หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
หมายถึงภาวะที่มีโพแทสเซี่ยมในเลือดสูงกว่าปกติ (> 5.5 mEq/L )ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง อาการของโพแทสเซี่ยมสูงจะมีอาการทางกล้ามเนื้อ และหัวใจ การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในการรักาาจะต้องลดระดับโพแทสเซี่ยมลง
การเจาะเลือดตรวจหากพบว่าโพแทสเซี่ยมสูงอาจจะเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ซึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีโพแทสเซี่ยมสูง ร่างกายขับออกไม่ทัน ซึ่งในกรณีนี้มักจะไม่อันตรายมาก ต่างกับภาวะโพแทสเซี่ยมสูงซึ่งเกิดจากโพแทสเซี่ยมในร่างกายมีมาก สาเหตุที่พบได้แก่
จากการรับประทาน
จากการได้โพแทสเซี่ยมทางน้ำเกลือ
จากการที่โพแทสเซี่ยมออกจากเซลล์
จากการที่ร่างกายขับโพแทสเซี่ยมน้อยลง
ปกติหากสูงไม่มากมักจะไม่มีอาการ จนกระทั่งสูงมากจึงเกิดอาการทางหัวใจได้แก่ ใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าโพแทสเซี่ยมสูง
ปกติแพทย์จะไม่เจาะเลือดเพื่อดูโพแทสเซี่ยมในการตรวจสุขภาพ แพทย์จะตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคบางชนิดเช่นเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน หัวใจวาย ไตวาย ได้รับยาขับปัสสาวะ หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ACE Inhibitor,Angiotesin receptor blocker,aldosterone,ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID หรือในกรณีที่มีการถ่ายเหลว หรืออาเจียน เป็นต้น การวินิจฉัยจะทำโดย
นอกจากนั้นแพทย์จะต้องตรวจหาสาเหตุที่ทำให้โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง ดดยการซักประวัติอย่างละเอียด ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการใช้ยา การตรวจร่างกาย
โพแทสเซี่ยมสูงไม่มาก < 6 mEq/L
และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การรักษาจะให้ยา Na polystyrene sulfonate 30 gram รับประทานทุก 6 ชั่วโมง
โพแทสเซี่ยมอยู่ระหว่าง6-6.5 mEq/L โดยที่คลื่นไฟฟ้ายังไม่เปลี่ยน
โพแทสเซี่ยมอยู่ระหว่าง6-6.5 mEq/L โดยที่คลื่นไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลง
ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ | ภาวะโพแทสเซี่ยมสูง | ภาวะโซเดี่ยมต่ำ | ภาวะโซเดี่ยมสูง
โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว