ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia



ภาวะสมองเสื่อมมิใช่โรคแต่เป็นภาวะที่สมองสูญเสียความสามารถในเรื่อง ความจำ ทักษะในการใช้ภาษา การรับรู้ทางสายตา ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะในการวางแผนจัดการ ความจำ ความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่จะติดต่อสื่อสารกับคนอื่น และไม่สามารถที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง อารมณ์แปรปรวน และบุคลิเปลี่ยนแปลง ทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน

สาเหตุที่พบได้แก่

  • โรค Alzheimer's disease ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมร้อยละ80
  • ภาวะสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือดเป็นสาเหตุที่พบรองลงมา

นอกจากนั้นก็ยังมีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งหากวินิจฉัยได้เร็วก็จะทำให้หายได้

อาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เกี่ยวกับเรื่องความจำซึ่งมักจะลืมความจำที่เพิ่งจะเกิด
  • การสื่อสารและการใช้ภาษา
  • สมาธิสั้น
  • เหตุผลและการตัดสินใจ
  • การรับรู้ทางสายตา ไม่สามารถเข้าใจป้ายจราจร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมมักจะมีปัญหาเรื่องความจำในระยะสั้น การชำระเงินตามใบเสร็จ การจ่ายตลาดเพื่อประกอบอาหาร การนัดหมาย ภาวะสมองเสื่อมจะดำเนินโรคแบบช้าๆและอาการเป็นมากขึ้น หากพบคนรู้จักมีปัญหาเรื่องความจำ การตัดสินใจให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

อาการเกี่ยวการรับรู้ เหตุผล ขบวนการตัดสินใจแก้ปัญหา

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมมักจะมีปัญหาเรื่องความจำในระยะสั้น การชำระเงินตามใบเสร็จ การจ่ายตลาดเพื่อประกอบอาหาร การนัดหมาย ภาวะสมองเสื่อมจะดำเนินโรคแบบช้าๆและอาการเป็นมากขึ้น หากพบคนรู้จักมีปัญหาเรื่องความจำ การตัดสินใจให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

  • สูญเสียความจำ ซึ่งมักจะลืมความจำที่เพิ่งจะเกิด Memoryคนใกล้ชิดจะให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การใช้คำพูด
  • มีปัญหาในเรื่องเหตุผล และการแก้ปัญหา การตัดสินใจ
  • การรับรู้ทางสายตา ไม่สามารถเข้าใจป้ายจราจร
  • ไม่สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้
  • มีปัญหาในการใช้มือ
  • สับสนไม่รู้วันเดือน
  • การสื่อสารและการใช้ภาษา Communication and language

ปัญหาทางอารมณ์

  • มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิภาพ
  • ซึมเศร้า
  • วิตกกังวล
  • พฤติกรรมขาดๆเกิน ไม่เหมาะสมกับเหตุการ์
  • หวาดกลัว
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีประสาทหลอน

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

มีโรคหรือภาวะที่ทำให้เซลล์สมองส่วนต่างๆถูกทำลาย บางโรคเป็นแล้วไม่หาย บางโรคอาจจะดีขึ้นเมื่อแก้ไขสาเหตุ แบ่งโรคสมองเสื่อมออกเป็นกลุ่มๆดังนี้

สมองเสื่อมที่ไม่หาย ได้แก่

  • โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ Alzheimer's disease เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในคนที่อายุมากกว่า 65 ปี สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบ
  • Vascular dementiaสมองเสื่อมเนื่องมาจากหลอดเลือดสมองตีบ
  • Lewy body dementia มีการจับตัวกันของโปรตีน
  • Frontotemporal dementia มีการเสื่อมของเซลล์สมองส่วนfrontal and temporal lobes
  • Mixed dementia

สาเหตุอื่น

  • Huntington's disease เป็นโรคทางที่มีการกลายของยีนทำให้สมองและประสาทไขสันหลังเสื่อม อาการมักจะเกิดช่วงอายุ 30-40 ปี
  • Traumatic brain injury เกิดจากสมองมีได้รับการกระแทกซ้ำเช่น นักมวย นักฟุตบอล ทำให้สมองส่วนที่ได้รับการแทกตายและเกิดอาการ อาการที่พบได้แก่ ซึมเศร้า ขี้โมโห ความจำเสื่อม มีปัญหาเรื่องการพูด มือสั่น
  • Creutzfeldt-Jakob disease. โรควัวบ้า
  • Parkinson's disease

โรคสมองเสื่อมที่รักษาได้

ภาวะหรือโรคบางชนิดอาจจะทำให้เซลล์สมองทำงานน้อยลง เมื่อรักษาต้นเหตุเซลล์สมองก็กลับมาทำหน้าที่ได้ดังเดิม โรคหรือภาวะดังกล่าวได้แก่

  • การติดเชื้อหรือโรคเกิดกับภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยมีไข้สูง หรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันอาจจะทำให้เซลล์ประสาททำงานผิดพลาดชั่วขณะหนึ่ง
  • โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ เช่นโรคคอพอกเป็นพิษ น้ำตาลในเลือดต่ำไปหรือสูงไป เกลือแร่โซเดี่ยม แคลเซี่ยมผิดปกติ
  • ขาดสารอาหาร ขาดน้ำ ขาดวิตามิน
  • เลือดคั่งในศีรษะชนิด Subdural hematomas
  • ผลข้างเคียงของยาเช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาsteroid ขนาดสูงยาเสพติด สุรา.
  • โรคบางโรคเช่น: โรคThyroid ,ขาดสารอาหาร, โลหิตจางน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงโรคไตวาย โรคตับเป็นต้น
  • ระบบไหลเวียนโลหิต เช่นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง.
  • โรคทางสมอง เช่นความดันในสมองสูง
  • โรคติดเชื้อในสมองเช่นเชื้อรา เชื้อวัณโรค
  • ได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ
  • สารพิษจากสิ่งแวดล้อมเช่น Carbon monoxide, methyl alcohol โลหะหนัก สุรา
  • เนื้องอกในสมอง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

  • อายุโดยเฉพาะอายุมากกว่า 65 ปี
  • ประวัติครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้
  • ผู้ป่วย Down syndrome

ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้

  • การดื่มสุรา
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • โรคนอนกรน

การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม

แพทย์จะวินิจฉัยประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงเรื่องความคิด รวมทั้งพฤติกรรม

การรักษาภาวะสมองเสื่อม

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรค ยังไม่มียาที่จะรักษาหรือชลอการดำเนินของโรค ยาเพียงแต่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น ยาที่ให้เหมือนกับยาที่ใช้รักษายารักษาภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

การป้องกันโรคสมองเสื่อม

ปัจจัยเรื่องเพศและอายุเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆซึ่งควรจะให้สนใจ

 

โรคแทรกซ้อนโรคสมองเสื่อม

  • ขาดสารอาหาร
  • ปอดบวม เนื่องจากมีปัญหาในการกลืนทำให้มีโอกาศสำลักอาหาร
  • ความปลอดภัยเช่นการขับรถ การทำอาหาร การเดิน

การป้องกันโรคสมองเสื่อม

ยังไม่มีการป้องกันที่ได้ผล แต่อาจจะช่วยได้บ้าง

  • ฝึกสมองอย่างสม่ำเสอ เช่นการอ่านหนังสือ การเล่นเกมส์ การทายปัญหา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีสังคมกับคนอื่น
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ
  • ควบคุมความดันโลหิต
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

ภาวะสมองเสื่อม อาหารบำรุงสมอง การทดสอบอาการสมองเสื่อม การเพิ่มความจำ ขี้ลืม การป้องกันการหลงลืม ข้อแตกต่างระหว่างขี้ลืมและสมองเสื่อม

1https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dementia/symptoms-causes/syc-20352013

2https://medlineplus.gov/dementia.html

3https://www.nhs.uk/conditions/dementia/about/