การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer's disease จะวินิจฉัยได้แน่นอนก็หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว และได้ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจร่วมกับอาการของผู้ป่วย แต่ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยจากประวัติการเจ็บป่วยดังนี้
- แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ความสามารถการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคคลิภาพ
- การสังเกตอาการตามลักษณะที่ปรากฏทางประสาทวิทยาและจิตประสาทวิทยา
- ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักพบความบกพร่องของในการรู้ 8 รูปแบบ ได้แก่ด้านความจำ, ภาษา, ทักษะด้านความรู้สึก, ความใส่ใจ, ทักษะการตีความ, การรู้กาลเทศะและบุคคล, การแก้ปัญหา และความสามารถเชิงหน้าที่จึงต้องมีการทดสอบ
- มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรค
- มีการตรวจ computed tomography (CT) หรือ magnetic resonance imaging (MRI),ร่วมกับ Single photon emission computed tomography (SPECT) หรือโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (เพท สแกน; PET) เพื่อแยกเนื้องอกสมอง และโรคหลอดเลือดสมอง
แม้ว่าโรคนี้จะยังไม่มียารักษาและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพยากรณ์ของโรค แต่การวินิจฉัยได้เร็วจะมีประโยชน์ดังนี้
- เพื่อบอกว่าการสูญเสียความจำมิใช่เกิดจากโรคสมองเสื่อม อาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก หรือปัญหาเรื่องการนอนหลับ ผลข้างเคียงของยา
- การรักษาเร็วอาจจะทำให้ชลอการเสื่อมของบางหน้าที่ของสมอง
- การวินิจฉัยได้เร็วเพื่อให้ครอบครัวได้วางแผนในการดูแลผู้ป่วย
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์