การวัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่องที่บ้าน Ambulatory BP (ABP) Measurement
คือการวัดความดันโลหิตที่มีเครื่องมือติดกับคนไข้วัดตลอด 24 ชั่วโมง การวัดความดันจะวัดทุก 15-30 นาทีทั้งเวลานอนและตื่น ค่าความดันจะเก็บไว้ในหน่วยความจำ แต่อย่างไรก็ตามการวัดความดันมาตราฐานยังคงมีความสำคัญ สำหรับการวัดความดันชนิดนี้จะมีประโยชน์ดังนี้
- ระดับความดันโลหิต มีความสัมพันธ์กับอวัยวะที่เสียหายจากความดันโลหิต โดยที่ไม่เกิดอาการ
- มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือด
- การวัดด้วยวิธีนี้ จะให้รายละเอียดมากกว่าการวัดความดันโลหิตตามคลินิก โดยจะวัดความดันโลหิตทั้งในเวลากลางวัน กลางคืน ตอนเช้า ตอนมีกิจกรรม
คนไหนที่จะใช้วิธีวัดความดันโลหิตแบบนี้
- ค่าความดันโลหิตที่วัดได้แต่ละครั้งมีความแตกต่างกันมาก
- ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตได้สูง โดยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ
- ความดันโลหิตที่วัดที่บ้าน และที่โรงพยาบาลมีความแตกต่าง
- ให้ยาลดความดันโลหิตแล้วความดันไม่ลด
- สำหรับผู้ที่จะเกิดความดันโลหิตต่ำหลังจากได้ยาได้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูงในผู้ที่ตั้งครรภ์
วิธีการวัด Ambulatory BP (ABP) Measurement
- ควรติดที่แขนที่ไม่ถนัด (non dominant arm) เป็นเวลา 24-25 ชั่วโมง ขณะติดเครื่องค่าที่วัดได้จากเครื่องดังกล่าวครั้งแรกต้องต่างจากค่าที่วัดโดยผู้ทาการติดไม่เกิน 5 มม.ปรอท ผู้ป่วยควรจดบันทึกอาการหรือเหตุการณ์ที่อาจมีผลต่อความดันโลหิต รวมทั้งเวลารับประทานยา, อาหารและเวลาเข้านอนและเวลาตื่น ควรวัดทุก 15 นาทีในตอนกลางวันและทุก 30 นาทีในตอนกลางคืน หรือทุก 20 นาทีตลอด 24 ชั่วโมง
- ความดันโลหิตเวลากลางวัน Daytime, ความดันโลหิตเวลากลางคืน nighttime และ ความดันโลหิต24ชั่วโมง ค่าดังกล่าวจะคำนวณเฉลี่ยจากสมุดบันทึก หรือเฉลี่ยจาก 10.00 น.-20.00 น. (daytime ความดันโลหิตกลางวัน) และจาก 24.00 น.-06.00 น. (nighttime ความดันโลหิตกลางคืน) หรือ 09.00 น.-21.00 น. และ 01.00 น.-06.00 น. เป็นต้น และ ความดันโลหิต เฉลี่ย 24 ชม.
- หากคำนวณ night-to-day ความดันโลหิต ratio ได้ >1.0 เป็น non-dipper,
- >0.9 แต่ <1.0 เป็น mild dipper,
- >0.8 แต่ <0.9 เป็น dipper
- และ <0.8 เป็น extreme dipper ซึ่ง reproducibility ไม่ดี
non-dipper จะพบในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการนอน obstructive sleep apnea (OSA), ภาวะอ้วน, การรับประทานเค็มในผู้ป่วยที่เป็นที่มีความไวต่อเกลือ, orthostatic hypotension, autonomic dysfunction, โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) diabetic neuropathy และผู้สูงอายุ
การวิเคราะห์เพิ่มเติมจากค่าที่บันทึก ABPM สามารถวิเคราะห์พยากรณืถึงการเกิด ความดันโลหิตสูงในตอนเช้า หลอดเลือดแข็งตัว การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว หลอดเลือดคอตีบ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ข้อควรระวังในการวัดความดันด้วยวิธีนี้
- ต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตราฐาน
- ต้องใช้ผ้าที่รัดแขนที่ได้มาตราฐาน และมีการทดสอบการวัดความดันโลหิตว่ามีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 mmHg
- การตั้งเครื่องให้อ่านค่าความดันโลหิตต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที
- ตั้งค่าให้เครื่องเอาลมออกจากผ้ารัดแขนด้วยความเร็ว 2 มม ปรอท
- แนะนำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตตามปรกติ แต่งดการออกกำลังกายอย่างหนัก
- ให้ผู้ป่วยจดกิจกรรมที่ทำในช่วงที่วัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่อง
- หากการวัดความดันโลหิตน้อยกว่าร้อยละ 70 ให้วัดใหม่อีกครั้ง
- ค่าความดันโลหิตที่วัดแบบ Ambulatory BP (ABP) Measurement จะมีค่าต่ำกว่าวัดที่โรงพยาบาลดังนี้ วัดที่โรงพยาบาลได้ 140/90 mmHG ส่วนการวัดแบบ Ambulatory BP (ABP) Measurement จะได้ 125-130/80 mmHg
ค่าความดันปกติสำหรับการวัดความดันชนิดนี้
ค่าปกติของการวัดความดันชนิด ABP
|
ค่าที่ดี optimal |
ค่าปกติ normal |
ค่าผิดปกติabnormal |
ความดันวัดที่โรงพยาบาล |
<120/80 |
120-129/80-84 |
>130/90 |
กลางวัน |
<130/85 |
<135/85 |
>140/90 |
กลางคืน |
<115/65 |
<127/70 |
>125/75 |
24 ชั่วโมง |
<125/75 |
<130/80 |
>135/85 |
ปกติความดันที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าที่วัดจากโรงพยาบาลประมาณ 5 มมปรอท
กลับหน้าการวัดความดันโลหิต