หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
อาการขี้ลืมหรือการหลงลืมเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนอาจเผชิญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลืมกุญแจบ้าน ลืมชื่อนัดหมาย หรือแม้กระทั่งลืมวางสิ่งของไว้ที่ไหน อาการเหล่านี้มักไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงในชีวิตประจำวัน แต่หากการลืมเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
อาการขี้ลืมมักเริ่มต้นจากการลืมข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เช่น ลืมชื่อคนที่เพิ่งพบหรือลืมของเล็กๆ น้อยๆ แต่หากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม อาการลืมอาจรุนแรงขึ้นจนส่งผลต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิต
ในบางกรณี การลืมอาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ความสามารถในการจดจำและการทำงานของสมองลดลงอย่างต่อเนื่อง อาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์
เชื่อว่าทุกท่านที่กำลังอ่านคงจะมีการลืม ซึ่งบางคนอาจจะลืมเป็นประจำ โดยเฉพาะคนที่มีภาระกิจมากมายจนกระทั่งต้องจ้างเลขา สำหรับชาวบ้านทั่วไปก็จะลืมกุญแจ ลืมเบอร์โทรศัพท์ จนบางคนกังวลจะเป็นโรคสมองเสื่อม หรือเปล่าหากยาบำรุงสมองรับประทานมากมาย
เมื่ออายุมากขึ้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกดขึ้นกับร่างกาย สมองส่วนที่เรียกว่า hippocampus ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ ย่อมมีความเสื่อมไปบ้างตามอายุ ฮอร์โมนและโปรตีนที่ป้องกัน และกระตุ้นการทำงานของสมองย่อมลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง และการรับประทานอาหาร ที่ไม่ครบถ้วนทำให้สมองดังกล่าวทำงานลดลง
สมองก็เหมือนส่วนอื่นของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ เช่นกล้ามเนื้อหากไม่ได้ใช้หรือไม่ได้ฝึกอวัยวะดังกล่าวก็ไม่แข็งแรง เช่นกล้ามเนื้อ ดังนั้นการที่จะให้ความจำดีจะต้องมีการออกกำลังกายสมองบ้างความจำจึงจะเสื่อมช้าลง
คนสูงอายุที่หลงลืมอาจจะหลงลืมได้บ่อย แต่จะสามารถจดจำในภายหลังหรือเมื่อมีการเตือนก็สามารถจะจำได้ แต่ผู้ที่หลงลืมจากความจำเสื่อมจะลืมเรื่องใหม่ๆที่ได้เรียนรู้ จำวันหรือเหตุการณ์ไม่ได้ จนต้องมีตัวช่วยเช่นสมุดจอ หรือโทรศัพท์ หรือสมาชิกในครอบครัวช่วยซึ่งเป็นสิ่งที่เคยทำได้หรือจำได้
ผู้ที่ขี้ลืมอาจจะลืมในบางเรื่องแต่จะไม่สูญเสียความสามารถในการแก้ปัญหาง่ายเกี่ยวกับตัวเลข เช่นการชำระเงินบัตรเครดิต การจ่ายเงิน การทอนเงิน การแลกเงิน
สำหรับผู้ที่หลงลืมตามอายุอาจจะลืมวิธีการตั้งเครื่องไมโครเวฟ หรือการตั้งค่าทีวีแต่จะเรียนรู้ได้เร็ว และยังสามารถทำงานได้ตามปกติเช่นการใช้เครื่องดูดฝุ่น การต้มข้าวด้วยหม้อข้าวไฟฟ้า การใช้คอมพิวเตอร์ ยังจำหนทางได้ แต่ผู้ที่ขี้ลืมจากสมองเสื่อมจะไม่สามารถทำงานดังกล่าวได้ และจำหนทางไม่ได้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้หลงทางเป็นจำนวนมาก
ผู้ที่ขี้ลืมอาจจะจำวันผิดแต่เมื่อทราบแล้วก็สามารถจำได้ แต่ผู้ที่ความจำเสื่อมจากโรคสมองเสื่อมจะสับสนเรื่องเวลา ฤดูกาล จำสถานที่ไม่ได้ จำเหตุการณืที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้
ผู้ที่ขี้ลืมมักจะไม่มีปัญหาเรื่องการมองเห็น หากเป็นผู้สูงอายุอาจจะมีปัญหาเรื่องต้อกระจก แต่สำหรับผู้ที่สมองเสื่อมจะมีปัญหาเรื่องการอ่าน การแปรผลป้ายสัญญาณจราจร สับสนเรื่องระยะทาง สี ซึ่งจะเป็นปัญหาในการขับรถ
สำหรับผู้ที่ขี้หลงขี้ลืมอาจจะมีบางครั้งที่ใช้คำผิด แต่สำหรับความจำเสื่อมจากโรคสมองเสื่อมนอกจากจะมีปัญหาเรื่องการอ่านแล้วยังมีปัญหาในการใช้ภาษา ผู้ที่เป็นอาจจะหยุดการสนทนากลางคันเนื่องจากไม่รู้ว่าจะพูดอะไร อาจจะมีปัญหาในการใช้คำค่อนข้างมาก และมีปัญหาในการเรียกสิ่งของผิดไป
ผู้ที่ขี้ลืมอาจจะลืมว่าวางของไว้ตรงไหนหากวางผิดที่ แต่ก็สามารถที่จะทบทวนว่าตำแหน่งที่วางอยู่ที่ไหนโดยย้อนความคิดที่ละขั้นตอน แต่ผู้ที่สมองเสื่อมจะวางของผิดที่เช่น วางกุญแจไว้ในตู้เย็น วางกระเป๋าเงินไว้ในถังขยะ หรือบางครั้งซ่อนเงินและจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน
ตัดสินใจแย่ลง
ผู้ที่ขี้ลืมมักจะไม่มีปัญหาในเรื่องการตัดสินใจ หรือหากผิดพลาดก็สามารถที่จะเรียนรู้และป้องกัน แต่ผู้ที่ความจำเสื่อมจากสมองเสื่อมจะสูญเสียความสามารถดังกล่าวโดยเฉพาะเกี่ยวกับตัวเลข เกี่ยวกับการเงิน ไม่สนใจสุขอนามัยส่วนตัว
ผู้ที่ขี้ลืมก็มีโอกาศที่จะแยกตัวจากงานและสังคมหากเขารู้สึกเพลียหรือเครียดจากงาน แต่เมื่อปัญหาหมดไปก็กลับสู่ปกติ แต่ผู่ที่ความจำเสื่อมจากสมองเสื่อมจะไม่สนใจงานอดิเรก ไม่สนใจสังคม ไม่สนใจก๊ฬา เนื่องจากความสามารถในการเข้าทีม และสูญเสียทักษะต่างๆ จึงทำให้เขาหลีกหนีจากงานและสังคม
สำหรับผู้ที่ขี้ลืมอาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดหากมีการรบกวนที่เฉพาะเจาะจง แต่สำหรับผู้ที่ความจำเสื่อมจากสมองเสื่อม จะมีความสับสน วิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน กับเพื่อนฝูง ไม่มีที่ใดที่จะทำให้เขามีความสุข
ข้อแตกต่างของขี้หลงขี้ลืมกับความจำเสื่อมจากสมองเสื่อม
ข้อแตกต่างที่สำคัญสำหรับขี้หลงขี้ลืม และความจำเสื่อมจากสมองเสื่อมคือถ้าแค่ขี้ลืมจะไม่สูญเสียการดำรงชีวิตตามปกติ สามารถใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนได้ แก้ปัญหาทั่วๆไปได้ ไม่มีปัญหาเรื่องการใช้เงิน การทำงาน งานอดิเรก การมีสังคม ยังคงปกติ แต่หากเป็นสมองเสื่อมจะสูญเสียทักษะดังกล่าวข้างต้น
อาการของคนขี้ลืม |
อาการของคนขี้ลืมที่เกิดจากสมองเสื่อม |
---|---|
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่นการใช้เครื่องมือ การหุงข้าว การรีดผ้า แม้ว่าจะมีการลืม |
มีปัญหาการใช้ทักษะที่เคยทำได้เช่น การใส่เสื้อผ้า การหุงข้าว การรีดผ้า การใช้เครื่องซักผ้า มักจะลืมวิธีการใช้ทั้งที่เมื่อก่อนนี้ยังใช้ได้ |
สามารถที่จะทบทวนเรื่องที่ลืมได้ |
ไม่สามารถจะอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดที่ไหน และมีปัญหาอะไร |
สำหรับเส้นทางที่คุ้นเคยจะไม่หลงทาง แต่สำหรับเส้นทางที่ไม่คุ้นก็อาจจะหยุดเพื่อทบทวนเส้นทาง |
มักจะหลงทางแม้ว่าเป็นเส้นทางที่ใช้ประจำ |
อาจจะมีปัญหาในการเลือกใช้คำ แต่ยังสามารถสนทนาต่อได้ |
มักจะมีปัญหาในการใช้คำเพราะลืม ใช้คำไม่ถูกต้อง มีการย้ำประโยคหรือเนื้อหาบ่อยในระหว่างสนทนา |
สามารถตัดสินใจได้เหมาะสม |
มีปัญหาในการตัดสินใจ มักจะแสดงให้เห็นว่าตัดสินใจผิดพลาด |
หากอาการขี้ลืมเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือรุนแรงขึ้น เช่น ลืมเรื่องราวที่สำคัญ ลืมทางกลับบ้าน หรือลืมชื่อตัวเอง อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงกว่า เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ
หากพบว่าคนที่ท่านรู้จักมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้ปรึกษาแพทย์
ภาวะสมองเสื่อม อาหารบำรุงสมอง การทดสอบอาการสมองเสื่อม การเพิ่มความจำ ขี้ลืม การป้องกันการหลงลืม ข้อแตกต่างระหว่างขี้ลืมและสมองเสื่อม