนิดอื่น
- หากท่านซื้อยารับประทานเองไม่ควรรับยาเกิน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
- การแพ้ยาโอมิพราโซล (omeprazole) หรือแพ้ยาอื่นๆ
- ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ยานี้ โดยเฉพาะ ดังต่อไปนี้ เพื่อที่แพทย์จะได้ปรับขนาดของยา
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin
- ยาปฏิชีวนะ ampicillin
- ยาต้านไวรัส nelfinavir ; saquinavir; tacrolimus ;atazanavir
- ยากดภูมิเช่น methotrexate cyclosporine
- diazepam (Valium)
- clopidogrel cilostazol
- phenytoin
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาต้านเชื้อรา เช่น voriconazole และชนิดอื่นๆ
- มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้ อุจจาระมีสีดำคล้ำหรือมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีอาการกลืนลำบาก มีอาการแสบร้อนกลางอกเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน
- อาการแสบยอดอกร่วมกับอาการมึนงง ปวดศีรษะเล็กน้อยหรือเหงื่อออก
- มีโรคตับ ปวดท้อง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาเจียนมีเลือดปน หายใจหอบ
- การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
- การมีความผิดปกติของการทำงานของตับ
- กรณีใช้ยา 14 วันอย่างต่อเนื่อง (2 สัปดาห์) แล้วอาการของโรคไม่ดีขึ้น ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
- หากท่านรับประทานยา น้ำขาวลดกรด ยา digoxin ยา ketoconazole ธาตุเหล็ก จะต้องรับประทานยาเหล่านี้ก่อนยา Omeprazole 2 ชั่วโมง
- แจ้งแพทย์หากท่านมีโรคประจำตัวเช่นโรคเอดส์ โรคตับ โรคไต
ข้อห้ามใช้ยา
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาโอเมพราโซล และส่วนประกอบอื่นๆในยานี้ หรือยากลุ่มกลุ่มยับยั้งการสูบโปรตอนตัวอื่น เช่น เอสโอเมพราโซล แลนโสพราโซล แพนโทพราโซล ราบีพลาโซล หรือเมื่อกินยาโอเมพราโซลแล้วมีอาการ ผื่น คัน ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ตาบวม
- ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะ ต้องตรวจให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่เป็นมะเร็ง เพราะการใช้ยานี้จะทำให้อาการดีขึ้นและทำให้การวินิจฉัยล่าช้าไป
- อย่าใช้ยานี้ก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร .ในหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังจะตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ มีระดับโปตัสเซียมในเลือดต่ำ
หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาโอเมพราโซลหรือไม่
- หญิงมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เพราะยาสามารถผ่านรกและเคยมีรายงานความผิดปกติของทารกที่แม่ได้รับยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามแม่ที่ใช้ยาในขนาดการรักษาตามปกติ มีโอกาสทำให้เกิดความพิการในทารกน้อยมาก แต่ก็ควรพิจารณาผลดีผลเสียให้ดีก่อนใช้ยานี้ และอย่าใช้ยานี้ด้วยตนเองก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- หญิงให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยานี้ เพราะยาสามารถผ่านน้ำนมแม่ไปยังเด็ก หากจำเป็นต้องใช้ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
อาการข้างเคียงของยาโอเมพราโซลมีอะไร
การใช้ยาโอเมพราโซล อาจมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาดังนี้
- อาการข้างเคียงที่รุนแรง ต้องหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที อาการที่พบ เช่น
- หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก ปวดบริเวณหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ บวมบริเวณมือ เท้า ใบหน้า ตา ปาก ลิ้น ในลำคอ เวียนหัวรุนแรง ชัก มีผื่นขึ้น คัน เป็นลมพิษ มีตุ่มน้ำสีแดง มีอาการแสบและหลุดลอกที่ผิวหนัง ในปาก มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ไอ เจ็บคอ เวลากลืน เสียงแหบ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณหลัง หรือขา
- ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะสีคล้ำขึ้นหรือเป็นสีน้ำตาล เลือดออกในปัสสาวะ ผิวหนังหรือตาเหลือง (เป็นดีซ่าน) หรือเลือดออกง่าย
- เหนื่อยหรืออ่อนเพลียผิดปกติ เจ็บลิ้น ชาหรือรู้สึกซ่าบริเวณมือและเท้า ซึมเศร้า กระวนกระวายอยู่ไม่สุข สับสน การมองเห็นผิดปกติหรือตาพร่า รวมทั้งอาการอื่นใดที่รุนแรงหรือที่ไม่ยอมหายไป
- อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง หากเกดขึ้นไม่จำเป็นต้องหยุดยา แต่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ เช่น ท้องร่วง ท้องผูก ท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รู้สึกไม่สบาย ไอ ปวดหัว วิงเวียน ทรงตัวลำบาก รู้สึกหน้ามืด รู้สึกหัวเบาโหงเหวง ง่วงนอนหรือง่วงซึม นอนไม่หลับ ความรู้สึกสัมผั
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
- โดยทั่วไปหากลืมรับประทานยาก่อนอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
การเก็บรักษายา
- เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
- เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
- ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ
ข้อควรปฏิบัติ ขณะใช้ยาโอเมพราโซล
- เด็กที่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานาน ควรระมัดระวังการขาดวิตามินบี 12
- ไม่ควรใช้ยานี้ด้วยตนเองเกิน 14 วัน
- ในกรณีที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด ให้ท่านปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจจะมีเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร
- สำหรับผู้ที่รับประทานยานี้ในขนาดสูงและเป็นเวลานาน(มากกว่า1ปี) พบว่ามีอุบัติการณ์ของกระดูกหักเพิ่มขึ้นดังนั้นควรจะใช้ขนาดน้อยที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด
- ภาวะแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำมักจะพบในผู้ที่รับประทานยา omeprazole มากกว่า 1 ปี และหรือได้รับยาขับปัสสาวะ หรือยา digoxin อาการที่สำคัญคือกล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ หรือชัก ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำต้องตรวจเลือดหาระดับแมกนีเซี่ยม
ถ้าใช้ยาโอเมพราโซลมากเกินไปจะเป็นอย่างไร และควรทำอย่างไร
- อาการที่มักพบ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหัว ง่วงนอน เวียนหัว สับสน เหงื่อออกมากผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า รู้สึกเฉื่อย ไร้อารมณ์ ซึมเศร้า สับสน หน้าแดงร้อน ปากแห้ง
- ถาสงสัยว่าได้รับยาเกินขนาด ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
- หากเกิดอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง ให้หยุดยาและรีบไปพบแพทย์ทันที (นำยาและเอกสารนี้ไปด้วย)
- หากเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรงหรือรบกวนท่านมาก ควรไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร (นำยาและเอกสารนี้ไปด้วย)
- อาจต้องใช้เวลาในการกินยานี้ 1-4 วัน จึงจะทำให้อาการของท่านดีขึ้น จึงควรไปพบแพทย์ ถ้าใช้ยาไปแล้ว 14 วัน อาการยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
การให้ยา omeprazole ร่วมกับ Clopidogrel
ไม่ควรให้ omeprazole ร่วมกับ Clopidogrel เพราะ omeprazole จะทำให้ยา Clopidogrel ออกฤทธิ์ลดลง
ความปลอดภัยในคนท้อง
Pregnancy - Pregnancy Category C
ยาน้ำแก้โรคกระเพาะ | ยาระบาย | ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน | ยา cisapride | ยา hyocyamine | ยาแก้กระเพาะกลุ่ม PPI | ยาขับลม | sucralfate | ranitidine | nizatidine | cimetidine | famotidine | ยาแก้ท้องเสีย | Esomeprazole | lansoprazole | Omeprazole | Misoprostol