jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การรักษาท้องมานด้วยยาขับปัสสาวะ



ดูการตอบสนองโดยให้น้ำหนักลดประมาณ 0.5 kg/วัน ในผู้ป่วยที่ไม่มีขาบวม และประมาณ 1 kg/วัน ในผู้ป่วยที่ขาบวม เพราะฉะนั้นในผู้ป่วยที่มี ascites ควรชั่งงน้ำหนักทุกวัน พบว่าการให้ยาขับปัสสาวะมีการตอบสนองต่อการรักษาถึง 90% แต่ผู้ป่วยต้องไม่มีภาวะไตวาย

Spironolactone

: เป็นยาขับปัสสาวะที่ป้องกันการต่ำลงของโพแทสเซี่ยม มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ aldosterone จึงได้ผลดีและได้ผลในการรักษาดีกว่า loop diuretic ซึ่งออกฤทธิ์ที่ loop of Henle ตำแหน่งที่เหนือกว่า distal tubule ขนาดของยา spironolactone อยู่ที่ 100-200 mg/วัน วันละหนึ่งครั้ง ซึ่งในกรณีที่มีการคั่งของเกลือโซเดียมมาก สามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 400 mg/วัน ได้พบว่าผู้ป่วยประมาณ 75% จะตอบสนองดีต่อ spironolactone ผลข้างเคียงของ spironolactone ที่พบได้บ่อยคือเต้านมโต gynecomastia เลือดเป็นกรด metabolic acidosis ที่อาจมีหรือไม่มีภาวะ ภาวะเกลือโพแทสเซี่ยมสูง hyperkalemia ร่วมด้วย ซึ่งมักจะพบว่ามีการทำงานของไตลดลงร่วมด้วย ส่วน K-sparing diuretic อื่นเช่น amiloride พบว่าประสิทธิภาพด้อยกว่า spironolactone ส่วน triamterene ยังไม่มีการศึกษาที่สนับสนุนการใช้


Loop diuretics

เช่น furosemide มักใช้ได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ spironolactone ในอัตราส่วน spironolactone 100 mg: furosemide 40 mg มีการศึกษาว่าควรให้ furosemide เมื่อให้ spironolactone 400 mg แล้วไม่ตอบสนองต่อการรักษา โดยพบว่าสามารถลดการดูดกลับเกลือโซเดียมที่กรองผ่านเข้ามาในหน่วยไตได้มากเกินกว่า 40% ขนาดของยา furosemide อาจเริ่มที่ 20-40 mg/วัน และอาจปรับเพิ่มขนาดของยาได้จนถึง 160 mg/วัน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยได้แก่ hypokalemia hypochloremic alkalosis hyponatremia hypovolemia และ renal dysfunction มีการศึกษาถึงการให้ diuretics รับประทานร่วมกับ albumin 12.5 g/วัน ทางหลอดเลือดดำ ขณะอยู่ ร.พ. และ 25 g/สัปดาห์ เมื่อกลับบ้านเป็นเวลา 3 ปี เทียบกับไม่ให้ พบว่ากลุ่มที่ได้ albumin มีระยะเวลาอยู่ ร.พ. น้อยกว่าและ ascites หายไปได้เร็วกว่า และการเกิด ascites ซ้ำใหม่น้อยกว่า แต่อาจไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย



ภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาขับปัสสาวะ


ข้อห้ามการใช้ยาปัสสาวะ

ท้องมาน การรักษา