ท้องมาน (ascites)
ท้องมานหมายถึง ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้อง โดยปกติช่องท้องจะอยู่ใต้ช่องอก แยกจากกันด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม น้ำในช่องท้องที่มีปริมาณตั้งแต่ 1500 มิลิลิตรจึงจะตรวจร่างกายพบ น้ำปริมาตรตั้งแต่ 500 มิลิลิตรจึงตรวจด้วย ultrasound หากปริมาณน้อยกว่านี้จะตรวจไม่พบ น้ำในช่องท้องมีแหล่งที่มาได้ต่างๆ กัน โดยเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็ง โรคหัวใจล้มเหลว และโรคไต
ความรุนแรงของท้องมานGrading of ascites สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 grade โดย
- Grade 1 พบว่ามี ascites เพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจ ultrasound
- Grade 2 พบว่ามี ascites เพียงปานกลาง สามารถตรวจร่างกายพบได้
- Grade 3 พบว่ามี ascites ปริมาณมาก ท้องของผู้ป่วยมักจะตึงแน่น
การแบ่งชนิดของท้องมาน
โดยทั่วไปแบ่งภาวะท้องมานออกเป็นสองชนิด เรียกว่า Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนชนิดแอลบูมินในสารน้ำช่องท้อง เทียบกับระดับของแอลบูมินในเลือด พบว่าน้ำในช่องท้องที่เกิดจากโรคตับแข็งหรือภาวะหัวใจวายจะมีค่าอัตราส่วนที่มากกว่า 1.1 ในขณะที่ภาวะท้องมานที่เกิดจากมะเร็งหรือโรคตับอ่อนอักเสบจะมีค่าอัตราส่วนน้อยกว่า 1.1 และควรตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้า ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย
คำนิยามท้องมาน
Uncomplicated ascites คือ ascites ที่ไม่มีการติดเชื้อในช่องท้อง หรือไม่ได้เกิดร่วมกับ hepatorenal syndrome
Refractory ascites คือ ascites ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา พบว่า 5-10% ของผู้ป่วย ascites ทั่วไปจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีลักษณะที่เข้าได้กับ refractory ascites โดยมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยดังนี้
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะอย่างเต็มขนาดของยา โดยใช้ spironolactone 400 mg/วัน และ furosemide 160 mg/วัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และร่วมกับทำการควบคุมปริมาณการรับประทานเกลือโซเดียม โดยให้น้อยกว่า 90 mmole หรือ 5.2 กรัมของเกลือต่อวันแล้วยังไม่สามารถควบคุมปริมาณ ascites ได้โดยสามารถดูได้จากการที่
- ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดน้อยกว่า 0.8 กิโลกรัม 4 วัน และปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายขับออกทางปัสสาวะน้อยกว่าปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายได้รับ
- และพบว่ามี ascites เกิดขึ้นใหม่ขนาด grade 2 หรือ 3 ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์
- หรือเกิดภาวะข้างเคียงจากการเพิ่มยาขับปัสสาวะ เช่น
- เกิด hepatic encephalopathy โดยไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
- มีการเสื่อมของไตโดยที่ค่า creatinine เพิ่มมากกว่า 100% หรือมากกว่า 2 mg/dl ในผู้ป่วย ascites ที่ตอบสนองต่อการรักษา
- เกิดภาวะ diuretic-induced hyponatremia ค่าซีรั่มโซเดียมลดลงมากกว่า 10 mmol/l หรือระดับซีรั่มโซเดียมน้อยกว่า 125 mmol/l
- เกิดภาวะ hypo หรือ hyperkalemia ค่าโปรแตสเซียมที่เปลี่ยนแปลงจนน้อยกว่า 3 หรือมากกว่า 6 mmol/l
สาเหตุท้องมาน
- โรคตับ โดยเฉพาะโรคตับแข็งจากสาเหตุใดก็ตาม พบได้ประมาณร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานทั้งหมด การเกิดน้ำในช่องท้องเป็นผลจากความดันเลือดในตับเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่วมกับระดับแอลบูมินในเลือดลดต่ำลง แอลบูมินเป็นโปรตีนในเลือดทำหน้าที่สำคัญในการดึงสารน้ำไว้ในกระแสเลือด เมื่อระดับลดต่ำลง ความดันที่แตกต่างกันระหว่างภายในกับภายนอกหลอดเลือดทำให้น้ำรั่วออกไปนอกหลอดเลือด โดยเข้าไปอยู่ในช่องท้องเกิดเป็นภาวะท้องมานขึ้น
Cirrhosis:
- ผู้ป่วยตับแข็งจะมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องท้องมานซึ่งเป็นอาการบ่อยที่สุด และเมื่อเกิดท้องมานแล้วจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่ม
- ร้อยละ75ของผู้ป่วยท้องมานเป็นตับแข็ง ร้อยละ50ของผู้ป่วยตับแข็งจะมีท้องมานในระยะเวลา 10 ปี
- การท้องมาน บวมที่เท้า หรือมีน้ำในช่องอกจะเป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยโรคตับในระยะสุดท้ายและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
- ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งมานาน และต่อมาเกิดท้องมานให้ระวังโรคมะเร็งตับแทรก
- มะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งที่กระจายมาที่ช่องท้อง เป็นต้น
โรคมะเร็งจะเป็นสาเหตุของท้องมานร้อยละ 15 มะเร็งที่ทำให้เกิดน้ำในช่องท้องได้แก่
- มะเร็งของโรคทางเดินอาหารได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อื่น เช่นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- โรคไต
- ภาวะขาดแอลบูมิน (โปรตีนไข่ขาว)ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหาร ท้องร่วงเรื้อรัง หรือโรคไตรั่ว
- ภาวะช่องท้องอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น การติดเชื้อเช่นเชื้อวัณโรค ภูมิแพ้
- สาเหตุจากโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากพิษสุราเรื้อรัง บางรายอาจเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน หรืออุบัติเหตุที่ตับอ่อน
- เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ของตับ ซึ่งพบได้น้อยมาก
อาการท้องมาน
ผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานจะมีอาการ
- แน่นท้อง ท้องโตขึ้น ถ้าน้ำขังอยู่ในท้องมากๆ อาจจะทำให้หนังท้องปริแล้วมีน้ำซึมออกมาได้
- บางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยหายใจติดขัด
- น้ำหนักเพิ่มเนื่องจากการคั่งของน้ำและเกลือ
- คลื่นไส้และเบื่ออาหารเนื่องจากน้ำในช่องท้องกดกระเพาะอาหาร
- อาการของโรคที่เป็นสาเหตุ
การตรวจร่างกาย
- ตรวจท่านอนและยืน ท่านอนนำจะไหลออกด้านข้างทำให้บวมออกด้านข้าง ส่วนท่ายืนน้ำจะไหลลงมาท้องน้อยทำให้บวมบริเวณท้องน้อย
- หากน้ำมีมากทำดันสะดือออกมาเกิดไส้เลื่อน
- อาการของตับ เช่นดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง
เต้านมโต |
มีหลอดเลือดเป็นตุ่ม |
ดีซ่าน |
ฝ่ามือแดง |
การวินิจฉัยท้องมาน
จุดประสงค์ของการวินิจฉัยคือ
- ตรวจเพื่อยืนยันว่าท้องที่โตเกิดจากน้ำคั่งในท้อง
- ตรวจหาสาเหตุของการเกิดท้องมาน
- ตรวจหาโรคแทรกซ้อน
การตรวจเลือด
การตรวจทางรังสี ที่สำคัญคือ
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในช่องท้อง เพื่อตรวจตับ ตรวจหามะเร็งในช่องท้อง หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมายังช่องท้อง
- การถ่ายภาพรังสีทรวงอกเพื่อตรวจขนาดหัวใจ และน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
- การตรวจอคมพิวเตอร์ช่องท้องหากการตรวจชนิดอื่นไม่ได้ผล
การเจาะน้ำในช่องท้อง
ตรวจวิเคราะห์สารน้ำในช่องท้อง นับเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว วัดระดับของแอลบูมิน ย้อมสีแกรมและส่งเพาะเชื้อ วัดระดับอะมัยเลส กลูโคส โปรตีน รวมทั้งส่งตรวจหาเซลล์ผิดปกต
การติดตามโรค
เราสามารถติดตามโรคท้องมานว่าเป็นมากขึ้นหรือไม่โดยติดตามจาก
- วัดรอบเอวที่จุดเดียวกัน
- ชั่งน้ำหนัก หากมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างรวดเร็วหมายถึงมีการคั่งของน้ำ
Prognosis
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิด ascites ถือว่ามีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มีอัตราการเสียชีวิตถึง 40% ใน 2 ปี โดยเฉพาะถ้าพบว่ามี ,ean arterial pressure ≤ 82 mmHg การขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ ≤ 1.5 mEq ต่อวัน, GFR ≤ 50 ml/นาที, norepinephrine ในพลาสมา ≥ 570 pg/ml, ภาวะทุกโภชนาการ, ตับโต, อุลบูมินในซีรั่ม ≤ 2.8 mg/dl
ตับแข็ง