การรักษาโรคความดันโลหิตด้วยยาชนิดเดียว


หลักในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงหากความดันโลหิตสูงไม่มาก และไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่นผู้ป่วยในกลุ่ม 1B,2B ในตารางหน้านี้ จะเลือกการให้ยาชนิดเดียวและเลือกให้ในขนาดต่ำ การเลือกยาอ่านที่นี่ หลังจากนั้นจึงประเมินว่ายานั้นมีผลข้างเคียงหรือผลเสียของยาพอที่ผู้ป่วยจะจะรับได้หรือไม่ และดูการตอบสนองหากสามารถลดความดันตัวบนและตัวล่างลงได้ 20 และ 10 ตามลำดับจะถือว่าตอบสนองต่อยาลดความดันดังกล่าวก็แนะนำให้รับประทานยานั้นต่อ แต่หากไม่สามารถลดความดันโลหิตลงได้ก็มีทางเลือกสองทางคือ

  • เพิ่มขนาดยาให้เต็มที่หรือ
  • เปลี่ยนกลุ่มยากลุ่มใหม่

ในการรักษาผู้ป่วยจะร่วมมือกับแพทย์ในการปรับยาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยให้ผลการลดความดันได้ดี และมีผลข้างเคียงต่ำ

การใช้ยามากกว่าสองชนิดในการรักษาโรคความดันโลหิคสูง

พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะต้องใช้ยาลดความดันโลหิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในควบคุมความดันโลหิตโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไต เป้นต้น นอกจากนั้นจากการศึกษาใหม่ๆแนะนำให้ใช้ยาลดความดันโลหิต 2 ชนิดในการเริ่มต้นรักษาเนื่องจาก

  • การใช้ยาสองชนิดมักจะเริ่มต้นใช้ขนาดยาในขนาดต่ำดังนั้นผลข้างเคียงที่เกิดจากยาจึงต่ำ
  • มียาเม็ดที่ผสมยาสองชนิดรวมกันทำให้สะดวกในการรับประทาน
  • ยาสองชนิดสามารถถคุมความดันได้ตามเป้าหมาย

แพทยฺ์จะเลือกยาลดความดันโลหิตตามระดับความดันโลหิต โรคแทรกซ้อน การตอบสนองต่อยาลดความดันโลหิต ภาวะแทรกซ้อนของยา

การรักษาความดันโลหิต