การตรวจพิเศษเมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูงแพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพื่อ
- ให้ทราบว่าท่านมีโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงหรือยัง
- เพื่อหาหลักฐานของปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม
- ตรวจหาความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
- ตรวจเพื่อหาว่าท่านมีโรคร่วมหรือไม่
- เพื่อใช้ในการติดตามโรคความดัน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจเบื้องต้นสาหรับผู้ป่วยทุกราย
2. การตรวจเพิ่มเติมซึ่งขึ้นอยู่กับประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกายและผลตรวจจากการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการจากข้อ1
- การตรวจหาค่าน้ำตาลเฉลี่ย HbA1c (หากน้ำตาลก่อนอาหาร FPG > 102 มก./ดล. หรือได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานมาก่อน
- ตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (หากการตรวจ dipstick ให้ผลบวก) ความเข้มข้นของ K และ Na ในปัสสาวะและอัตราส่วนของเกลือแร่ดังกล่าว
- การวัดความดันโลหิตที่บ้าน HBPM และ หรือการวัดความดันโลหิต24-h ABPM
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจ Echocardiogram
- การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง Holter monitoring ในรายที่มี หัวใจเต้นผิดปกติ arrhythmia
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหลอดเลือดที่คอเพื่อตรวจหาความหนาของผนังหลอดเลือด Carotid ultrasound
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหลอดเลือดแดงส่วนปลายและช่องท้อง
- การตรวจ Pulse wave velocity (PWV)
- การวัดความดันโลหิตแขนและขา Ankle-brachial index (ABI)
- การตรวจจอประสาทตา Fundoscopy
3. การประเมินเพิ่มเติมหากสงสัยว่าจะเป็นโรคจากความดันโลหิตสูงได้แก่
- การตรวจหาการทำลายของสมอง, หัวใจ, ไตและหลอดเลือด ซึ่งจะตรจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา และผู้ที่มีผลแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
- การตรวจหาความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุ(ทุติยภูมิ) เมื่อมีแนวโน้มจะเป็นจากการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาการทำลายอวัยวะที่ไม่มีอาการ
มีหลักฐานจำนวนมากที่แสดงว่ามีการทำลายของอวัยวะโดยที่ไม่มีอาการเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและผู้ที่ไม่เป็น การตรวจพบการทำลายอวัยวะโดยไม่เกิดอาการ 4 อย่าง คือ microalbuminuria, PWV ที่เพิ่มขึ้น, LVH และ carotid plaque ที่สามารถทานายอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
1.การตรวจหัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ดู strain, ischemia, conduction abnormality, LA dilatation และ arrhythmia รวมทั้ง AF
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiography เพื่อตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ( LV mass index),ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ diastolic function
- การตรวจ Cardiac MRI
- การตรวจหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยการตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน exercise test หรือการตรวจชนิดอื่นเช่น stress cardiac MRI, perfusion scintigraphy หรือ stress echocardiography และการฉีดสี coronary angiography
2.การตรวจหลอดเลือดแดง
- การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ Carotid arteryโดยการตรวจความหนาของผนังหลอดเลือด หรือครบที่ผนังหลอดเลือด carotid intema media thickness (IMT) และ/หรือ plaque
- Pulse wave velocity (PWC)
- Ankle brachial index (ABI) ซึ่งเป็นการตรวจหาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายจากเส้นเลือดแข็ง atherosclerosis
3.การตรวจไต
เมื่ออัตรากรองของไต eGFR <60 มล./นาที/1.73 ม2 จะเป็นโรคไตเรื้อรังซึ่งเริ่มจาก
- ไตเสื่อมระยะที่ 3 stage 3 อัตรากรองของไตอยู่ระหว่าง60-30 มล./นาที/1.73 ม2
- ไตเสื่อมระยะที่4 stage 4 อัตรากรองของไตอยู่ระหว่าง 30-15 มล./นาที/1.73 ม2 และ
- ไตเสื่อมระยะที่5 stage 5 อัตรากรองของไตน้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ม2
ขณะที่ serum creatinine ที่สูงขึ้น หรือ eGFR ที่ลดลงจะแสดงถึงสมรรถภาพไตที่ลดลง
การตรวจพบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ albuminuria หรือโปรตีนในปัสสาวะก็แสดงถึงการกรองที่ไต ผิดปกติ การพบ microalbuminuria (MAU) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 T1DM หรือเบาหวานชนิดที่2 T2DM ก็ทำนายการเกิดไตเสื่อมจากโรคเบาหวานได้ ขณะที่การพบ macroalbuminuria ก็บ่งชี้ว่าเกิดโรคไตแล้ว
4. จอประสาทตา
การตรวจความกว้างของหลอดเลือดในตาพบว่าความกว้างของหลอดแดงเมื่อเทียบกับหลอดเลือดดำในจอรับภาพตา จะทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด
5. สมอง MRI ของสมอง
- จะพบมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมอง( white matter hyperintensity )ซึ่งพบบ่อยที่สุด และพบในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงเป็นส่วนใหญ่
- พบ silent infarct ในลักษณะ lacunar infarction ร้อยละ 10-30
- ทั้ง white matter hyperintensity และ infarct สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
6. ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกรายควรได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นหาความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ โดยใช้ประวัติทางคลินิก, การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น
การตรวจที่แพทย์แนะนำได้แก่
การตรวจดังกล่าวควรจะทำทุกราย และทำให้ครบ ผู้ป่วยบางรายแพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมเช่น
- การตรวจคลื่นเสียงหัวใจ หรือที่เรียกว่า Echocardiography เพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ หรือมีการเคลื่อนไหวดีหรือไม่
- ตรวจหาปริมาณโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ
- การตรวจความหนาของผนังหลอดเลือดโดยใช้เครื่องคลื่นเสียง carotid intima thickness หากหลอดเลือดเริ่มมีการแข็งตัวผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (carotid )จะหนาตัว
- วัดความดันที่แขนเมื่อเทียบกับที่เท้าหากเส้นเลือดตีบความดันที่เท้าจะสูงกว่าที่แขนมาก อ่านที่นี่
- ตรวจจอประสาทตา หากความดันโลหิตสูงนานๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา
- หากน้ำตาลมากกว่า100 แต่น้อยกว่า 126 มก%จะนัดตรวจ glucose tolerant test เพื่อดูว่าเป็นโรคเบาหวานหรือเปล่า
- วัดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง
- วัดความเร็วของเลือด
- โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
รวบรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ระดับของความดัน systolic และ diastolic
- ระดับความต่างของความดัน systolic และ diastolic มากกว่า 60 mmHg
- ผู้ชายอายุมากกว่า 55 ปี ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี
- สูบบุหรี่
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- Total cholesterol >200 mg%
- LDL-C>130 mg%
- HDL-C<40mg% ในชาย <50mg%ในหญิง
- Triglyceride>150 mg%
- น้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่า100-125
- การทดสอบความทนต่อกลูโคสให้ผลบวก
- ประวัติเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของญาติสายตรงก่อนเวลาอันควร
- อ้วนลงพุง