การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโรคอัลไซเมอร์: สาเหตุ อาการ และเคล็ดลับสําหรับผู้ดูแล์
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงเรีื่อง ความจำ ความคิด ภาษา การตัดสินใจ กระบวนความคิด แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับผู้ที่ต้องดูแล การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่พบบ่อยได้แก่
ผู้ป่วยในระยะเริ่มเป็นโรคจะมีอาการ
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการมากขึ้น
- โกรธ
- ผู้ป่วยวุ่นวายก่อกวน
- ก้าวร้าวทั้งคำพูดและพฤติกรรม
- เครียด
- ไม่อยู่นิ่ง,เดินไปเดินมา ฉีกกระดษา
- ประสาทหลอน เห็นภาพหลอน หูแว่ว พูดคนเดียว
- หลงผิด
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรม
เนื่องจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้ ดังนั้นการแสดงออกทางพฤติกรรมจะเป็นหนทางการสื่อสารว่าผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาทางร่างกาย หรือสิ่งแวดล้อมหรือทางอารมณ์ สภาวะที่อาจจะทำให้กระตุ้นพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แก่
- การที่ผู้ป่วยย้ายที่อยู่
- การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย หรือการเปลี่ยนผู้ดูแล
- ต้องนอนโรงพยาบาล
- เมื่อถูกเรียกให้อาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้า
สำหรับผู้ดูแลเมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจะต้องหาสาเหตุ บางทีผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาทางกายได้แก่การเจ็บป่วย หรือหากเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องแก้ไข
การประเมินเมื่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีพฤติกรรมผิดไป
หากมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยเฉพาะเมื่อเกิดการเปลี่ยนแบบกระทันหันจะต้องมีการประเมินว่ามีโรคทางกาย หรือมีภาวะที่กระตุ้นหรือไม่
- ผลข้างเคียงจากยา เนื่องจากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอรมักจะเป็นผู้ป่วยสูงอายุ และมีโรคประจำตัวจำเป็นต้องรับประทานยาหลายชนิด อาการของผู้ป่วยอาจจะเกิดจากยาที่รับประทาน
- จากโรคทางกาย เช่น การติดเชื้อ ท้องผู้ หรือปวดตามข้อ หรือโรคหัวใจ ต่อมลูกหมากโตและปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถจะประเมินสิ่งที่เกิดกับตัวเอง และไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นรับทราบ จึงจะต้องประเมินโรคทางกายด้วย
- มีปัญหาเรื่องสายตาและการได้ยิน
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
- ผู้ดูและจะต้องสังเกตว่าผู้ป่วยชอบสภาแวดล้อมอะไรบ้าง มั่นสังเกตเรื่องการรับประทานอาหาร การปัสสาวะ การอุจาระ ตรวจผิวหนังว่ามีการอักเสบหรือไม่ อุณหภูมิของห้องต้องพอเหมาะ
- หลีกเลี่ยงการโต้เถียงกับผู้ป่วย เช่นผู้ป่วยบ่นอยากจะพบกับคนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ไม่ต้องบอกว่าเขาเสียชีวิตบอกกับผู้ป่วยว่าก็อยากจะพบเหมือนกัน
- เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วย
- จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ห้องต้องไม่เสียงดัง แสงต้องไม่สว่างมากเกินไป ไม่ควรจะมีทีวีซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนผู้ป่วย
- ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
- สิ่งแวดล้อมต้องปลอดภัย
- เมื่อผู้ป่วยร้องขอเรื่องใดหากเป็นไปได้ก็ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
- เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปไม่ต้องพูดเรื่องถูกผิดจะต้องค้นหาสาเหตุ
การใช้ยารักษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
1ยาต้านซึมเศร้า Antidepressants
ใช้สำหรับรักษาผู้ที่มีภาวะนิ่งไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีภาวะซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวนง่าย ยาที่ใช้ได้แก่:
- citalopram (Celexa)
- fluoxetine (Prozac)
- paroxeine (Paxil)
- sertraline (Zoloft)
- trazodone (Desyrel)
2ยาคลายเครียด
ยาคลายเครียดสำหรับผู้ป่วยที่วิตกกังวล พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมต่อต้าน
- lorazepam (Ativan)
- oxazepam (Serax)
3ยาแก้โรคจิต
สำหรับผู้ที่มีอาการประสาทหลอน หลงผิด ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ต่อต้านและไม่ร่วมมือ
- aripiprazole (Abilify)
- clozapine (Clozaril)
- haloperidol (Haldol)
- olanzapine (Zyprexa)
- quetiapine (Seroquel)
- risperidone (Risperdal)
- ziprasidone (Geodon)
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์