อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น
ผู้ที่ติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ประมาณ 1 ใน 3 จะเกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยบางส่วนจะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดอย่างเดียว หรืออาจเกิดทั้ง 2 อย่างร่วมกัน และมีผู้ป่วยประมาณ 15% จะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดชนิดที่มีอาการรุนแรง
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะแสดงอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งไม่จำเพาะ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมาจึงจะมีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย โดยอาการจะเป็นอยู่ 1-2 วัน แล้วตามด้วยการเกิดผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะของโรคนี้ คือเริ่มต้นจะเป็นผื่นแบบแบนราบสีแดงจางๆ ต่อมาจะเกิดจุดเลือดออกเล็กๆ สีแดงเข้ม ขนาด 1-2 มิลลิเมตร ในบริเวณผื่นเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า Petechiae โดยมักพบตามลำตัว ขา และบริเวณที่มีแรงกดบ่อยๆ เช่น ขอบกางเกง ขอบถุงเท้า บริเวณอื่นๆที่จะพบได้คือ ใบหน้า มือ แขน เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปาก จุดเลือดออกเหล่านี้บางครั้งอาจกลายเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีเลือดออกเรียกว่า Hemorrhagic bullae ซึ่งอาจเกิดการเน่าและกลายเป็นเนื้อตายได้ หากผู้ป่วยเกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง หลังแข็ง และซึมร่วมด้วย
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดที่มีอาการรุนแรง (Fulminant meningococce mia) อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น แต่จะรุนแรงกว่า คือจะมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก จุดเลือดออกจะขยายเป็นจ้ำเลือดขนาดใหญ่มีสีแดง หรือม่วงคล้ำ เรียกว่า Purpura และจะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เกิดการล้มเหลวของการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ก็จะเสียชีวิตได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง
ผื่นเป็นจุดแดงเหมือนไข้เลือดออก มักพบมากตามแขนขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย ฒฝ
ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก
ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป รูปทั้งสองได้จากThe South Australian Department of Health |
อาการที่พบในเด็ก
- ไข้สูง
- ไม่ดูดนม
- อาเจียน
- เด็กจะซึม ปลุกไม่ตื่น
- ผื่นตามตัวและแขนขา
- ผิวซีด เป็นรอยจ้ำๆ
อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น
- ไข้สูง
- ปวดศรีษะ
- อาเจียน
- คอแข็ง
- ซึมลง
- ผื่นตามแขนขา
- ทนแสงจ้าๆไม่ได้
โดยสรุปอาการที่สำคัญประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง ผื่นจะมีลักษณะจุดแดง หรือดำคล้ำ บางทีมีตุ่มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายใน เนื่องจากการดำเนินโรคเร็วมากจะต้องรีบพาไปพบแพทย์หากมีอาการตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป
การตรวจร่างกาย
- ไข้สูงโดยเฉลี่ย 39.5 องศา
- ผื่นตามลำตัวแขน ขา
- ในรายที่มีอาการรุนแรงผื่นอาจจะรวมตัวเป็นปลื้น
- ความดำโลหิตต่ำในรายที่เป็นรุนแรง
- ตรวจพบคอแข็ง
การวินิจฉัย
- การตรวจเลือด
CBC
จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง
- การตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
- การตรวจหาเชื้อจากเลือด เช่นการเพาะเชื้อจากเลือด การย้อมเชื้อจากเลือด
แนวทางการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น
การให้ยาปฏิชีวนะ
- ผู้ป่วยจะถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกห้องเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
- การรักษาหลักคือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยในเบื้องต้น
- หากยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่นอนจากทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ยาปฏิ ชีวนะชนิดที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆบางโรค ผู้ป่วยจะมีไข้และผื่นที่เป็นจุดเลือดออกคล้ายกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นได้ ยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 หรือใช้ยา Meropenem เป็นต้น
- ในกรณีที่ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะเลือก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ เช่น ยา Penicillin G หรือยา Chloramphenicol เป็นต้น
การรักษาประคับประคอง
- ได้แก่ การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำ
- ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อก ต้องให้สารน้ำปริมาณมาก
- ให้ยากระตุ้นหลอดเลือดและการบีบตัวของหัวใจหากผู้ป่วยมีเลือดออกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งจะทราบได้จากการมีภาวะช็อกยาวนาน และแก้ไขด้วยวิธีต่างๆดังข้างต้นไม่ได้ผล รวมทั้งตรวจเลือดพบปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตลดลง ซึ่งการรักษาก็จะต้องให้ฮอร์โมนดังกล่าว คือฮอร์โมน Glucocorticoid
- สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไม่แข็งตัว เกิดเลือดออก ก็ต้องให้สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
- ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
- ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
- อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
- ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น
เรื่องเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นมีใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 แต่เป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้เพียงชนิดย่อยเดียว ต่อมาจึงได้คิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ถึง 4 ชนิดย่อยใน 1 เข็มคือ ชนิดย่อย A, C, Y, และ W135 ยกเว้นแต่ชนิดย่อย B ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ บุคคลที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ได้แก่
- ผู้ที่ถูกตัดม้าม หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องชนิดที่เรียกว่า Complement component deficiency เพราะคนเหล่านี้เมื่อติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นจะมีโอกาสเป็นแบบติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดชนิดที่รุนแรงได้มากกว่าคนปกติทั่ว ไป
- สำหรับกรณีอื่นๆได้แก่ ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
- ผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา บริเวณที่มีการระบาดของเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นเป็นประ จำ ซึ่งคือประเทศในแถบที่เรียกว่า Sub-Saharan Africa ดังได้กล่าวแล้ว
- หรือเมื่อจะต้องเดิน ทางไปทำพิธีฮัจจ์ ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
- สำหรับในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แนะนำให้ฉีดในวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 11-18 ปี และในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 19-21 ปีที่จะต้องเข้าเรียนในวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย โดยการฉีดวัคซีนกระตุ้นจะทำทุกๆ 5 ปี
- ส่วนบุคคลในวัยอื่นๆ ตั้งแต่อายุ 2 ปี ถึง 55 ปี สามารถที่จะฉีดวัค ซีนได้ถ้าต้องการ
- ส่วนการฉีดในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะเกิดขึ้นเป็นระยะสั้นๆเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ฉีดถ้าไม่มีการระบาดของโรค
- สำหรับในประเทศไทยไม่ได้แนะนำให้บุคคลทั่วไปฉีดวัคซีน เนื่องจากพบผู้ป่วยเพียงประปราย และไม่ได้มีการระบาดเกิดขึ้นเป็นช่วงๆเหมือนในประเทศอื่นๆ ควรพบแพทย์เมื่อไหร่? เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เสมอ คือ เมื่อมีไข้ และมีผื่นที่เป็นจุดเลือดออกที่ผิวหนัง เมื่อมีคนในบ้าน ป่วยเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอพัก ค่ายต่างๆ ชุมชนแออัด เป็นต้น
การป้องกัน
สำหรับบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ปกติ การป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรค อาศัยหลักทั่วๆไปในการป้องกันการติดเชื้อโรคที่มากับทางเดินหายใจ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจำเป็นต้องเข้าไป ควรสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันตนเองจากการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากผู้อื่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หรือปรุงอาหาร รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำ เสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
การให้ยาป้องกันการติดเชื้อควรจะให้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยเท่านั้น
หากมีบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียว กัน รวมทั้งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรกินยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ไม่ควรซื้อยากินเอง หากในพื้นที่ไหนมีรายงานพบผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นมากกว่า 3 คนขึ้นไปในช่วง เวลาไม่เกิน 3 เดือนและมีอัตราผู้ป่วยมากกว่า 10 คนต่อประชากร 100,000 คน จะถือว่าเกิดการระบาดของโรคขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นควรได้รับวัคซีนหรือยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกัน ตามคำแนะนำของแพทย์ ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่
- Sulfonamides
- rifampin 2 วันในผู้ใหญ่ให้ Rifampicin ขนาด 600 มก. ทุก 12 ชั่วโมง รับประทานติดต่อกัน 2 วัน ในเด็กอายุ >1 เดือนให้ Rifampicin ขนาด 10 มก. ทุก 12 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2 วัน
- minocycline,
- Ofloxacin, Ciprofloxacin, Azithromycin 1 ครั้ง
- ใช้การฉีดยา Ceftriaxone 1 ครั้ง
การให้ยาป้องกันการติดต่อควรจะให้ในกลุ่มบุคคลใด
- สมาชิกในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อในช่วง 7 วันก่อนเกิดอาการของโรค เพราะอัตราการติดเชื้อของสมาชิกเพิ่มขึ้น มากกว่า100 เท่า
- day care
- nursing home
- เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเสมหะผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ
- วัคซีนป้องกันโรค และยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโรค อ่านวัคซีนป้องกันโรคที่นี่
ใครเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคกาฬหลังแอ่น คือ
- ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่สัมผัสกับโรค
- ผู้ที่ไปท่องเที่ยงแหล่งระบาด
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน การดื่มน้ำแก้วเเดียวกัน หรือการจูบปากกัน