โรคไตวาย ไตเรื้อรัง ไตเสื่อม คือโรคเดียวกัน
สาเหตุของไตเสื่อม | อาการโรคไตเสื่อม | การวินิจฉัยไตเสื่อม | การแบ่งความรุนแรงของไตเสื่อม | การรักษาไตเสื่อม | การป้องกันไตเสื่อม | โรคแทรกซ้อนของไตเสื่อม
โรคไตเสื่อม ไตเรื้อรัง หรือไตวายเป็นโรคที่ไตทำงานน้อยลงทำให้ไม่สามารถขับของเสียและน้ำส่วนเกิดออกไปทางปัสสาวะ หากไม่แก้ไข ไตก็จะเสื่อมมากขึ้น เมื่อไตเสื่อมถึงระดับหนึ่งจะมีการคั่งของของเสียและน้ำทำให้เกิดอาการของโรคไตวายเรื้อรัง ไตเสื่อมในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการเตือน เมื่อไตเสื่อมถึงระดับหนึ่งจึงเกิดอาการขึ้นมา เป้าหมายของการรักษาไตเสื่อมมุ่งเน้นที่ชลอการเสื่อมของไต โดยการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ ควบคุมอาหาร การปรับพฤติกรรมมาได้

สาเหตุของโรคไตเสื่อม (CKD)
สำหรับผู้ที่มีโรคดังต่อไปนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเสื่อม ส่วนใหญ่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะดังกล่าวได้แก่
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ไขมันในเลือดสูง
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
- เชื้อชาติ African-American, Hispanic, Native American or Asian
- อายุมากกว่า 60 ปี
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาศเป็นโรคไตเสื่อมได้แก่
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- สูบบุหรี่
- อ้วน
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
- เชื้อชาติ African-American, Hispanic, Native American or Asian
- อายุมากกว่า 60 ปี
หากท่านมีโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตเสื่อม หรือมีดรคที่เพิ่มความเสี่ยงท่านจะต้องรักษาโรคนั้นเป็นอย่างดี และหลีกเลี่ยงสมุนไพร หรืออย่าซื้อยารับประทานเอง หรือการรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
- เมื่อท่านทราบว่าเป็นโรคไตก็มาประเมินว่าความรุนแรงของโรคไตอยู่ในขั้นไหนโดยอ่านที่นี่
- การรักษาไตเสื่อม
- การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไตเสื่อม
- การออกกำลังกายสำหรับไตเสื่อม
อาการของโรคไตเสื่อม
ในระยะเริ่มแรกของโรคไตคนอาจไม่พบอาการใด ๆ เมื่อไตเสื่อมถึงระดับหนึ่งจะเกิดอาการ
- ความอ่อนล้าและความเมื่อยล้า
- ข้อเท้าบวมและเท้า
- หายใจถี่
- รู้สึกคลื่นไส้
- ไม่มีสมาธิ
- เลือดในปัสสาวะ
- เหนื่อยง่าย
- คลื่นไส้อาเจียน
- เบื่อาหาร
- ปัสสาวะลดลง
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
- หลงลืม
- คันตามตัว
- แน่หน้าอก หายใจลำบาก หากมีน้ำท่วมปอด
- ความดันโลหิตสูงซึ่งควบคุมยาก
- ตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน.
การวินิจฉัยไตเสื่อม
- ตรวจเลือด แพทย์จะสั่งตรวจ CBC เพือดูความสมบูรญ์ของเม็ดเลือด
- ตรวจการทำงานของไตได้แก่ อัตราการกรองของไต creatinine และ urea นอกจากนั้นแพทย์จะสั่งตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุเช่นโรค SLE
- การตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ หรือเม็ดเลือดแดงหรือตะกอนหรือไม
- การตรวจทางรังสี เพื่อพิจารณาขนาดว่าใหญ่หรือเล็ก หากขนาดใหญ่อาจจะมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกในไต หากขนาดเล็กแสดงว่าไตเสื่อมรูปร่าง ของไตและท่อไต
- การตรวจชิ้นเนื้อไต แพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจโดยการส่องกล้อง
การแบ่งความรุนแรงของไตเสื่อม
ความรุนแรงของโรคไตเสื่อมหรือไตวายแบ่งออกเป็น 5 ระยะตามการเสื่อมของไตได้แก่
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคไตเสื่อม
การรักษาไตเสื่อม
การรักษาไตเสื่อมจะต้องดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น สุรา น้ำหนัก สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารเค็ม การออกกำบังกาย การควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การตรวจปัสสาวะประจำปี การรับประทานยากลุ่ม NSAID
การป้องกันไตเสื่อม
การป้องกันไตเสื่อมต้องเน้นการป้องกันและการรักษาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เพราะสองโรคเป็นสาเหตุของโรคไตเสื่อมที่สำคัญ นอกจากนั้นต้องลดอาหารเค็มด้วย
โรคแทรกซ้อนของไตเสื่อม
โรคแทรกซ้อนของไตเสื่อมจะเกิดเมื่อไตเสื่อมรดับหนึ่งดรคแทรกซ้อนที่พบได้แก่
- มีการคั่งของน้ำและเกลือแร่ทำให้เกิดอาการบวมเท้า ความดันโลหิตสูงขึ้น น้ำท่วมปอด
- มีการคั่งของโพแทสเซี่ยม หากสูงจะมีปัญหาการเต้นของหัวใจ
- เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กระดูกหักง่าย
- โลหิตจาง
- ความต้องการทางเพศลดลง
- สมาธิไม่ดี อาจจะมีอาการชัก
- ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ไตวายเรื้อรัง