การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ดีที่สุด
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข
ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ
ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น
ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว
การดูแลผู้ป่วยตามระยะของโรค
ผู้ป่วยในระยะแรก
ในผู้ป่วยระยะแรกและระยะปานกลาง การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิต ช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นและลดภาระต่อผู้ดูแลได้ ตัวอย่างเช่นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น การล็อกบ้านและรั้ว การติดป้ายหรือฉลากบนเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อบอก หรือเตือนผู้ป่วย หรือการใช้อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน
- บอกการวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วยเพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ ผู้ที่ดูแล และผู้ป่วยจะต้องมาปรึกษาว่าจะเกิดภาวะอะไรกับผู้ป่วย เช่นความจำ อารมณ์เป็นต้น
- อารมณ์เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็วอาจจะกร้าว และโกรธจัดพฤติกรรมนี้เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และเกิดจากที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้และไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว และไม่สามารถใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสมจึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปรวนผู้ให้การดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบง่าย ให้เงียบเวลาพูดกับผู้ป่วยต้องช้าๆและให้ชัดเจน ไม่ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยมากไปเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง เช่นให้ผู้ป่วยเลือกเสื้อผ้าเอง ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโกรธ เมื่อผู้ป่วยโกรธ
หรือตะโกนอาจจะหาของว่างให้รับประทาน หรือขับรถให้ผู้ป่วยเที่ยวซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสงบผู้ให้การบริการจะต้องมีอารมณ์ทีสงบ
อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว
- ความสะอาด ผู้ป่วยมักจะไม่อยากอาบน้ำ ผู้ป่วยอาจจะเลือกเสื้อผ้าไม่เหมาะสมผู้ดูแลอย่าโกรธ ต้องแสดงความเห็นใจ
- การขับรถ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ห้ามขับรถต้องป้องกันผู้ป่วยออกนอกบ้านโดยการ lock ประตูและอาจจะติดสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลัง
เช่นเดินครั้งละ 30 นาทีวันละ 3 ครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเพลียและหลับง่าย
- การนอนหลับ มีคำแนะนำให้เปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน จะทำให้ผู้ป่วยหลับในเวลากลางคืน
การดูและในระยะท้ายของโรค
- เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง จึงควรทำอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเป็นของเหลว ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการกลืนลำบากอาจต้องใช้สายยางให้อาหาร (feeding tube)
- ผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
หากมีอาการดังกล่าวจะต้องตรวจดูว่ามีโรคติดเชื้อหรือไม่
ผู้ดูแลสามารถกะเวลาปัสสาวะได้โดยกำหนดเวลา
และปริมาณน้ำและอาหารที่ให้
และสามารถพาผู้ป่วยไปห้องน้ำได้ทัน
- การเคลื่อนไหว
ระยะท้ายผู้ป่วยจะจำไม่ได้ว่าเคลื่อนไหวอย่างไร
จะนอนหรือนั่งรถเข็น
ผู้ดูแลต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง
ทำกายภาพบำบัดเพื่อแก้ข้อติด
- การรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยจะกลืนอาหารไม่ได้ต้องให้อาหารทางสายยาง
ผู้ดูแลต้องระวังสำลักอาหาร
- อาจเกิดปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ ตามมาอีก อาทิ โรคในช่องปากและฟัน แผลกดทับ ขาดสารอาหาร ปัญหาสุขอนามัย หรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ผิวหนังหรือตา การดูแลอย่างระมัดระวังช่วยป้องกันภาวะดังกล่าว และหากเกิดปัญหาดังกล่าวตามมาแล้วต้องรับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์