การควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วน

การลดพลังงานจากอาหาร

ตัวอย่างการคำนวณ

ชายน้ำหนัก 85 กก.สูง 160 ซม

BMI =85/1.6*1.6= 33.20=อ้วน

พลังงานที่คำนวณได้=85*25=2125 kcal

พลังงานที่ลดแล้ว=2125-500=1625 kcal

แต่ละมื้อไม่ควรเกิน 500 kcal

คนปกติคนเราต้องการพลังงานประมาณ 25-35 กิโลแคลอรี/น้ำหนัก 1 กิโลกรัมดังนั้นเราสามารถคำนวณพลังงานที่เราควรได้รับในแต่ละวัน โดยเอาน้ำหนักคูณด้วย 25 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นพลังงานทั้งหมด ถ้าเราต้องการลดน้ำหนักให้เอา 500 กิโลแคลอรีลบจากที่คำนวณได้จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน นำพลังงานที่ได้หารด้วย3 จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละมื้อโดยทั่วไปถ้าหากต้องการลดน้ำหนักผู้หญิงควรได้พลังงานวันละ 1000-1200 กิโลแคลอรี สำหรับผู้ชายควรได้ 1200-1600 กิโลแคลอรีซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลง ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานต่ำจะทำให้น้ำหนักลดในช่วงแรก แต่เมื่อหยุดอาหารเหลวก็จะกลับอ้วนขึ้นมาใหม่

สารอาหาร

คำแนะนำ

พลังงาน

ให้ลดจากพลังงานที่ต้องการวันละ500-1000 กิโลแคลอรี

ปริมาณไขมัน

ไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงาน

ไขมันอิ่มตัว

อยู่ระหว่างร้อยละ8-10 ของพลังงาน

monounsaturated fat

ให้ร้อยละ 15 ของพลังงาน

ไขมันไม่อิ่มตัว

ให้ร้อยละ 10ของพลังงาน

ปริมาณ cholesterol

น้อยกว่า 300 มิลิกรัม/วัน

โปรตีน

ให้ร้อยละ 15 ของพลังงาน

คาร์โบไฮเดรต

ให้ร้อยละ 55 ของพลังงาน

เกลือ

ให้น้อยกว่า 6 กรัมของเกลือแกง

แคลเซียม

1000-1500 มิลิกรัม/วัน

ใยอาหาร

20-30 กรัม/วัน

หลักของการลดน้ำหนัก

  1. เมื่อรับประทานอาหารให้พยายามนึกถึงปริมาณพลังงานที่เรารับประทาน แทนน้ำหนัก หรือชิ้น
  1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพ
  2. เลือกอาหารแป้งที่ถูกต้อง แม้ว่าปริมาณแป้งที่เรารับประทานจะมากถึงร้อละ 40-55 % การเลือกอาหารแป้งก็มีความสำคัญ ต้องเลือกแป้งที่มาจากธัญพืช พวกแป้งควรเป็นแป้งเชิงซ้อน เช่นข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ แทนน้ำตาล
  3. ลดอาหารที่ให้ความหวาน เช่น candies, cakes, cookies, muffins, pies, doughnuts and frozen desserts
  4. ลดอาหารไขมันลง เนื่องจากอาหารไขมันจะให้พลังงานมากกว่าพวกแป้งและเนื้อสัตว์เท่าตัว
  5. เมื่อรับประทานอาหารต้องกะปริมาณอย่าให้มากไป
  6. พยายามคำนวณอาหารที่รับประทานออกเป็นพลังงาน
  • ลดพลังงานจากที่ต้องการวันละ 500 กิโลแคลอรีทำให้น้ำหนักลดลง 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ไม่ควรรับสุราเพราะจะทำให้อ้วน
  • ผู้ที่ไขมันในเลือดสูงต้องลดปริมาณไขมันลงอีก cholesterol ให้น้อยกว่า 200 มิลิกรัม/วัน ไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ7
  • โปรตีนให้เลือกที่มาจากพืช
  • ระหว่างลดน้ำหนักต้องได้วิตามินและเกลือแร่อย่างพอเพียง

ารเปลี่ยนแปลงอาหารสำหรับคนอ้วน

คนอ้วนจะมีกระเพาะที่ใหญ่กว่าคนปกติเนื่องจากกระเพาะถูกยืดจากอาหาร ดังนั้นจึงมีอาการหิวบ่อยทำให้การควบคุมอาหารประสบผลสำเร็จน้อยแต่อย่าเพิ่งย่อท้อ ให้พยายามควบคุมอาหารและออกกำลังกาย

  1. ให้ลดอาหารไขมัน และน้ำตาล เพิ่มอาหารที่มีใยอาหาร เช่นผักและผลไม้ ผู้ที่ลดอาหารมันในระยะยาวจะต้องรับวิตามินเสริมเช่น vitamins A และ E, folic acid, calcium, iron and zinc
  2. ไขมันทดแทน Fat Substitutes ที่มีขายในท้องตลาดเช่น cellulose gel Avicel, Carrageenan (ทำจาก seaweed) guar gum, and gum arabic พวกนี้จะไม่ถูกดูดซึมทำให้เกิดท้องร่วง และปวดท้องและมีวิตามินลดลงเช่น vitamins A, K, D, and E ดังนั้นต้องไดรับวิตามินเหล่านี้เสริม
  3. ใยอาหาร ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องเพิ่มอาหารที่มีใยอาหาร เช่นผักผลไม้ ธัญพืชเนื่องจากใยอาหารจะลดการดูดซึมไขมัน และยังป้องกันการขาดวิตามินทำให้ลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ
  4. น้ำตาลทดแทน ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลเช่น saccharin, aspartame

การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

  • พยายามรับประทานอาหารเฉพาะในมื้ออาหารโดยเฉพาะที่โต๊ะอาหาร และลุกขึ้นจากโต๊ะทันทีที่อิ่ม
  • รับประทานวันละ 3 มื้อ
  • รับประทานอาหารเช้าทุกวัน
  • อย่าอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • เลือกอาหารว่างที่มีไขมันต่ำ
  • รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี
  • ใช้จานใจเล็กๆ เพื่อป้องกันการรับประทานอาหารมากไป หลีกเลี่ยงการเติมอาหารครั้งที่ 2
  • รับประทานอาหารอย่างช้าๆ เคี้ยวอาหารแต่ละคำช้าๆ
  • ดื่มน้ำมากๆทั้งในมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร ดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนอาหาร
  • พยายามเลี่ยงอาหารที่ใช้มือหยิบ เพราะคุณจะเพลินกับการรับประทานอาหาร
  • อย่าเสียดายของเหลือ ไม่จำเป็นต้องทานอาหารจนหมดจาน
  • จำกัดเนื้อสัตว์ไม่ติดมันไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ
  • รับประทานเนื้อปลาเป็นหลัก เนื้อไก่และเป็ดให้ลอกหนังออก
  • ลือกอาหารที่มีไขมันต่ำแทนอาหารที่มีไขมันสูง
  • อย่าเตรียมอาหารมากเกินความจำเป็น
  • หลีกเลี่ยงอาหารพวก ทอด ผัด แกงกะทิ ให้ใช้ อบ นึ่ง เผา
  • อย่าวางอาหารจานโปรดหรือของว่างไว้รอบๆตัว
  • อย่าทำกิจกรรมอื่นๆระหว่างรับประทานอาหาร เช่นอ่านหนังสือ,ดูโทรทัศน์ เพราะจะรับประทานอาหารมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว
  • พยายามหางานอดิเรกทำเมื่อเวลาหิว
  • อาหารเหลือให้เก็บทันที
  • ไม่หยิบหรือชิมอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยครีม เครื่องจิ้มที่มีไขมันสูง

สรุปสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร

  • พลังงานที่ได้จากอาหารแต่ละชนิด
  • สารอาหาร เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน
  • อ่านสลากอาหารว่ามีปริมาณพลังงานเท่าใด
  • การเลือกซื้ออาหารที่มีพลังงานน้อย
  • การเตรียมอาหารที่มีไขมันน้อยหลีกเลี่ยงการผัด ทอด ใช้ต้ม เผา อบ นึ่งแทน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป
  • ดื่มน้ำให้มาก
  • ใช้จานเล็ก