อาการของโรคสมองเสื่อม Alzeimer



อาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุดคือไม่สามารถจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่เนื่องจากโรค Alzeimer มักจะเป็นบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นจะกระทบกับ อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง สับสนเรื่องเวลา สถานที่ จำเพื่อ จำคนในครอบครัวไม่ได้

อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่

  • ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้ 
  • ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม
  • ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี

อาการโรคอัลไซมเมอร์

โรคสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองเริ่มจะเสื่อมทำให้มีการแสดงถึงความเสื่อมของสมอง ซึ่งมักจะมีอาการแสดงหลายรูปแบบได้แก่

1ขี้หลงขี้ลืมหรือความจำเสื่อม Memory loss

คนทั่วไปมักจะคิดว่าผู้สูงอายุมักจะขี้หลงขี้ลืม หากมีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าก็จะทำให้อาการขี้หลงขี้ลืมมากขึ้น จนทำให้คิดว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของโรคสมองเสื่อม Alzeimer แต่มีข้อแตกต่างคือหากขี้ลืมที่พบในผู้สูงอายุมักจะไม่รุนแรง มักจะลืมรายละเอียดของการพูดจา ลืมว่าจะทำอะไรบ้าง อาจจะลืมชื่อคน แต่เมื่อมีคนกระตุ้นก็จะจำได้ แต่สำหรับผู้ที่เป็นสมองเสื่อมจะจำเหตุการณืที่เพิ่งเกิดไม่ได้ แม้กระทั่งคำพูดของคู่สนทนา ทำให้ต้องย้ำถามบ่อยๆระหว่างสนทนา อาการขี้หลงขี้ลืม

2อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดโดยที่ไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยบางท่านอาจจะหงุดกับบางสถานที่บางเหตุการณ์ การที่ผู้ป่วยหงุดหงิดอาจจะเนื่องจากความกลัว สับสน อ่อนล้า หรือการปรับตัวของผู้ป่วยเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้อย่างคนปกติ

3การตัดสินใจไม่ถูกต้อง

เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาการสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม และผู้คนรอบข้างจึงทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจไม่เหมาะสมตัวอย่างเช่นการแต่งกายซึ่งไม่เหมาะกับโอกาศ หรือสภาพอากาศ เช่นบางคนแต่งชุดนอนไปทำงาน การกระทำที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย การให้เงินทั้งปริมาณและคนที่ไม่ควรให้ หรือไม่ยอมชำระเงิน หรือการทอนเงินเป็นต้น

4การใช้เงิน

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องจินตนาการ และตัวเลข มักจะลืมจ่ายเงินตามใบเสร็จเช่นค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ การวางแผนการใช้เงิน หากมีปัญหาดังกล่าวให้คิดถึงโรคนี้ด้วย

5ทักษะชิวิตประจำวัน

กิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้ เช่น การหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า การใช้ไมโครเวฟ การใช้เครื่องดูดฝุ่น การเล่นเกมส์ การติดกระดุมเสื้อ การใช้มีด การใช้ช้อน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ผู้ป่วยเคยใช้เป็นร้อยๆครั้ง หากมีปัญหาเรื่องสมองเสื่อมทักษะเหล่านี้จะเสื่อมจนผู้ป่วยไม่สามารถใช้ได้

6ทักษะการวางแผนและการแก้ปัญหา

ท่านเคยเจอกับเหตุการณืแบบนี้ไหมครับ เมื่อคนที่ท่านรู้จักจะไปธนาคารเดินออกจากประตูต้องกลับมาเอาสมุดฝาก เดินออกไปแล้วต้องกลับมาเอากุญแจรถ เดินออกไปแล้วต้องกลับมาเอากระเป๋าเงิน กลับมาเอาแว่นตา กลับมาเอาปากกา กว่าจะได้ไปธนาคารต้องเดินกลับกลับมาหลายครั้ง หรือไปจ่ายตลาดแล้วไม่สามารถซื้อของได้ตามรายการที่จดไว้ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องสมาธิและการจินตนาการณ์ล่วงหน้า ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเหตุการณือะไรบ้างจึงต้องกลับไปกลับมา หากพบคนที่ท่านรู้จักให้พบแพทย์

7วางของผิดที่

สำหรับแม่บ้านที่ดูแลบ้านท่านเคยพบว่ามีการเก็บกุญแจไว้ในตู้เย็นหรือไม่ หรือเก็บ remote ไว้ในตู้เสื้อผ้า หรือเก็บของไว้ในที่ไม่ควรจะเก็บ หรืออาจจะเจอของที่หายไปว่าเก็บในที่ไม่ควรจะเก็บ หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่บ่นว่าของหายบ่อยและสงสัยว่าจะมีขโมย หากมีเหตุการณ์เหล่านี้ให้สงสัยว่าอาจจะมีสมาชิกในบ้านป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมแล้ว

8สับสนเรื่องเวลาและสถานที่

เรามักจะได้ยินข่าวตามหาคนหายที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะเป็นอาการที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นสมองเสื่อม นอกจากนั้นยังสับสนเรื่องเวลา ฤดูกาลอีกด้วย ตัวอย่างเช่นสามีที่ป่วยเป็นโรคที่สับสนเรื่องเวลาว่าภรรยาหายไปตั้งหลายชั่วโมง ทั้งที่ความจริงอาจจะเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น



9การสื่อสาร

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหรือภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหาเรื่องการสนทนา อาจจะหยุดการสนทนากลางคันเนื่องจากไม่รู้จะสนทนาต่ออย่างไร หรืออาจจะใช้คำไม่ถูกต้อง หรือใช้คำเรียกสิ่งของไม่ถูกต้อง หรือพูดคำซ้ำๆ หรืออาจจะตั้งคำถามซ้ำๆ จนในที่สุดจะใช้ท่าทางแทนคำพูดและพูดน้อยลง

10เดินเรื่อยเปื่อย

ร้อยละ60ของผู้ป่วยสมองเสื่อมจะเดินเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งหลงทางเนื่องจากจำบ้านตัวเองไม่ได้ จำถนนหนทางไม่ได้ จำคนไม่ได้ บางครั้งอาจจะเกิดจากผู้ป่วยต้องการไปซื้อของนอกบ้านที่ร้ารสะดวกซื้อแต่ไม่สามารถหาทางกลับบ้านได้



11คำพูดหรือพฤติกรรมที่ซ้ำๆ

ผู้ที่ป่วยด้วยสมองเสื่อมมักจะพูดบางคำ หรือประโยค คำถาม หรือกิจกรรมซ้ำๆซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรคนี้ ภาวะพูด หรือพฤติกรรมซ้ำซ้ำอาจจะถูกกระตุ้นด้วยความเครียด วิตกกังวล ความกลัว หรือความเบื่อ

12ปัญหาเรื่องการมองเห็น

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือ การกะระยะทาง การแยะสี เมื่อมองกระจกผู้ป่วยอาจจะสงสัยว่ามีคนอยู่ในห้องแทนที่จะคิดว่านั่นคือภาพตัวเองในกระจก

13กระทำโดยไร้จุดมุ่งหมาย

ผู้ป่วยอาจจะเปิดหรือปิดลิ้นชักแบบไม่มีจุดมุ่งหมาย พบผ้าและคลี่ผ้าซ้ำๆ พูดซ้ำๆ อาการเหล่านี้เป็นการเตือนว่าอาจจะเป็นโรคสมองเสื่อม

14แยกตัว

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะโดเดี่ยว แยกตัวจากสังคม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจงานอดิเรก หรือกีฬา เนื่องจากเขาเหล่านั้นได้สูญเสียทักษะที่สำคัญไป ดังนั้นเขาจึงแยกตัวจากสังคม

15ขาดความคิดริเริ่มและขาดแรงจูงใจ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะแยกตัวจากสังคมและไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะเป็นอาการของโรคซึมเศร้า ดังนั้นหากมีคนที่รู้จักดูทีวีทั้งวัน หรือนอนทั้งวันไม่สนใจสิ่งแวดล้อมอื่นให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

จำคนในครอบครัวหรือคนที่คุ้นเคยไม่ได้

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเริ่มลืมเหตุการณืที่เพิ่งจะเกิด คนที่เพิ่งจะพบ ต่อไปก็ลืมเพื่อน สำหรับครอบครัวจะลืมหลังสุด สุดท้ายอาจจะจำได้เฉพาะชื่อพ่อและแม่

16ลืมกิจวัตรประจำวัน

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะลืมแปลงฟัน ลืมอาบน้ำ ลืมเปลี่ยนเสื้อผ้า ไม่หวีผม ลืมรับประทานอาหาร บางท่านก็ลืมว่าได้รับประทานอาหารแล้วก็มี บอกไม่ได้ว่าอาหารร้อนเกินไป หรือเผ็ดเกินไป บางท่านก็ลืมเคี้ยวอาหาร บางท่านต้องใช้มือหยิบอาหารแทนการใช้ช้อน

17พฤติกรรมเปลี่ยนไป

ผู้ที่เริ่มป่วยก็เริ่มจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปเช่นพูดซ้ำๆ ถามคำถามซ้ำ หรือทำอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายดังกล่าวข้างต้น หากโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยอาจจะลืมไปว่าได้แต่งงานแล้วจนมีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ บางท่านแก้ผ้าในที่สาธารณะ หรือบางอาจจะเลือกซื้อของอย่างมากโดยไม่จ่ายเงิน

18หลงผิดและหวาดกลัว

เนื่องจากสูยเสียความจำไปทำให้ผู้ป่วยมีของหายและคิดอยู่เสมอว่ามีผู้มาแอบขโมยของ บางทาสนอาจจะหลงผิดคิดว่ามีคนจะมาทำร้าย และอาจจะมีอาการหลอน เช่นการได้ยิน การเห็น หรือได้กลิ่น ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้พูดคนเดี๋ยว

19พฤติกรรมก้าวร้าว

เมื่อโรคสมองเสื่อมเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะก้าวร้าวมากขึ้นทั้งตะโกน ด่า แช่ง โต้เถียง บางท่านอาจจะมีการทุบตีผู้ดูแลโดยไม่มีเหตุผล แต่ผู้ดูแลทุกท่านควรจะหาสาเหตุเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับเราว่ามีความไม่สบายหรือมีโรคอะไรเกิดกับเขา

20มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถแยกแยะเวลา ประกอบกับมีปัญหาเรื่องอารมณ์จึงทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ซึ่งจะรบกวนผู้ดูแลในเวลากลางคืนค่อนข้างมาก

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ ระยะของโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์

เพิ่มเพื่อน