การนอนหลับกับคุณผู้หญิง

คนปกติควรจะได้นอนวันละ 8 ชั่วโมงผู้หญิงก็เช่นกันควรจะนอนวันละ 8 ชั่วโมงเพราะหากนอนน้อยจะทำให้เกิดผลเสียเช่น ง่วงในเวลากลางวัน เกิดอุบัติเหตุ สมาธิไม่ดี เจ็บป่วยง่าย แต่สำหรับคุณผู้หญิงอาจจะมีปัญหาเรื่องการนอนเนื่องจากมีผลของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องประจำเดือนกับการนอนหลับ



  • ระยะก่อนไข่ตกคือตั้งแต่วันที่1-12 ของรอบเดือน ระยะ5วันแรกจะมีประจำเดือนระยะนี้มีระดับ progesterone ต่ำอาจจะประสบปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ
  • ระยะไข่ตกคือวันที่13-14ของรอบเดือน ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมอีก 14 วันก็จะเกิดรอบเดือนใหม่
  • ระยะหลังไข่ตกคือตั้งแต่วันที่15-28 ระดับ progesterone จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 15-21 สูงสุดช่วงวันที่ 19-21 ช่วงนี้จะหลับได้ดี แต่หลังจากวันที่22 ระดับฮอร์โมนเริ่มลดอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นเร็ว และเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เช่นปวดท้อง อารมณ์แกว่ง ท้องอืด ปวดศีรษะ

วิธีการดูแลเมื่อนอนไม่หลับ

เมื่อคุณไม่หลับด้วยสาเหตุใดๆมีวิธีการที่จะช่วยให้คุณหลับได้ดีขึ้น

  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่ควรออกกำลังกายก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมงการออกกำลังกายจะทำให้หลับสนิทมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำหวานและอาหารเค็มรวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟ และสุราเนื่องจากสารดังกล่าวจะไปรบกวนการนอน
  • นอนให้เป็นเวลา ห้องต้องมืด เงียบ และเย็นพอสมควร ที่นอน หมอนต้องนอนสบาย
  • ปรึกษาแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น


การตั้งครรภ์กับการนอนหลับ

การตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายอย่างเช่น ปวดตามตัว ปวดท้อง ตะคริว คลื่นไส้อาเจียน เด็กเคลื่อนไหวในท้อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เหล่านี้จะมีผลต่อการนอนของคนท้อง

  • ตั้งครรภ์ระยะ1-3เดือนระยะนี้จะมีระดับ progesterone สูงทำให้ง่วงนอนนอนเก่ง แต่เนื่องจากจะมีอาการปัสสาวะบ่อยทำให้นอนไม่พอทำให้เกิดอาการง่วงและหลับในเวลากลางวันบ่อย
  • ตั้งครรภ์ระยะ1-6เดือนระดับฮอร์โมนยังสูงต่อเนื่องแต่จะขึ้นไม่เร็วเท่าช่วงแรกช่วงนี้หลับได้ดีขึ้น
  • ตั้งครรภ์ระยะ7-9เดือน ครรภ์เริ่มใหญ่ขึ้นทำให้นอนไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย แน่นท้องและปวดขาทำให้ต้องตื่นนอนกลางคืน

โรคที่ทำให้นอนไม่หลับในคนท้อง

การนอนกรนในคนท้อง

ร้อยละ30ของคนท้องจะนอนกรนเนื่องจากมีการบวมของเยื่อจมูกทำให้หายใจลำบาก การนอนกรนจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ถ้าหากการอุดทางเดินหายใจรุนแรงจะทำให้เกิดโรค sleep apnea คือจะนอนกรนดังมาก และมีช่วงหยุดหายใจเวลากลางคืน กลางวันจะง่วงมาก ควรปรึกษาแพทย์หากนอนกรนร่วมกับง่วงในเวลากลางวัน

Restless Legs and Poor Sleep

ร้อยละ 28 ของผู้หญิงจะมีอาการรู้สึกไม่สบายเท้า ชา ร้อน เหมือนมีอะไรในเท้าทำให้ต้องเคลื่อนไหวเท้ามักเป็นเวลาตอนเริ่มนอนทำให้นอนไม่พอ ยาที่ใช้รักษาอาการนี้อาจจะมีผลต่อเด็กควรปรึกษาแพทย์

วิธีการช่วยให้คนท้องหลับดีขึ้น

  • เมื่อครรภ์อายุมากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงเด็กและอวัยวะภายในได้มากขึ้น ไม่ควรนอนหงายเป็นระยะเวลานาน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆในเวลากลางวันส่วนก่อนนอนให้ลดการดื่มน้ำลง
  • เพื่อป้องกันอาการปวดท้อง heart burn ให้รับประทานอาหารแต่ละมื้ออย่ามากเกินไป ลดอาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยว ถ้าหากมีอาการแน่นท้องให้นอนหัวสูง
  • ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหวเวียนโลหิตดีและอาการตะคริวที่เท้า
  • ให้รับประทานของว่างบ่อยๆซึ่งจะลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้หมอนสำหรับคนท้อง
  • ให้งีบหลับบ้างในเวลากลางวัน
  • ปรึกษาแพทย์หากยังคงมีอาการอยู่

วัยทองกับการนอนหลับ

อาการของหญิงวัยทองแต่ละคนจะไม่เท่ากัน คนที่เป็นวัยทองโดยธรรมชาติอาการจะไม่มากส่วนผู้ที่ตัดรังไข่จะมีอาการวัยทองค่อนข้างมาก อาการทีเกิดเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน estrogen ทำให้เกิดร้อนตามเนื้อตัวเหงื่อออกอาการนี้จะอยู่โดยเฉลี่ย 5 ปี การนอนหลับของผู้ป่วยวัยทองจะไม่มีคุณภาพ ตื่นบ่อยเนื่องจากร้อนตามตัว การรักษาถ้าอาการมากจะให้ฮอร์โมนเสริม ยาป้องกันโรคกระดูกพรุน มีรายงานว่าโสมและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่นเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ซึ่งมีสาร phyto-estrogen สามารถลดอาการของวัยทองได้

Google
 

เพิ่มเพื่อน