เมื่อไรจึงจะเริ่มให้การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ก่อนหน้านี้การตัดสินใจรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะพิจารณาจากระดับความดันโลหิต แต่่เนื่องจากคนทั่วไปมักจะมีหลายโรคที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้นการตัดสินใจในการรักษาโรคความดันโลหิต ต้องพิจารณาหลายๆด้าน เช่น
ในการตัดสินใจเริ่มให้การรักษา หรือการกำหนดค่าระดับความดันเป้าหมาย จะต้องประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนสูง หรือต่ำ ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนจะแบ่งเป็น
- ความเสี่ยงต่ำ
- ปานกลาง
- สูง
- และสูงมาก
ในการประเมินความเสี่ยงจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
- เริ่มต้นพิจารณาค่าความดันโลหิตของคุณว่าเท่าใด แล้วมาพิจารณาในแนวตั้ง เวลาพิจารณาจะพิจารณา ทั้งค่าความดันโลหิตตัวบนและความดันโลหิตตัวล่าง โดยพิจารณาค่าที่สูงกว่า เช่นความดันโลหิตวัดได้ 135/95 มิลิเมตรปรอท เราจะจัดอยู่ในเกณฑ์ความดัน GRADE1
- ขั้นสองให้คุณพิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกี่ข้อโดยเปิดหน้าความเสี่ยงดู ความเสี่ยงกี่ข้อจะมาดูตามแนวนอนของตาราง หากคุณความดันโลหิต144/86 คุณมีความเสี่ยง2ข้อ (แนวนอนช่อง2)คุณก็ตกอยู่ในช่องเหลือง แล้วไปดูรายละเอียดข้างล่างว่าช่องสีเหลืองเค้าแนะนำอะไรบ้าง
- ขั้นตอนที่สามก็มาดูว่าอวัยวะคุณได้รับผลเสียหายจากความดันโดยไม่เกิดอาการหรือเปล่า ค่านี้จะได้รับผลจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจ echocardiography การเจาะเลือดหาค่า Creatinin การทำ ultrasound หลอดเลือด การตรวจเบาหวาน หากเป็นเบาหวานก็จะอยู่ในช่องนี้ การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะ ตัวอย่างหากคุณวัดความดันโลหิตได้ 144/86 มีความเสี่ยง2 ข้อ แต่คุณตรวจปัสาวะพบว่ามีไข่ขาว ดังนั้นตารางในแนวนอนจะอยู่ในช่องที่ 3 คุณจะตกในช่องสีส้มแทนที่จะเป็นสีเหลือง
- ขั้นตอนสุดท้ายให้พิจารณาว่าคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตหรือไม่ หากเคยเป็นจะพิจารณาแนวนอนช่องที่ 4
เมื่อพิจารณาครบแล้วคุณก็จะได้ว่าคำแนะนำในการรักษาความดันของคุณอยู่ในสีอะไร คุณก็ไปเลือกอ่านในสีนั้นๆ
ระดับความดันโลหิต |
|
|
ความเสี่ยงในการเกิด โรคหลอดเลือดแข็ง |
120-129/80-84 |
130-139/85-90 |
Grade1
140-159/91-99 |
Grade2
160-179/100-109 |
Grade3
>180/110 |
1 |
ไม่มีความเสี่ยง |
A |
A |
1B |
C |
D |
2 |
มีความเสี่ยง 1-2 ข้อ |
2B |
2B |
C |
C |
E |
3 |
ความเสี่ยง>3 ข้อ |
C |
C |
D |
D |
E |
4 |
มีโรคจากความดันเช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ |
E |
E |
E |
E |
E |
- A สีม่วง คุณมีความดันปกติ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่ากับค่าเฉลี่ย ให้คุณดูแลสุขภาพทั่วไป และตรวจวัดความดันทุกปี
- B สีเขียวความดันคุณเริ่มจะสูงแล้ว หรือคุณเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเริ่มสูง
- 1B ให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3-4 เดือน หากความดันยังไม่ลงสู่ปกติก็พิจารณาให้ยา
- 2B ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นวัดความดันโลหิต
- Cสีเหลือง ความดันโลหิตคุณเริ่มสูงและเริ่มมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดปานกลาง คำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหากความดันโลหิตไม่ลงพิจารณาให้ยา แต่ไม่ควรจะเกินหนึ่งเดือน
- D สีน้ำตาล ความดันคุณสูงมากไปแล้วหรือคุณอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ดังนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปพร้อมกับการรับประทานยา
- E สีแดง ความดันคุณสูงและทำให้เกิดโรคกับอวัยวะที่สำคัญ ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงมาก ดังนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรับประทานยาลดความดันโลหิต
ซึ่งประเมินความเสี่ยงต่อการตายจาก CVD ในระยะ 10 ปี โดยใช้อายุ, เพศ, การสูบบุหรี่, total cholesterol และ SBP ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยต่อไปนี้
- ผู้ที่ไม่ออกกาลังกายและผู้ที่มี central obesity ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจะสัมพันธ์กับน้าหนักที่พบในคนหนุ่มสาวมากกว่าผู้สูงอายุ
- ผู้ที่ถูกสังคมทอดทิ้งและผู้ที่เป็นชนกลุ่มน้อย
- ผู้ที่มี fasting plasma glucose (FPG) สูงและ/หรือมี glucose tolerance test (GTT) ผิดปกติ ซึ่งยังไม่เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่มีระดับ triglyceride, fibrinogen, apolipoprotein B, lipoprotein (a) และ high-sensitivity, C-reactive protein (hs-CRP) สูง
- ผู้ที่มีประวัติ premature CVD ในครอบครัว (เกิดก่อนอายุ 55 ปี ในชายและอายุ 65 ปี ในหญิง)
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เพศและอายุ ชาย >55 yrs:หญิง >65 yrs)
- การสูบบุหรี่
- ไขมันในเลือดสูง
- Total chol >4.9 mmol/L (190 mg/dL),
- และหรือ LDL-C >3.0 mmol/L (115 mg/dL),
- และหรือ HDL-C:ชาย <1.0 mmol/L (40 mg/dL),
- หญิง <1.2 mmol/L (46 mg/dL),
- และหรือTriglycerides >1.7 mmol/L (150 mg/dL)
- ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร FPG 5.6-6.9 mmol/L (100-125 mg/dL)
- Abnormal GTT
- โรคอ้วน [BMI >25 kg/m2 (height2)]
- อ้วนลงพุง (รอบเอว:ชาย >90 cm;หญิง >80 cm in Asians)
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย (ชาย <55 yrs; หญิง <65 yrs)
อวัยวะเสียหายโดยไม่มีอาการ
- ความแตกต่างระหว่างตัวบนและตัวล่างมากกว่า (in the elderly) 60 mmHg
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG:พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาLVH
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนา Echocardiographic LVH
- ผนังหลอดเลือดแดงที่คอมกกว่า (IMT >0.9 mm)
- ABI <0.9
- ไตเสื่อมและมีอัตรากรองของไต(CKD with eGFR) 30-60 ml/min/1.73 m2 (BSA)
- พบโปรตีนในปัสสาวะ MAU (30-300 mg/24 h), or alb-Cr ratio (30-300 mg/g; 3.4-34 mg/mmol) (preferentially on morning spot urine)
เป็นเบาหวาน
- นำตาลอดอาหารมากกว่า FPG >7.0 mmol/L (126 mg/dL) โดยต้องตรวจสองครั้ง
- น้ำตาลเฉลี่ยมากกว่า HbA1c >7% (53 mmol/mol),
- น้ำตาลหลังอาหาร >11.0 mmol/L (198 mg/dL)
มีโรคหัวใจและโรคไตจากความดันโลหิต
- โรคหลอดเลือดสมอง:ได้แก่สมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง TIA
- โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบได้แก่โรค กล้ามเนื้อหัวใจตายจากขาดเลือด เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ที่ทำballon หรือการทำ CABG
- หัวใจวาย
- หลอดเลือดขาตีบ
- ไตเสื่อมโดยมีอัตรากรองของไตน้อยกว่า 30 mL/min/1.73 m2 (BSA); มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า(proteinuria) (>300 mg/24 h)
- มีการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา